Episodes
Saturday Aug 08, 2020
ตั้งมั่นกับการรับรู้ พจ.กระสินธุ์ 020863
Saturday Aug 08, 2020
Saturday Aug 08, 2020
โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ คอร์สพัฒนาตัวรู้ ภาคฝืน3
โดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
นำปฏิบัติร่วมกันวันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม 2563 เวลา 05:00-05:30 น. ณ ห้องกลุ่มไลน์
🕊ทักทาย🕊
เจริญพรโยมทุกๆคน ที่ตั้งใจลุกขึ้นมาสร้างบารมีร่วมกัน สร้างพลังภาวนาร่วมกันในเช้านี้ ภาวนาไปด้วยนะ แล้วก็ฟังไปด้วย
🕊การภาวนา 1 เดือนต่อจากนี้🕊
👉เช้านี้จะได้ให้กำลังใจเพื่อให้พวกเราได้ตั้งใจภาวนาต่อในภาคฝึกฝืนในช่วงเวลาที่เหลืออีก 1 เดือน ถือโอกาสในช่วงนี้ได้ชี้แนะแนวทางที่เราจะทำต่อไป
👉การที่เราเริ่มฝึกกันมาได้กันถึง1เดือนและได้อ่านรายงานของแต่ละคนเขียนมา รู้สึกแต่ละคนมีความก้าวหน้า มีการภาวนาของเราอยู่ หลายท่านก็ยังสับสนอยู่บ้างเกี่ยวกับการภาวนาในช่วง1 เดือนต่อไปนี้
👉ในช่วงแรกเป็นช่วงที่เราได้เรียนทั้งภาคทฤษฎีควบคู่กับภาคปฎิบัติ มีทั้งการอ่าน มีทั้งการฟัง มีทั้งการทำเป็นตัวอย่างให้เราได้ฝึกปฎิบัติ
👉แต่ในช่วงเดือนสุดท้ายนี้เป็นช่วงที่เราจะต้องฝึกลงมือปฏิบัติ เพราะว่าได้แต่📌รู้จำ รู้จัก รู้เห็น เป็น มี📌
👉ภาวะของ”การรู้ “”การเห็น “มาจากการฟังบ้าง การอ่านบ้าง จากการลงมือปฎิบัติบ้าง ได้เห็นบางส่วน
👉แต่ทำ “ให้มันเป็น” “ให้มันมี”เราต้องพยายามทำ ให้ทำซ้ำๆ
👉คำว่า”มี”ให้มันมีจิตมีใจ
👉และคำว่า”เป็น”ให้มันเป็นนิสัย
👉เราต้องฝึกให้เกิดขึ้นโดยใช้สิ่งที่เราทำอยู่นั่นแหละ 📌แต่ว่าลงรายละเอียดกับมันให้มากขึ้น 📌ที่เราฝึกกันมา ในภาคฝึกฝืน ที่เราได้ฝึกมา หลายคนฝืนนอก ฝืนใน ก็จะเห็นพฤติกรรม เห็นลักษณะของอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่คอยดัก ที่เข้ามากระทบ ให้เราคอยสะเทือนอยู่เรื่อยๆ
🕊การภาวนาที่บ้าน🕊
การฝึกภาวนาอยู่ที่บ้านเป็นการฝึกภาวนาที่ต้องใช้กำลังมาก ใช้ความสามารถมาก ความเพียรมาก เพราะว่าต้องเจอกับอารมณ์ที่มากระทบ ที่มันหลากหลาย ไม่สามารถที่จะควบคุมมันได้ ไม่สามารถที่จะจัดสรรมันได้ มันมีความหลากหลายไม่เหมือนกับเรามาเข้าวัดปฏิบัติ เพราะว่าส่วนหนึ่ง จะมีการจัดสรรด้วยกฎระเบียบต่างๆ แต่การที่จะฝึกอยู่ที่บ้าน ฝึกไปกับการทำงานด้วย ฝึกไปกับโลกของปัจจุบันด้วย ในโลกปัจจุบันเป็นโลกที่เราทำอะไรไม่ได้เลย มีแต่เราจะต้องรับรู้เรื่องราวของมัน ที่มันจะเข้ามาใส่เราอยู่ตลอดเวลาถ้าเราไม่ตั้งมั่นให้ดี เราก็จะหลงไป หลงไปกับคลื่นที่มันมากระทบ ถาโถมมาใส่เราทั้งหมด
