Episodes
Tuesday Jul 21, 2020
หัวใจของการฝึกฝืน พจ.กระสินธุ์ 120763
Tuesday Jul 21, 2020
Tuesday Jul 21, 2020
เทศน์ปิด และนำแผ่เมตตา หลังการปฏิบัติร่วมกัน
โดยพระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 12 กรกฎาคม 2563
ความรู้สึกตัวแบบธรรมชาติ ที่มันมีอยู่ในปัจจุบัน มีอาการต่าง ๆ มากระทบสัมผัสอยู่เรื่อย ๆ เขาจะเกิดแบบนี้ มีการกระทบก่อนแล้วก็รู้ กระทบก่อนแล้วก็รู้ เอาแค่รู้พอ รู้แล้วก็สั้น ๆ ทิ้งไป ตั้งใจรู้ตัวใหม่มาเรื่อย โดยอาศัยความรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติ ที่เขาจะเกิดหลังการกระทบแล้ว ไม่ว่าจะมีอะไรมากระทบกับเรา พอกระทบแล้วปุ๊บ ความรู้สึกตัวเขาก็จะเกิดขึ้นในจังหวะนี้ แล้วก็จะเลยไปเป็นความคิด ความคิดก็เป็นอารมณ์หนึ่งที่มากระทบกับจิต
เพราะฉะนั้นทุกอย่างเขาจะมีสภาวะหรือมีอารมณ์เกิดก่อน อารมณ์ต่าง ๆ จะเกิดก่อนแล้วมากระทบกับเรา พอกระทบกับเราปุ๊บเราก็หัด เอาแค่รู้ก็พอ รู้ว่าอาการนี้กำลังเกิดขึ้นกับเรา เอาใจที่เป็นหน้าที่รู้เนี่ย ไปทำหน้าที่รู้ตรง ๆ กับอาการนั้น ๆ หัดให้จิตเขาสัมผัส ฝึกรู้อาการนั้นตรง ๆ เพราะเขาจะได้ไม่ไปหลงสำคัญมั่นหมายว่าอาการเหล่านั้นเป็นเขา
ตัวอย่างเช่นถ้ามันร้อน เราก็หัดรู้ร้อนตรง ๆ หรือตอนนี้มันเคลื่อนไหว เราก็หัดรู้อาการเคลื่อนไหวที่มันเคลื่อนไหวจบไป เคลื่อนไหววูบหนึ่งแล้วก็จบไป ตรง ๆ ตามลักษณะของอาการที่มันปรากฏกับเราตลอดเวลา แต่ละอาการก็จะมีลักษณะเฉพาะตัวเขา ภาษาบาลีเขาเรียกว่าวิเสสลักษณะ คือลักษณะที่เป็นพิเศษของแต่ละสิ่ง ที่เขามีรูปลักษณ์ไม่เหมือนกัน เสียงแต่ละเสียงก็ยังไม่เหมือนกัน กลิ่นแต่ละกลิ่นก็ยังไม่เหมือนกัน ก็จะเป็นลักษณะของเขา เอาใจไปสัมผัสตรงนี้บ่อย ๆ คือประเด็นแรก เพื่อจะทำให้เราเนี่ย มีโอกาสน้อมนำเอาตัวรู้สึกตัวที่เราฝึกในภาครูปแบบเนี่ย มาใช้กับภาคชีวิตจริงให้ได้ แม้บางครั้งมันมีอาการเผลอเราก็รู้อาการเผลอนั้น นั่นแหละภาวะของรู้สึกตัวธรรมชาติเกิดขึ้นแล้ว
ประเด็นที่สองคือเราต้องรู้จักว่า เวลาเราฝึกฝืนเนี่ย ฝืนอะไร เป้าหมายของการฝึกฝืนคือ หลักของมัน ฝืนเพื่อให้จิตมันสู่อุเบกขาให้ได้ การที่จะให้จิตสู่อุเบกขาคืออะไร ฝืนที่จะไม่รีบทำอะไรกับทุกอาการ ทุกอาการที่มากระทบกับเรา จะไม่รีบทำอะไร เพราะตัวรู้สึกตัวจริง ๆ คือเขาไม่ได้ทำอะไร ให้เข้าใจเลยว่าความรู้สึกตัวที่แท้จริงน่ะ เขาไม่ได้ทำอะไรสักเรื่อง แต่ทำไมมีการกระทำขึ้นมา ที่การกระทำขึ้น อันนั้นไม่ใช่ตัวรู้สึกตัว แต่เป็นตัวของอาการของธรรมชาติ ถ้ารูปเขาจะเรียกว่าเป็นธาตุ 4 นามเขาจะเรียกว่าเป็นขันธ์ 5 ภาษาที่เราใช้ คือว่า นอกกับในนั่นแหละ นอกเขาก็ปรุงแต่งอาการขึ้นมา เขากำลังกระทำขึ้นมา ในก็ปรุงแต่งเป็นความคิดและอารมณ์ที่เขาทำขึ้นมา แต่ภาวะของรู้สึกตัวจริง ๆ นี่มันแปลก มันแปลกตรงว่า มันไม่ได้รีบ ไม่ได้ทำอะไร ตัวเขาไม่ได้ทำอะไร เขาจะทำหน้าที่อย่างเดียวของเขา หน้าที่ที่เขาทำคือหน้าที่รู้การกระทำของอารมณ์นั้น ๆ
