Episodes
Wednesday Aug 12, 2020
ดู รูป ทำ นาม ทำ พจ.กระสินธุ์ 050863
Wednesday Aug 12, 2020
Wednesday Aug 12, 2020
เมื่อวานเราพูดถึงเรื่องของการที่ว่า ให้เขาหัดว่ามันมีอารมณ์หนึ่งที่เรากำลังฝึกอยู่ ที่ว่าเขาเรียกว่าอารมณ์รูปธรรม นามธรรม ที่เรากำลังฝึกอยู่เนี่ย ความหมายของคำว่าอารมณ์รูปทำ นามทำ นี่ก็คือ ความหมายของมันคือเราเห็นพฤติกรรมของรูปที่มันทำและพฤติกรรมของนามที่มันทำ โดยที่ตัวเราเองน่ะไม่ได้ทำ ตัวเราเองเป็นคนรับรู้การกระทำของอันของมัน เป็นการฝืนนิสัยในการรับรู้การกระทำของมัน มันจะเป็นอารมณ์หนึ่งที่หลวงพ่อเทียน หรือครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า มันเป็นพฤติกรรมของอารมณ์รูปทำ นามทำ เมื่อก่อนอาตมาจะเข้าใจรูปทำนามทำหมายความว่า กายมันทำอะไร ใจก็ทำด้วย อันนี้ เป็นความเข้าใจพื้นฐาน แรก ๆ ว่า เออ เวลารูปทำนามทำนะ ถ้าใครที่ผ่านขั้นตอนในรูปนามแล้ว แยกรูปแยกนามได้ชัดแล้วเนี่ย เหมือนกับเราเริ่มฝึกแยกเรื่องภายนอกภายในได้ชัดแล้วเนี่ย มันจะเห็น มันจะขับขยับมาสู่อารมณ์ที่ 2 คือเห็นรูปมันทำและนามมันทำ เห็นพฤติกรรมของรูปที่มันทำ เห็นพฤติกรรมของมมันทำกัน โดยที่จิตเราไม่ได้ทำอะไร จิตเราทำหน้าที่รับรู้ รับรู้ดูการกระทำของมัน เหมือนกับเจ้านายสั่งให้ลูกน้องทำงาน แต่เจ้านายไม่ได้ทำงาน เจ้านายก็จะดูลูกน้องเนี่ยทำงานไป แต่ตนเองดูแค่ผลงานว่าลูกน้องมันทำงานมาเป็นแบบไหน เท่านั้นเอง แล้วก็ไปตรวจสอบเอา
อันนี้อารมณ์นี้เหมือนกัน ให้หัด คือ เราต้องหัดว่า ให้เห็นพฤติกรรมของรูปทำและนามทำเช่นพฤติกรรมของรูปก็จะมีอยู่ 5 ส่วน ที่เราคุยไป ที่ย้ำอารมณ์ตัวนี้บ่อย ๆ เพื่อจะทำให้จิตน่ะ มันรับรู้แล้วไม่ทำอะไร คือ
พฤติกรรมทางภายนอกก็จะมี
ตาที่มันทำหน้าที่เห็นรูปของมัน เวลาเราดูอะไรปุ๊บเนี่ย ลองฝึกสังเกตดูดี ๆ ว่า ถ้าเราจะตระหนักถึงการจะรู้รูปทำนามทำเออ เราอาจจะตระหนักว่า เออ เนี่ย เห็นตามันทำงาน ถ้าตาทำงานมันจริง ๆ โดยที่ไม่มีความคิดเข้าไปแทรกแซงนะ มันจะมองรูปเฉพาะหน้าได้ละเอียดขึ้น
หู ก็เหมือนกัน สังเกตดู เวลามันรับรู้ทำการทำงานของหูจริงๆ น่ะ มันจะฟังเสียง บางคนภาวนาแล้วจะสังเกตเห็นไหมว่า บางช่วงที่มันสงบนิ่ง จิตมันสงบนิ่งเมื่อไหร่ มันจะได้ยินเสียงทั้งไกล ทั้งใก้ล ทั้งเล็ก ทั้งใหญ่ ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด มันจะฟังเสียงได้เยอะขึ้น อันนี้เขาเรียกว่า รู้จัก หูมันทำงาน ใจรุบรู้มันทำงานของหูมันอย่างเต็มที่เลย ถ้าหูมันทำงานของมันอย่างเต็มที่ มันสามารถรับรู้คลื่นเสียงทุกชนิดเข้ามา แล้วก็จะเห็นลักษณะของเสียงแต่ละอย่าง เหมือนตาที่เห็นลักษณะของรูปแต่ละอย่างของมันได้ชัดเจน รายละเอียด