🕊ฝึกรับรู้การทำงานของอายตนะทั้ง 6 👀🦻🏿👃👅🧘❤️🕊
👉ในช่วง 1 เดือนนี้ พยายามฝึกรับรู้การทำงานของอายตนะทั้งหมด ฝึกรับรู้การทำงานของมันให้ได้ เพราะถ้าเราไม่ฝึกการรับรู้การทำงานของอายตนะแล้ว ใจเราจะเข้าไปทำงานแทนอารมณ์ แทนที่จะรับรู้อารมณ์ 📌🚩อันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องฝึก เพราะเราจะต้องฝึกให้จิตใจเรา ตัวรู้ของเรา
🔺ทำหน้าที่เป็นผู้รู้ ผู้ดูให้ได้
🔺เป็นผู้รู้ ผู้ดูให้ชำนาญ
🚩เป็นผู้รู้ผู้ดูให้เข้มแข็ง
👉ไม่เช่นนั้น อุปนิสัยเก่า อารมณ์เก่า ที่เป็นผู้หลง ผู้ลืม ผู้ไหล ผู้ตามกับอารมณ์ต่างๆ ก็จะเข้ามาทำงานแทนที่ ชิงเก้าอี้ ชิงที่นั่งของเรา 📌 👉เราต้องส่งเสริม เราต้องพยายามส่งเสริมกำลังของตัวรู้ ให้มากขึ้น ให้ติดเป็นนิสัย หัดเป็นผู้รู้ ผู้ดู เป็นผู้สังเกต เหตุการณ์อยู่เรื่อยๆ
👉ไม่เข้าไปร่วมในการแสดงของอารมณ์ต่างๆ ไม่เข้าไปร่วมไปมีส่วนได้ส่วนเสียให้ได้
👉แต่ไม่ปฎิเสธอะไร เพราะเวลาเราปฎิบัติจริงๆแล้ว เราไม่สามารถที่จะปฏิเสธอารมณ์ใดๆ ที่จะเกิดขึ้นมาได้เลย แล้วเขาจะดับไป
👉ทุกครั้งที่เขาเกิดแล้ว เราได้ทำตามเขา จะกลายเป็นร่องลึกในใจเรา🚩
👉ถ้าเราไม่ถมเราก็จะตกอยู่ในร่องนี้ตลอด มันก็เลยสร้างเป็นทิฐิ เป็นความคิดเห็นขึ้นมา 📌
👉เวลาตา👀กระทบรูป🦻🏿 หูได้ยินเสียง 👃จมูกได้กลิ่น 👅ลิ้นรู้รส 🧘กายสัมผัส ❤️ความคิดนึกในใจที่เกิดขึ้นมา เราจะมีร่องในใจของเราทุกคน ต้องคิดแบบนี้ ต้องรู้สึกแบบนี้ ที่คอยดักทำตามอุปนิสัยของเราแบบนั้นบ่อยๆ 👉แต่ตอนนี้ที่เรามาฝืน ต้องมาฝืนอุปนิสัยเดิมๆ ที่ทุกท่านทำอยู่ ที่ทุกท่านรู้สึกว่า เราติดอยู่ 📌
👉ช่วงต่อไปนี้พยายามตั้งโจทย์ เราจะฝึกสังเกตกับมันให้มาก สังเกต ปล่อยให้มันทำงานเอง คอยดักฝึกเห็นการทำงานอายตนะ
👀ตากับรูปที่กระทบกัน รูปที่มากระทบกับตา แล้วก่อเกิดการรับรู้ขึ้นมา
🦻🏿หูกับเสียง เวลาเราได้ยินเสียงอะไรต่างๆ ให้รู้สึกได้เลยว่า หูกำลังทำงาน ไม่ใช่เราทำงาน เสียงต่างๆเขากำลังทำงาน มีการทำงาน มีเสียงต่างๆมากระทบแล้วก็ดับไป กรหูเขาก็ทำหน้าที่รับรู้ไป รับรู้ไป ไม่ทำอะไรกับอารมณ์เหล่านั้น ไม่ทำอะไรกับเสียงเหล่านั้น แม้เสียงจะเป็นเสียงที่พึงพอใจ หรือเป็นเสียงที่ไม่พึงพอใจ ไม่พึงปรามรถนาที่มากระทบ ก็ให้รู้สึกว่า นั่นคือการทำงานของหู ที่กำลังรับรู้เสียงตรงๆตามที่มันเป็น มันไม่ได้มีอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจใดเกิดขึ้น
