Episodes
Monday Feb 25, 2019
ฝึกภาวะตัวรู้
Monday Feb 25, 2019
Monday Feb 25, 2019
ฝึกภาวะตัวรู้
รูปทั้ง 5 เนี่ย ถ้าเรารู้สึกกับรูปที่เป็นปัจจุบัน จะเห็นความเป็นขณะหนึ่งของมันทั้งหมด อย่างที่เราฟังเสียงนกเนี่ย สังเกตมั้ย เดี๋ยวอันนี้ก็เกิด เดี๋ยวก็ดับไป เดี๋ยวก็เปลี่ยนไป เดี๋ยวก็ดับไป เดี๋ยวนกบินผ่านมาวูบแล้วก็หายไป ถ้าฝึกดีๆเอา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่มันเคยทำอะไรกับใจ เอามาฝึกโดยอาศัยอารมณ์ปัจจุบันเป็นหลัก เพราะอารมณ์ปัจจุบันจะเปลี่ยนตัวได้ไว ไม่แช่ ไม่จมอยู่ แม้แต่ฟังเสียง มันไม่ได้ฟังเสียงยาวเลยนะ มันเป็นแค่ วุ้บนึงๆ แล้วก็ดับๆ ถ้าเราคุ้นกับภาวะที่มันเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว ภาวะพวกนี้เราไม่ได้ทำ ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องไปทำให้มันเหนื่อยเลย เพียงแต่รับรู้ว่ามันทำ รับรู้ว่ามันเกิด รับรู้ว่ามันดับ
อารมณ์ของการเกิด_ดับ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ถ้าเราลองตามมันไปเรื่อยๆ จะทำให้จิตรู้สึกว่า ของในโลกนี้ทั้งหมดมันเป็นอย่างนี้ ไม่มีของดี ของชั่ว มันจะมองข้ามไปทั้งหมด ไม่มีเรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องถูก เรื่องผิด แต่มันจะมองข้ามช้อตไปสู่เรื่องเกิด เรื่องดับ เรื่องเหตุ เรื่องปัจจัย ถ้าใครตามสัมผัสกับมันได้เรื่อยๆ จนจิตมันเสพ มันคุ้น จนลงไปสู่สัญญา พอไปโกรธอะไร ก็จะรู้สึกว่าอย่าไปถือสาเลย เดี๋ยวมันก็ดับ พอไปอยู่ในสัญญาแล้ว ถ้ามันไปหลงอะไรปั๊บ มันจะหลงไม่ลึก จะรู้สึกว่าไม่ต้องไปถือสาอะไรหรอก เพราะมันเป็นอย่างนั้น มันสอนเราอยู่เรื่อยๆ แต่วิธีการจะรู้ตรงนี้นะ จะต้องเอาภาวะสดๆเท่านั้น ต้องเอาภาวะที่กำลังเกิดเดี๋ยวนี้ เพราะภาวะปัจจุบันมันจะเป็นภาวะขณะหนึ่ง ขณะหนึ่งของมันอยู่แล้ว แต่ภาวะขณะหนึ่งบางทีอาจจะสั้นบ้าง ยาวบ้างก็แล้วแต่มัน
ถ้าเราคิดว่าความสุขเกิด ความทุกข์ก็ดับ เราจะเกิดภวตัณหาสร้างแต่ความสุขให้เกิดขึ้นเยอะๆ เพื่อไม่ให้ความทุกข์เกิด แต่มันเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าคิดว่าความสุขเกิด ความสุขก็ดับ ความทุกข์เกิด ความทุกข์ก็ดับ ถ้าเรามองให้ตรงว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ้งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ไม่ใช่เอาไปทดแทนกัน ถ้าคุณเอาไปทดแทนกัน มันจะเกิดภาวะของแรงเหวี่ยง เหวี่ยงซ้าย เหวี่ยงขวา แต่ถ้าคุณเห็นว่าซ้ายก็ดับ ขวาก็ดับ คุณจะเกิดภาวะอยู่ระหว่างกลาง ไม่เหวี่ยงซ้าย เหวี่ยงขวา ซ้าย กับ ขวา คือ ชอบใจ และ ไม่ชอบใจ ถ้าเรารู้ว่าชอบใจเกิด แล้วชอบใจก็ดับ ไม่ชอบใจเกิด ไม่ชอบใจก็ดับ ถ้าจิตเรารู้อย่างนี้บ่อยๆ จิตจะเข้าสู่อุเบกขาเวทนา นี่คือปัจจัยให้จิตไม่เหวี่ยงซ้าย ไม่เหวี่ยงขวา จิตจะรู้ซื่อๆได้เป็น โดยไม่สะทก สะท้านกับมันเลย จะมาแบบร้ายๆ มันก็ดับตัวแบบร้ายๆ แต่เราไม่ไปทำตามนะ จะมาแบบดีๆ มันก็ดับแบบดีๆ เราก็ไม่ทำตามมัน เราจะทำตามแต่ละทีเมื่อเรามีเหตุปัจจัยต้องทำ เราก็เลือกทำแต่ที่ดีดี ไม่ต้องไปใส่ใจกับมัน เพราะทำดี ดีก็ดับ แต่ถ้าผลต่างกันนะ ฉนั้นเราก็เลือก ถ้าทำดี ก็เป็นกุศลทำให้จิตใจร่มเย็นเป็นสุข เพราะทำชั่ว ทำให้เราต้องเดือดร้อน สบสน วุ่นวาย มันทำให้กาย ใจเดือดร้อน ฉนั้นเราจึงทำดี แล้ววางดีเป็น ไม่ทำชั่วเพราะเราเห็นโทษของความชั่ว พอรู้อย่างนี้ปั๊บจิตจะเข้าใจว่าทำสิ่งนี้เพราะเห็นคุณ เห็นโทษมัน และวางมันเป็น ( ฉันทำสิ่งนี้เพราะฉันเข้าใจมัน ) และเห็นทางออกคือวางมันเป็น ฉนั้นการเห็นการเกิด การดับของมันบ่อยๆ จะทำให้เราวางตัณหา วางอุปาทาน หมายความว่าทุกอย่างเราไม่ได้ทำมันขึ้นมา ไม่มีเราทำมันขึ้นมาเลยนะ หูที่ได้ยินอยู่เนี่ย มันเป็นธรรมชาติทำให้ทั้งหมด ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเนี่ย ธรรมชาติมันทำหมดเลย