เหมือนเรา บางครั้งที่ว่าความรู้สึกตัวของเราดี ๆ และสงบนิ่งเวลาตาทำงานปุ๊บ มันจะไม่มองใบไม้แค่ใบไม้ มันจะมองทั้งสีสันของใบไม้ ลวดลายของใบไม้ รูปลักษณ์ของใบไม้ ขนาดของใบไม้ ลักษณะของใบไม้ อันนี้เขาเรียกว่า ตามันทำงานเห็นรูปจริง ๆ โดยไม่มีการปรุงแต่งของความคิด
อันนี้เหมือนกัน กลิ่นเหมือนกัน ถ้ามันได้กลิ่นแบบ มันไม่มีการปรุงแต่งของความคิดนะ มันจะได้กลิ่นของสิ่งนั้นได้อย่างละเอียดและลึกซึ้ง
ลิ้นที่หลายคนที่เป็นนักชิมน่ะ จะใช้แบบนี้เหมือนกัน ใช้ความรู้สึกกับรสที่มันมากระทบกับลิ้น จะเห็นอาการของรสแต่ละอย่าง แต่ละอย่าง ๆ ที่มันจะรู้สึกถึงความแตกต่าง เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด มัน อะไรต่าง ๆ เมื่อผสมกันแล้ว มันอร่อยอย่างไร ไม่อร่อยอย่างไร มันก็จะเห็นชัด อันนี้นะ ส่วนไปดูลิ้นมันทำงาน แล้วใจก็รับรู้การทำงานลิ้นไป
ทีนี้กายก็เหมือนกัน กายที่มันทำงาน คือสิ่งที่มากกระทบกับกาย กับตัวกาย มีอยู่ตลอดเวลา เช่น เวลาเรานอน เราก็จะสัมผัสทุกส่วนของร่างกาย ที่บางส่วนแข็ง บางส่วนอ่อน บางส่วนนิ่ม บางส่วนอุ่น บางส่วนเย็น หรือแม้แต่การกระพริบตา การหายใจ หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่มันมากระทบกับร่างกาย มีตัวร่างกาย แล้วมีตัวกระทบกับร่างกาย เมื่อจิตมันนิ่งต่อการรับรู้ไป โดยไม่ได้ไปใส่ความคิดหรืออะไรในโซนของรูปนะ มันก็จะเห็นอาการของร่างกายนี้ ละเอียดจนกระทั่งบางคนเห็นถึงชีพจรมันเต้น เลือดมันวิ่ง หรือตรงโน้นอุ่น ตรงนี้ร้อน ตรงนั้นเย็น ตรงนี้ปวด ตรงนี้ไม่ปวด อะไรต่าง ๆ ตรงนู้นเคลื่อนไหว ตรงนี้ไม่เคลื่อนไหว มันจะสัมผัส ร่างกายกำลังสัมผัสกับอะไร
นี่เขาเรียกว่า เป็นการฝึก รู้ว่าร่างกายมันทำงาน โดยมีอาการของผัสสะ ที่มันมาทำงาน พอเราดูไปแล้วเนี่ย มันจะเห็นว่า
ระหว่างตากับรูป มันทำหน้าที่ทำงานกัน รูปทำหน้าที่ปรุงแต่ง ตาทำหน้าที่รับรู้
หูกับเสียง เสียงทำหน้าที่ปรุงแต่งโดยธรรมชาติ หูทำหน้าที่รับรู้
แล้วก็จมูกกับกลิ่น กลิ่นทำหน้าที่ปรุงแต่ง จมูกทำหน้าที่รับรู้
ลิ้นกับรส รสทำหน้าที่ปรุงแต่ง ลิ้นทำหน้าที่รับรู้
กายกับสัมผัส สิ่งที่มาถูกต้องกายทำหน้าที่ปรุงแต่ง แล้วกายก็มีหน้าที่รับรู้การสัมผัสที่มันมากระทบกัน