👃จมูกกับกลิ่น เวลาได้กลิ่น ก็ให้รู้สึกถึงการทำงานของจมูก อ้อนี่มันได้กลิ่น จมูกกำลังทำงานอยู่ รู้ว่ากลิ่นมาแล้ว ให้เห็นการทำงานของจมูก เห็นการทำงานของกลิ่นที่มากระทบกับจมูกบ่อยๆ ซ้อมไปให้เห็นเขาทำงาน ให้กลิ่นเขาทำงานมา ให้จมูกเขาทำงานมา กลิ่นเขาทำงานมาคือมากระทบกับจมูก จมูกทำหน้าที่รับรู้ไป
😛ลิ้นกับรส เวลาทานอาหารแต่ละครั้ง เราใช้อายตนะทั้งหมดเลย เวลาลิ้นมากระทบกับเรา รสมากระทบกับลิ้น ได้เห็นการทำงานของรส ได้เห็นการทำงานของลิ้น ที่มันกำลังรับรู้อยู่ ก็ได้รู้สึกว่า นี่ลิ้นเขาทำงาน ไม่ใช่เราทำงาน เราเพียงแต่รับรู้การทำงานของเขา พอฝึกบ่อยๆเข้า เราจะเห็นว่า เวลากินข้าว มันจะใช้การทำงานทั้งหมด เช่น ตาเห็นรูปอาหาร หูได้ยินเสียงจากการตัก การเคี้ยว จมูกก็ได้กลิ่นของอาหาร ลิ้นก็รู้รสของอาหาร กายก็สัมผัสความรู้สึกอาหารนั้น
หยาบ แข็ง อุ่น เย็น ร้อน อันนี้การทำงานของกาย และใจไปรับรู้เรื่องอารมณ์
🧘กายกับการกระทบ ก็เหมือนกัน ให้เห็น พยายามฝึก ให้รู้สึกถึงการทำงานของมันบ่อยๆ เพราะการทำงานทางร่างกาย มันจะมารับรู้สิ่งที่มากระทบ ดีบ้างไม่ดีบ้าง เย็น
ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ปวด เมื่อย เพลีย พวกนี้เป็นอารมณ์ที่ดักมากระทบกับกาย กายก็ทำงานรับรู้ไป หรือบางครั้ง บางคนมีโรคภัยไข้เจ็บ นั่นก็เป็นอารมณ์ที่มากระทบกับกาย กายก็ทำหน้าที่รับรู้ไป รับรู้ความทุกข์ของมัน รับรู้ความบีบคั้นของมัน รับรู้เวทนาของมัน ที่มันกำลังกระทำกับกายอยู่ มันกำลังกระทบกับกายอยู่ ทำหน้าที่รับรู้ไปตรงๆ ซื่อๆ ฝึกตรงนี้ จะได้เห็นว่า เวลามันร้อนหรือมันเย็น มันเป็นของมันเอง กายทำหน้าที่รับรู้ เวลามันกระพริบตา เวลามันหายใจ มันเป็นของมันเอง แม้แต่เวลายืน เดิน
นั่ง นอน เหยียด เคลื่อนไหว มันเป็นของมันเอง ให้เห็นจังหวะที่มันมากระทบบ่อยๆ ให้ชำนาญการเห็นการทำงานของมัน
❤️ส่วนใจของเราเองก็เห็นการทำงานเวลามีอารมณ์มากระทบใจ