ถ้าเราทำความรู้สึกสนใจกับปัจจุบันที่มันเกิด ดับๆ รู้เห็นการเกิด การดับของความเป็นขณะหนึ่งของปัจจุบันเรื่อยๆ มันจะลงไปสู่สัญญาเป็นอนิจสัญญา คือเห็นทุกอย่างไม่เที่ยง เราจะต้องทำให้มันเกิดอย่างนั้น ไม่อย่างนั้นเราจะได้แต่สัญญาแบบเก่าๆ คือ ฉันพอใจอันนี้ ฉันก็ทำ ฉันไม่พอใจอันนี้ ฉันก็หนี มันก็จะเกิดภาวะที่พออะไรมากระทบปุ๊บ ก็เกิดการให้ค่าบวก ลบๆ อยู่อย่างนั้น เราจะเข้าใจเมื่อเราลดค่า.. ธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้เอง ที่เราต้องฝึกรู้ขึ้นมา เพื่อให้จิตตื่นขึ้นมารู้ตรงนี้ ไม่ใช่เพื่อทำลายความคิด เอาความสุข หนีความทุกข์ใดๆทั้งสิ้น เราต้องตื่นขึ้นมา เพื่อเรียนรู้ให้มันสอดคล้องกัน เพื่อปล่อย เพื่อวางทุกอย่างออก ให้มันอยู่ตามธรรมชาติของมัน โดยเราไม่รู้สึกว่าเรามีส่วนได้ ส่วนเสีย ส่วนเกี่ยวข้องใดๆทั้งสิ้น เพราะเค้าทำของเค้าเอง เค้าเป็นของเค้าเอง เค้าสลายตัวของเค้าเอง นี่เรียกว่าภาวะของการรู้สึกทำลายอนัตตา คืออัตตาตัวตนว่าเราจัดการมันได้ เราสั่งมันได้ เราบังคับมันได้
..อาศัยการกระทบ ดูซิว่ามันจะเป็นยังไง มันจะเกิดอะไร ดับตัวไปยังไงแค่เนี้ย...
..โลกของความคิด เป็นโลกของอดีต กับ อนาคต ไม่ใช่โลกของปัจจุบัน ปัจจุบันไม่ต้องคิด ฝึกรู้ตรงๆไปเลยกับสิ่งที่เกิดขึ้น รับรู้ไปตรงๆ
เป็นการฝึกภาวะของตัวรู้ ผู้รู้ ผู้ดู ให้เข้มแข็ง สิ่งที่จะต้องรู้ ต้องดู อยู่เต็มไปหมดแล้ว ให้เจาะจงเฉพาะเรื่องที่กำลังเกิด จะทำให้จิตได้เรียนรู้อารมณ์จริง และอารมณ์จริงจะไปเกิดกับเวลาที่เกิดจริงๆ ซึ่งทั้งหมดจะรวมอยู่ที่ปัจจุบัน ภาวะทั้งหมดนี้ให้เราตื่นตัวรู้กับมันอยู่เรื่อยๆ
ถ้าดูตรงนี้เป็น อยู่ตรงกลางได้ ( ระหว่างรูปกับนาม ) ไม่ได้ห้าม ไม่ได้เบรค ไม่ได้ทำอะไรกับมันหรอก ตา หู จมูกลิ้นกาย ไม่ต้องไปหลับหู หลับตา ปล่อยมันเพื่อจะได้เรียนรู้การเกิดการดับของมันทั้งหมด เพื่อทำให้จิตมันคุ้น จิตมันเคย จิตมันก็วางเอง ภาวะของอารมณ์ที่เราจะให้มันสุข มันทุกข์ เราจะสอน จะสั่ง บอกมัน แต่มันก็ไม่เป็นไปตามเรา ภาวะที่มันเป็นไปตามวิถีทางของมัน เราก็ต้องปล่อยมันไป
วิถีทางของอารมณ์ทั้งหลาย ทั้งปวง ถ้าจับหลักมันได้ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดแล้วสลาย ต้องให้จิตมันเห็นความจริงบ่อยๆ แล้วมันจะปล่อยเอง การปล่อยไม่ใช่เราไปปล่อย ไม่ต้องไปสั่งให้มันปล่อย แต่การสร้างเหตุให้มันปล่อยเป็นหน้าที่ของเรา หัดเห็นความไม่เที่ยงของอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง แล้วมันจะปล่อย แล้วมันจะมีอุเบกขาเวทนาเยอะขึ้น รู้เฉยๆ รู้ตรงๆ รู้แบบไม่แทรกแซง รู้แบบไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง รู้แบบอิสระ รู้แบบหลุดพ้น ไ่ม่ใช่รู้แบบพัวพัน
ธรรมะบรรยายโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท กุมภาพันธ์ 2561 ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.