ส่วนใจเหมือนกัน เวลาทั้งหมดน่ะ เวลามีอารมณ์เกิดขึ้นมาปั๊บ ใจก็ทำหน้าที่รับรู้ รับรู้การทำงานของมัน แม้อารมณ์มันปรุงแต่งขึ้นมาปุ๊บ แล้วใจมันกระทบกับใจ ใจก็ทำหน้าที่รับรู้มัน
ฉะนั้น อายตนะทั้งห้า ทั้งหกส่วน ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันทำงาน ทำหน้าที่รับรู้เรื่องราวของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและอารมณ์ทั้งนั้นเลย เราจะเห็นว่า เราไม่ได้ทำอะไร เราเมื่อเราฝึกตัวรู้ที่ไม่ทำอะไรบ่อยเข้า ๆ จะเห็นว่า เราจะมีลูกน้องทั้ง 6 คน พยายามทำงานของมันอยู่ตลอด โดยเราแบ่ง เราแบ่งให้ได้ชัดว่า จะเห็นได้ชัดว่า การทำงานของมัน ถ้าเป็นเรื่องรูป จะทำงานอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันเป็นหลัก มีการกระทบ แล้วก็เกิดขึ้นมารับรู้เป็นหลัก ส่วนนามเนี่ย มันจะมีอารมณ์ของการปรุงแต่งที่เป็นอดีตอนาคต หลังจากผ่านการกระทบแล้ว มันก็จะทะลุไปสู่เป็นอารมณ์ที่เป็นอดีตอนาคตที่จะมากระทบกับใจเป็นหลัก
ถ้าเราเห็น เรายืนหลักในการรับรู้การทำงานของมัน มากเข้า ๆ ปุ๊บ จิตจะเริ่มละเอียดขึ้น เนี่ยให้ไปฝึกซ้อม ไปฝึกซ้อมจิตตรงนี้ จิตตรงรับรู้การทำงานแล้วไม่ทำงานเนี่ย รับรู้การทำงานของมัน โดยที่รับรู้แล้วไม่รีบทำอะไรเลย มันจะเริ่ม ถ้ามันอยู่ ถ้ามันเริ่มชำนาญขึ้น หรือมั่นคงขึ้น เราจะเห็นได้ว่า เวลามันมั่นคงนะ เมื่อรับรู้เรื่องราวแล้ว มันจะไม่ไปทำอะไรกับเรื่องราวเหล่านั้น นี่เขาเรียกว่าความมั่นคงของการรับรู้ แต่เมื่อรับรู้แล้วเราเข้าไปแทรกแซง เราเข้าไปจัดการ เราเข้าไปทำนู่นทำนี่ อันนี้มันก็จะทำให้ตัวรับรู้ของเราเนี่ย อ่อนแอลง แต่บางเรื่องเมื่อเรารับรู้แล้ว รับรู้เรียบร้อยแล้ว แล้วเราต้องทำ แต่เบื้องหลังเนี่ย เราก็รู้จักว่า เออ เรื่องนี้จำเป็นต้องทำนะ เราก็เข้าไปทำ เมื่อเข้าไปทำเสร็จแล้ว เราก็กลับมาสู่ฐานของการรับรู้ แล้วไม่ทำอะไรต่อ อันนี้ มันจะเสริมสร้างกำลังของตัวพื้นฐานของตัวรับรู้ที่ ที่มีอุเบกขา ที่ไม่ทำอะไรเนี่ย ให้เข้มแข็งขึ้น แล้วมันจะส่งเสริมกำลังของศีล สมาธิ และปัญญา ในตัวเองมากขึ้น แล้วเราก็จะ เมื่อทำมากเข้า ๆ ปุ๊บ กำลังจิตมันจะเริ่มเห็นว่า มันจะเริ่มสบายขึ้นว่า เอ๊ย เราไม่ได้ทำอะไรเลยนะ มีแต่การทำงานของอายตนะทั้งหมดเลย เพียงแต่เราทำหน้าที่รับรู้การทำงานของมัน เท่านั้นเอง และสิ่งที่มันจะทำงานนะ มันจะทำตามแบบฉบับของมัน มันจะปรุงแต่งตามเหตุปัจจัยของมัน เราไม่มีสิทธิเลือก ไม่มีสิทธิ์เลือกสภาวะ ไม่มีสิทธิ์เลือกอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่จะมากระทบกับเรา