ที่ทุกคนเห็นอยู่ประจำๆนั่นแหละ เช่น เดี๋ยวมีความโกรธมากระทบใจ ใจก็รับรู้การทำงานของมัน 👉ใจจะรับรู้การทำงานของมันทั้งหมดเลย 👉รับรู้การทำงานของตา หู จมูก ลิ้น กาย ด้วย 👉รับรู้การทำงานของภายในที่มันปรุงแต่งอีกด้วย👉ตัวใจจึงป็นตัวทำหน้าที่รับรู้ด้วยและทำหน้าที่หลงด้วย ในตัวของมันทั้งสองอย่าง👉มีสติเกิดขึ้นมามันก็จะทำหน้าที่รับรู้👉แต่ถ้าไม่มีสติขึ้นมา มันก็จะทำหน้าที่หลง รู้กับหลงอยู่ในใจนั่นแหละ👉ถ้าเรารู้อาการหลงเมื่อไหร่ ใจเราก็จะตื่นออกมา ตื่นออกมาเห็นลักษณะของอารมณ์ที่มันมากระทบกับใจที่มันดักคอยปรุงแต่งอยู่เรื่อยๆ ปรุงแต่งอยู่บ่อยๆ 📌เพื่อจะทำให้ใจเราเริ่มหยุดพฤติกรรมต่อต้านหรือต่อสู้ ไหลตาม เพลิดเพลิน อันนี้เป็นอารมณ์ทั้งหมดเลยที่มากระทบกับใจเรา แต่ตัวใจเราจริงๆ ทำหน้าที่รับรู้เฉยๆ รับรู้สิ่งที่มากระทบ เราต้องพยายามทำใจกว้างๆ เปิดใจยอมรับทุกเรื่องที่มันจะมากระทบกับเรา🚩
📌พยายามตั้งหลักว่า 👉รับรู้การทำงานของมันให้ได้บ่อยๆ หรือบางครั้งเราเสียศูนย์ไปจากการรับรู้ตรงนี้ เวลาเราเสียศูนย์จะรู้สึกว่า เราไม่ทันการกระทบ📌 ตรงจุดนี้เป็นจุดที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง ทำอย่างไรจะสร้างอุปนิสัยให้รู้เท่าทันการกระทบ ให้รู้เท่าทันการทำงานของมัน ❕แล้วเราไม่ทำงาน ❗️เราจะนั่งดูมันทำงาน นั่งดูพฤติกรรมของอายตนะต่างๆเขาทำหน้าที่กันอยู่ตลอดเวลา 📌ถ้าเราไม่ฝึกตรงนี้ ฝึกตัวรู้ให้เท่าทันการกระทบบ่อยๆ มันจะทำให้เราไม่ทันอารมณ์เราเอง เวลาไม่ทันการฝืนเราก็จะไม่มี การฝืนไม่มี 👉มันก็จะตกเป็นทาสของอารมณ์ ❗️❤️ใจตกเป็นทาสของอารมณ์แล้ว ก็จะนำไปสู่พฤติกรรมทาง😡กายกรรม และ🗣วจีกรรมก็จะตามมา แต่ถ้าเราฝึกบ่อยๆ และทันการกระทบปุ๊บ ถึงแม้มันจะมีอารมณ์เกิดขึ้นมาก็ตาม เราก็เห็นการทำงานของมันบ่อยๆ แล้วพอเรามีกำลังมากเข้าๆ 👉เราก็จะมีกำลังในการรู้ซื่อๆ 👉แล้วเลือกทำ อันไหนที่ควรทำ อันไหนที่จำเป็นเราก็ทำ อันไหนไม่จำเป็นเราก็ปล่อยไป👉การจะปล่อยได้มันต้องฝึกตัวรับรู้การทำงาน รับรู้การกระทบให้เป็นนิสัยให้ได้ก่อน อันนี้ที่เราฝึกกันมาทั้งหมด👉 เพื่อให้มันเกิดอุปนิสัยในการที่จะเท่าทันการกระทบให้ได้ 👉การกระทบมีอยู่แล้ว 👉การรับรู้มีอยู่แล้ว 🔺แต่การระลึกถึงภาวะนี้ได้บ่อยๆ มันเป็นเรื่องที่จำเป็น 📌
🕊 ให้ไปย่อยบทเรียนให้ชำนาญ🕊
ตั้งแต่นี้ต่อไป อาจจะไม่มีบทเรียนอะไรพิเศษให้ 👉แต่ให้ไปย่อยบทเรียนตรงนั้นให้ดี 📌ไปฝึกให้มันชำนาญให้ได้ ไปฝึกให้มันเท่าทันให้ได้ เพื่อจะได้ทำให้เราทันตัวเอง ทันกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ทันอารมณ์ที่มากระทบ เห็นมัน รู้มัน เข้าใจลักษณะของมัน และดูมันทำงานกัน 📌ถ้าเราไม่ทำตรงนี้ จิตเราจะไม่ได้พักผ่อน ให้ทำจิตเหมือนนั่งดูคนทำงาน เวลาเรานั่งดูคนทำงาน อาจจะนั่งอยู่ในที่ร่มๆ สบายๆ และเห็นคนทั้ง6นี้ทำงานกันอยู่ตลอดเวลา ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ที่มันคอยดักมา กระทบกับเราอยู่ตลอดเวลา เราเพียงแต่ตั้งหลักให้มั่น เรียกว่าภาวะของสมาธินั่นเเหละ เวลาที่จะสร้างภาวะของสมาธิให้มั่นคง บางครั้งเราก็ต้องใช้ความคิดเข้าช่วยบ้าง ใช้เจตนาเข้าช่วยบ้าง เพื่อให้มันจับหลักได้ เพื่อให้เกิดความชำนาญขึ้น พอเราสังเกตตรงจุดนี้
สังเกต2จุดนี้ดีๆ1.จุดกระทบ จุดของการเกิดกระทบ และ2.จุดของการรับรู้การทำงานของอายตนะ ฝึกบ่อยๆให้มันทำงานขึ้นให้ได้ ให้เท่าทันสองเรื่องนี้ ถ้าเราเท่าทันการกระทบ เราก็อยู่กับอารมณ์ปัจจุบันได้
ถ้าเราเท่าทันการทำงานของมัน📌 ปัญญาที่เราเห็นการทำงานของมัน ก็จะเกิดขึ้นและจิตก็จะได้รับการพักผ่อน ❗️ภาวะของการอยู่ในปัจจุบัน การเท่าทันการทำงาน การเท่าทันการกระทบ การรู้ทีละขณะ ขณะหนึ่งๆ อันนี้เป็นภาวะเดียวกันทั้งหมดเลย ให้ทันขณะหนึ่ง ให้ทันการกระทบ อยู่กับปัจจุบันสั้นๆ นี่เป็นคำพูดเดียวกัน เป็นอาการเดียวกัน ใครจะเอาไปใช้แบบไหนก็ได้
❗️ ฝึกให้เท่าทันการทำงานของมัน รับรู้การทำงานของมันและใจเราจะไม่ค่อยทำงาน นี่ก็สร้างอุปนิสัยในใจ อุปนิสัยในใจคือ การให้มันหลุด ให้มันพ้น เวลาติดเข้าไปในอารมณ์ใดปุ๊บก็ให้มันกลับมา ให้มันหลุดออกมาและก้าวพ้นมันออกไป การสร้างอุปนิสัยในการหลุดพ้นบ่อยๆ จะทำให้มันเริ่มคุ้นชินกับอารมณ์นี้บ่อยๆ❗️อารมณ์นี้เป็นอารมณ์ของการหลุดพ้น เป็นอารมณ์ของมรรคผลนิพพาน ❗️ที่มันมีอยู่ แต่เราต้องซ้อมมันบ่อยๆ เพื่อที่เวลามีอะไรปุ๊บ จะได้หลุดจากอารมณ์นั้น และก็พ้นจากอารมณ์นั้นไป
🕊วิธีการฝึก 1:1🆚1:6🕊
👉วิธีการฝึกให้ตัวรับรู้มันเข้มแข็งขึ้น ต้องตั้งหลักดีๆว่า ตัวรับรู้ของเรา รับรู้ซื่อๆ รับรู้แล้วไม่รีบทำอะไร ❤️อันนี้เป็นหัวใจในการที่จะทำให้ตัวรู้ซื่อๆของเราเข้มแข็งขึ้น❤️👉รับรู้แล้วไม่รีบทำอะไรกับมัน รับรู้การทำงานของมัน เห็นการทำงานของมัน เห็นการกระทบของมันทั้ง2ส่วน แต่ว่าจิตใจเรายังคงทำหน้าที่รับรู้ซื่อๆ แล้วไม่ทำอะไร แล้วคอยดูความจำเป็นจริงๆ ถ้ามันจำเป็นจริงๆที่จะต้องทำ มันจะมาเตือนบ่อย อันนั้นเราก็ค่อยพิจารณาเอา
👉ในการทำให้ภาวะของการรับรู้ซื่อๆ ไม่รีบทำอะไร ให้มันเข้มแข็ง มันจะต้องมีการตรึกตรอง 📌🦻🏿ตรึกตรองอยู่ในจุดยืน แต่ไม่ใช่ยึดจุดยืน ฟังคำนี้ให้ชัด 📌🦻🏿