เราไม่มีสิทธิ์เลือกสิ่งที่มากระทบกับเรา แต่เรามีสิทธิ์เลือกที่ว่า เมื่อมันมากระทบแล้ว เราจะวางท่าทีกับมันอย่างไร วางท่าทีแบบรับรู้มัน หรือวางท่าทีแบบเข้าไปทำงานแทนมัน
ฉะนั้นโดยพื้นฐานตามปกติ เราชอบเข้าไปทำงานแทนมัน อันนี้มันเลยจึงทำให้ตัวรับรู้เราไม่ค่อยเติบโต และไม่ค่อยเข้มแข็ง และไม่ค่อยมีอุเบกขา มีแต่ตัณหาและทิฏฐิเข้าไปแทรกแซงอยู่ตลอด แต่ถ้าเราฝึกแบบนี้บ่อย ๆ ตัวความรู้สึกตัวที่รับรู้แล้วไม่ทำอะไร มันจะค่อย ๆ มีตัวสติ สมาธิและอุเบกขา เขาเรียกว่าปัญญาเนี่ย มันจะเริ่มมีกำลังในการที่ว่า เห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องของเราเลยนะแต่เป็นเรื่องของธรรมชาติที่มันทำกัน ฉะนั้น ทำให้ตัวนี้มันดีขึ้นนะ ตื่นขึ้นมารับรู้การทำงานของมัน ไม่ห้าม ไม่ตาม ไม่ต้าน แล้วไม่ทำงาน แทรกแซงอะไร นอกจากว่าเรื่องไหนจำเป็นจริง ๆ เราก็ต้องรู้จักว่า เราจะทำเรื่องนี้นะ แค่นี้นะ จบแล้วเลิก ให้รู้จักปริมาณว่า ทำเรื่องนี้แค่นี้ ระยะแค่นี้ เมื่อมันจบแล้ว เราก็จะเลิกขึ้นมา บ่อย ๆ แล้วในช่วงทำเราก็ต้องคอยดักดูด้วย ว่ามันมีตัวอื่น ที่จะทำงานอยู่เรื่อย ๆ เข้ามา
ตัวอย่างเช่นบางครั้งเราสวดมนต์อยู่เนี่ย เรากำลังสวดมนต์อยู่ ตาก็เห็นอยู่ ปากก็พูดอยู่ กายก็พนมมืออยู่ แต่บางครั้งใจน่ะ มันก็ร่วมมาสวดมนต์ด้วย แต่บางครั้งมันก็จะมีตัวที่มากระทบที่เป็นความคิด เรื่องอื่น ๆ คอยดักกระทบอยู่เรื่อย ๆ แต่ถ้าเราชัดเจนตัวหลักแล้ว เราก็จะอยู่กับเรื่องที่เราทำ ก็จะมีสมาธิกับการทำงานเรื่องนั้น โดยไม่สนใจเรื่องอื่น เมื่อเรื่องนั้นจบแล้ว ก็ค่อย ๆ สนใจมาทีละเรื่อง ไม่ใช่เอาหลาย ๆ เรื่องมาผสมกันจนมั่วหมด ไม่รู้เรื่องไหนเป็นเรื่องไหน มันจะได้ชัดเจนขึ้น
แล้วก็ ให้หัด การจะรู้รูปทำนามทำน่ะ อารมณ์รูปทำนามทำ ก็ให้ทันการกระทบของมันนั่นแหละ จังหวะที่สำคัญที่สุดคือจังหวะเมื่อมันกระทบแล้วน่ะ จิตรับรู้เรียบร้อยแล้ว แล้วดูลักษณะของมันไป ดูการทำงานของมันไป ไม่ต้องไปยุ่ง เพียงแต่สิ่งที่มากระทบนั้น มันจะแสดงลักษณะ แสดงตัวตนของมันให้เสร็จ เราก็แค่รับรู้มันให้ละเอียดขึ้น เพียงแต่เป็นผู้รู้ผู้ดู มันก็จะเริ่มเด่นชัดขึ้น