👉ภาวะของการมีสมาธิ ตัวเบื้องต้นคือมีวิตกวิจารณ์ คำว่าวิตกวิจารณ์ ถ้าเราใช้คำพูดนี้ เราจะรู้สึกเป็นอกุศล แต่ในความหมาย ตรึกอยู่ในเรื่องนั้นและตรองอยู่ในเรื่องนั้นบ่อยๆ เหมือนเราตั้งใจตรึกตรองในจุดนี้ ตรึกตรองอยู่ในการที่ว่า จะฝึกตัวรู้ที่เราไม่ได้ทำอะไร อันนี้เรียกว่า เป็นการตรึกตรองภายใน เวลามีอะไรมากระทบปุ๊บ เราก็แค่รับรู้มัน ไม่รีบทำตามมัน ไม่รีบปฎิเสธ มัน รับรู้แล้วไม่รีบทำอะไร ทำตรงนี้ให้มันมั่นคง ให้จิตมันคุ้นชินกับตัวนี้บ่อยๆ การรู้อะไรแล้ว ไม่รีบทำอะไร ทำบ่อยๆ
👉เราอาจจะฝึกสมาธิแบบหนึ่งต่อหนึ่ง(1:1)ก็ได้ เช่น เราฝึกรับรู้กับการทำงานของร่างกายไปก่อน ดูซิว่าอะไรมากระทบกับร่างกาย มีร่างกาย มีสิ่งที่มากระทบกับร่างกาย และก็มีการระลึกรับรู้ไป รู้หนึ่งร่างกายหนึ่ง สิ่งที่มากระทบในขณะหนึ่ง ถ้าเราทำได้บ่อยๆทำได้ถี่ๆ ทำได้มากๆ มันจะเริ่มทำให้เกิดการสงบ เรื่องอื่นๆก็เช่นกัน รับรู้ทางอายตนะเดียว หัดเรื่องเดียว ในการที่จะรับรู้การทำงานของร่างกาย ฝึกตัวรับรู้กับการทำงานของร่างกาย เอาตัวร่างกายเป็นตัวตั้งหนึ่ง ตัวกระทบสิ่งที่มากระทบกับร่างกายในขณะหนึ่งเป็นตัวตั้ง และเอาตัวรับรู้เฉพาะหน้า และไม่ทำอะไรเป็นตัวฝึกฝน เวลามีอะไรกระทบ มีอาการที่มากระทบกับร่างกาย ตัวร่างกาย แล้วดูว่ารับรู้แล้วเราสะเทือนไหม ถ้าสะเทือนก็รับรู้ว่าสะเทือน เวลาสะเทือนเป็นยังไง เวลามันไม่ตั้งมั่นจะเห็นว่า เมื่อรับรู้การทำงานของร่างกายแล้ว มันจะเกิดการคิดนึกขึ้นมา ไปเกิดการกระทบเป็นอารมณ์ทางใจต่อไปอีก เราก็เห็นมัน ถ้าเรารับรู้แล้วยังไม่มั่นคง รับรู้แล้วทะลุไปถึงการเกิดขึ้นภายในใจเรา แล้วก็ไปรับรู้ทั้งสองส่วน ทั้งภายนอกและภายใน เราจะซ้อมภาวะของการรับรู้นี้ ให้มันเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆนี่เรียกหนึ่งต่อหนึ่ง คือการรับรู้ที่จะฝึกในการตรึกในชีวิตประจำวันแต่ละวัน เราจะตรึกตรองอยู่ตรงนี้บ่อยๆไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ตรึกตรองกับการรับรู้แบบนี้ การทำงานภายนอกจะมีสิ่งที่มากระทบเยอะมาก แต่ในสิ่งที่มากระทบ ถ้าเราชำนาญในการที่จะรับรู้หนึ่งต่อหนึ่งบ่อยๆ เราจะได้หลัก เวลาอยู่กับอะไรก็ตาม สิ่งที่มากระทบต่างๆ มันก็จะทำให้เราได้หลักในการรับรู้แล้วผ่าน รับรู้แล้วผ่าน เห็นลักษณะของมัน เห็นอาการของมัน แล้วก็ปล่อยผ่านไปได้
👉เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น บางครั้งเราอยู่ในเหตการณ์ปัจจุบันจริงๆ ก็อาจจะใช้การรับรู้ ทำสมาธิแบบหนึ่งต่อหก(1:6)ก็ได้ เอาตัวรับรู้ซื่อๆเป็นหลัก แล้วเอาอารมณ์ทั้ง 6 ที่มันเกิดขึ้นมาเป็นตัวฝึก ตัวทดสอบ เช่นเวลาตา👀เห็นรูปก็รับรู้มัน 🦻🏿หูได้ยินเสียงก็รับรู้มัน 👃จมูกได้กลิ่นก็รับรู้มัน 😛ลิ้นรู้รส 🧘กายสัมผัส ก็รับรู้มัน ตามที่มันเป็น หรือแม้แต่❤️ใจมันคิด ก็รับรู้ มันนึกขึ้นมา มันมีอารมณ์ชอบไม่ชอบขึ้นมา หรือเผลอเพลินอะไรขึ้นมาปุ๊บก็รับรู้มัน
👉การรับรู้แบบ1:1 จะทำให้เกิดความสงบบ้าง สบายบ้าง เวลาเราทำไปบ่อยๆ แต่อย่าไปติดมัน
👉แต่การรับรู้แบบ1:6 จะทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงเยอะขึ้น เดี๋ยวมีตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แต่เป้าหมายเราคือ มีการรับรู้ซื่อๆ ตามที่มันเป็น รับรู้ซื่อๆ
👉ตอนนี้เราลองมี📌หมุดหมายในใจ ❤️มีเจตนาที่จะฝึกตรงนี้กันบ่อยๆ ว่าเราจะมีสมาธิกับการรับรู้การทำงานของอายตนะกับรู้ซื่อๆ แล้วเราจะไม่ทำงานลองไปฝึกให้ชำนาญนะ
🕊 ถูกบ้าง ผิดบ้าง ไม่ต้องกังวล ตั้งมั่นอยู่กับการรับรู้ 🕊
👉การฝึกบางครั้งจะรู้สึกมันถูกบ้างผิดบ้าง ใช่บ้างไม่ใช่บ้าง ไม่ต้องไปกังวล ให้ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำไปแล้วเป็นยังไง ก็ได้เรียนรู้บ่อยๆมันจะทำให้จิตเปิดกว้างขึ้น และยอมรับอารมณ์ได้มากขึ้น ฝึกฝนตัวเองได้ถี่ขึ้น
👉ในเบื้องต้น ลองหัดตัวรู้สึกที่มันไม่วิ่งไปหน้ามาหลัง แต่ตั้งมั่น ตั้งมั่นอยู่กับที่ และให้ทุกอย่างเข้ามาหาใจ เมื่อก่อนใจเราอาจจะวิ่งออกไปหามัน วิ่งออกไปหารูป หาเสียง หากลิ่น หารส หาสัมผัส และหาอารมณ์ เรียกจิตที่มันติดกาม ติดกามคุณทั้ง5ติดรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ ที่เราชอบใจและไม่ชอบใจ แต่ต่อไปนี้ เราจะเอาจิตตั้งมั่นอยู่กับตรงนี้ ตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบัน ตั้งมั่นอยู่กับการรับรู้ ตั้งมั่นอยู่กับการเห็นการทำงานของมัน ตั้งมั่นอยู่กับมันขณะเดียว ตั้งมั่นอยู่กับการเรียนรู้ ไม่เอาผิดเอาถูกกับอะไรไว้บ่อยๆ แล้วมีการตรึกตรอง ตรึกตรองว่า เราอยู่ในจุดนี้ไหม เหมือนบางคนกำลังตรึกตรองว่า จุดปัจจุบันอย่างนี้นะ เวลาหลุดจากปัจจุบันแล้วก็กลับมา กลับมาตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบันบ่อยๆ อันนี้ก็จะทำให้เกิดสมาธิได้เหมือนกัน
🕊 เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่🕊