อยากให้เราหัดตรงนี้ให้มาก ให้เข้าใจอารมณ์รูปทำนามทำ เพราะมันจะไล่ไปสู่ว่ารูปโรคนามโรคเพราะว่าอาการต่าง ๆ ที่มากระทบกับอายตนะเรา มันคือโลกทั้งนั้นแหละ โลกก็คือโลกที่เป็นโลก เรื่องของโลก ๆ อารมณ์ของโลก ๆ หรือแม้แตกครั้ง มีเป็นโรคภัยไข้เจ็บก็มี ที่มันจะเกิดขึ้นมาเนี่ย แล้วเราก็จะเห็นรูปโลกนามโลกคืออารมณ์ของมัน อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง มันจะแฝงไว้ด้วยโลกของมัน ที่เห็นชัด ๆ คือโลกของความทุกข์ทั้งหมดเลย โลกทุกเรื่องทุกราวเป็นโลกของความทุกข์ แล้วมันก็จะเริ่มเห็นเรื่องของความไม่เที่ยง ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วมันก็จะเริ่มเห็นวิบาก เมื่อเราเข้าไปแทรกแซง เข้าไปทำปุ๊บ มันจะสร้างวิบากอะไรในใจให้เรา วิบากกรรมอะไรในใจให้เรา ที่ เมื่อเราหยุดแล้ว มันก็จะมีผลของอารมณ์นั้นขึ้นมาอีก เหมือนอย่างตัวอย่างเช่นว่า เราอาจจะ ที่เราต้องฝืนเนี่ย เราฝืนกับสัญชาตญาณในการที่จะตอบโต้ ฝืนสัญชาตญาณในการที่จะสนองตอบมัน พอเราไม่ทำตามปุ๊บ เราจะเห็นว่า ที่เหลืออยู่ทั้งหมดคือวิบาก ที่มันส่งคลื่นมาเป็นชุด ๆ วิบากของความคิดบ้าง วิบากของการมองโลกในความที่เราเคยมองผิด ๆ ไปบ้าง มันจะคอยมาหลอกล่อเรา ให้หลงไปทำตามมัน แต่เราก็ไม่หลงไปทำตามมัน เราเพียงแต่จะรับรู้ตามที่มันเป็นให้ได้มาก
ลองหัดดูนะ เดี๋ยวอาจจะส่งอันนี้ไปลอง ๆ ไปฟังดูก็ได้ ประมาณสัก 30 กว่านาที
ที่เกริ่น ๆ ไว้ก็คือ อยากให้เรามีอันนี้เป็นหลัก ฝึกหัดดูรูปทำนามทำ เมื่อแยกรูปแยกนามได้เสร็จแล้ว การดูรูปทำนามทำ ก็จะมีการฝืนไปเสร็จ ที่จะไม่ทำอะไรกับสิ่งที่มันทำ ทำตัวเหมือนเราเป็นหัวหน้างาน สั่งลูกน้องให้ทำงาน แล้วเราก็คอยไปตรวจสอบดูเฉย ๆ ว่า มันทำงานตามนั้นไหม ไปดูลักษณะของงาน รูปลักษณ์ของงาน ปัจจัยประกอบของงานเฉย ๆ เมื่อเราเห็นอย่างนี้ปุ๊บ เราก็จะเห็นได้ชัดว่า เหมือนเราอยู่ที่สูง แล้วก็เห็นพฤติกรรมของมันทั้งหมด ลักษณะของงาน ลักษณะของแต่ละอารมณ์เป็นอย่างไร ปัจจัยประกอบของแต่ละอารมณ์เป็นอย่างไร เมื่อถึงที่สุดแล้ว มันก็จะเป็นทุกข์ ไม่เที่ยงและสลายตัวไปอย่างไร ประมาณนี้
คือความรู้สึกตัว ที่ไม่ได้ทำ ซื่อ ๆ ที่ไม่ได้รีบทำอะไร ให้มากขึ้น เพื่อจะฝึกอารมณ์รูปทำนามทำ จนเห็น รูปโลกนามโลก จนเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนเห็นกรรมและวิบากของมัน ที่มันจะมาเรื่อย ๆ
การโค้ชพี่เลี้ยง ภาคฝืน3 โครงการรู้ขณิกะออนไลน์
โดยพระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 ณ ห้องกลุ่มไลน์
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.