👉 เหตุเกิดของสมาธิเบื้องต้นคือ การตรึกตรอง ปักจุดยืนของตัวเองให้มั่นคงก่อน ตรึกตรองอยู่กับตรงนี้ อยู่กับการรับรู้ ตรึกตรองกับการเห็นการทำงานของมันบ่อยๆ มันก็จะทำให้จิตเริ่มไม่ทำงาน แต่เปลี่ยนตัวเองมาเห็น👀การทำงาน ❗️ต้องเปลี่ยนเส้นทางนี้ให้ได้ ❗️เพราะถ้าไม่เปลี่ยนเส้นทางนี้ ตัณหาจะทำงานไม่เลิก 📌อุเบกขาจะทำงานไม่ได้ 📌แต่ถ้าจิตมันเปลี่ยนตัวนี้ได้ปุ๊บ เปลี่ยนพฤติกรรมจากการที่มันไปทำงาน เป็นมันเห็นการทำงาน จะเกิดการพักผ่อนในตัวมันเอง🚩แต่บางเรื่องบางราวมันต้องทำงาน มันก็เข้าไปทำ ทำเสร็จปุ๊บ มันก็รีบกลับมาอยู่กับภาวะนี้ได้บ่อยๆเข้า ภาวะนี้ได้เรื่อยๆเข้า มันจะยิ่งชำนาญขึ้น ชีวิตจะเริ่มรู้สึกเบาสบายมากขึ้น เพราะใจไม่ทำงาน แต่เห็นการทำงานของมัน อันนี้อยากให้ไปฝึกให้ชำนาญ
👉เช้านี้ที่ให้ข้อคิดไป เพื่อเราจะได้ไปทำต่อ ไปย่อยสิ่งที่เกิด สิ่งที่อยู่เฉพาะหน้าให้มันละเอียดขึ้น ตั้งมั่นกับการรับรู้ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดเกิดขึ้นมาปุ๊บ ที่เราหัดรับรู้ภายนอก ภายใน แล้วเราฝึกฝืน นั่นแหละ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายในฝืนให้มากที่สุดคือ ฝืนที่จะไม่ทำงานแต่เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ มารับรู้การทำงานของอารมณ์ต่างๆ มันเกิดอยู่บนโลกใบนี้อยู่แล้ว มันเป็นอยู่แล้ว เพียงแต่ทำให้จิตมันตื่นขึ้นมา ที่มันเคยหลงไปทำโน่นทำนี่ ตามตัณหา ตื่นขึ้นมาเพื่อรับรู้ และเห็นการทำงานของมัน บางครั้งเราอ่อนแอ ก็กลับมารู้กาย ตัวรู้ ตัวรับรู้หนึ่งและกายหนึ่ง และสิ่งที่มากระทบกับกายหนึ่ง เป็นหลักยืนเอาไว้ เพื่อจะทำให้เราได้มั่นคงต่อการที่จะไปเผชิญกับอารมณ์เป็นจริง
🕊หลุดพ้นบ่อยๆ พระนิพพานคือการหลุดพ้น🕊
👉ท้ายที่สุดนี้ขอให้พวกเราได้ตั้งใจภาวนากันต่อ ไม่ว่าจะมีอุปสรรคอะไรก็ตาม นั่นเป็นเรื่องธรรมดาของมัน อุปสรรคไม่มี การพัฒนาก็ไม่เกิด เพียงแต่เราจะหลุดจากมัน พ้นจากมันได้เท่าไหร่
👉หัดหลุดพ้นบ่อยๆ ไม่ต้องไปสนใจว่าเป็นอะไร เพียงแต่หัดอารมณ์ หัดนิสัยในการหลุดพ้น หลุดพ้นบ่อยๆ
👉พระนิพพานคือการหลุดพ้น อย่างน้อยเราหัดหลุด หัดพ้นจากอดีต พ้นจากอนาคต พ้นจากการเข้าไปทำงาน แต่มารับรู้การทำงานของมันเรื่อยๆ แล้วจิตจะค่อยหลุดค่อยพ้นออกมาเรื่อยๆ
👉ขอให้ทุกคนมีกำลัง มีอินทรีย์ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ที่เข้มแข็งขึ้นและมากขึ้นทุกคนนะ
🕊ถอดเสียง : คุณจี๊ด
🕊เรียบเรียง : คุณอ้อม คุณน้อง
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.