ทีนี้เวลาเราฝืนปุ๊บเนี่ย ถ้าเราฝืนแล้วเรารีบ... การฝืนเนี่ย เป็นการฝืนที่ถูกต้อง คือฝืนที่จะไม่ทำอะไรกับอารมณ์ทั้ง 2 อย่าง อารมณ์ทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอารมณ์ภายใน ให้ฝืนให้มาก ฝืนที่จะไม่ทำอะไร ดูมันเฉย ๆ ดูมันซื่อ ๆ แต่ภายนอกน่ะ เบื้องต้นน่ะ ให้เรารู้มันก่อน ให้ฝืนมันก่อนที่จะไม่รีบทำอะไร แล้วดูว่ามันมีอะไร มีคำสั่งอะไรเกิดขึ้นมาให้เราทำโน่นทำนี่บ้าง พอเราเห็นเรียบร้อยแล้ว เราก็ดูความเหมาะสม ว่าสมควรทำหรือไม่สมควรทำอะไร อันนี้ฝืนให้มันเห็นชัดว่า ตัวรู้สึกตัวจริง ๆ คือรู้ ทำหน้าที่รับรู้ ไม่ใช่ทำหน้าที่ทำอะไรทั้งสิ้น มันจะเห็นตรงนี้บ่อย ๆ ฉะนั้นเวลาเราไปทำภาวนาปุ๊บน่ะ เราก็หัดทำภาวนาให้มันหัดฝืนทั้งสองฟาก ทั้งสองส่วน ส่วนภายนอกก็จะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เลือกเอา ส่วนภายในก็จะเป็นแค่อารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง บางคนจะใช้การฝืนว่า เช่นเวลาโกรธขึ้นมาปุ๊บ ฉันจะไม่รีบทำอะไรกับความโกรธนั้น จนกว่ามันจะหายไปเอง ถ้าเป็นภายนอก มันอาจจะเป็นอุปนิสัยที่เราเคยชิน เคยชินอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นเคยชินกับการกินกาแฟ เราก็อาจจะฝืนที่จะไม่กินมันใน จังหวะที่เราฝืนที่จะไม่กิน ข้างนอกคือกาแฟ แต่เราจะเห็นข้างใน ที่มันมีชุดคิด ชุดคำสั่งที่คอยดักหาเหตุหาผลเกิดขึ้นมาให้เราไปทำตาม เราก็จะระวังกายกรรมกับวจีกรรมเอาไว้ที่จะไม่ทำตามนั้น ลองตั้งใจฝึก ตั้งโจทย์กับตัวเอง แล้วก็ลองฝืนแบบนี้ จนกระทั่ง ฝืนจนกระทั่งรู้สึกว่า แรก ๆ มันจะฝืนแล้วฝืด ต่อไปแล้วฝืนมันไม่ฝืด คือไม่รู้สึก ไม่รู้สึกว่าเรื่องนั้นมีปัญหากับเรา ฝืนเพื่อให้จิตมันค่อย ๆ คลายความหมายของมันมากขึ้น ๆ เพราะฉะนั้นอยาก
ฝากประเด็นไว้ 3 ประเด็นนะ 1 ประเด็นฝึกหัดรู้สึกตัวกับธรรมชาติในชีวิตจริงให้มากขึ้น กับในรูปแบบที่ทำขึ้น ก็เป็นบางช่วงบางเวลา 2 ให้รู้จักตัวรู้สึกตัวที่เขาไม่ได้ทำอะไรเลย เขาไม่ได้ทำอะไร สิ่งที่ทำไม่ใช่ตัวรู้สึกตัว แต่เป็นตัวอารมณ์ ให้รู้จักเลยว่า รู้สึกตัวจริง ๆ น่ะ เขารู้สึกซื่อ ๆ แล้วไม่ได้รีบทำอะไร อันที่ 2 3 ให้ไปหัดฝึกฝืนเอากับ 2 เรื่อง เรื่องภายนอก เรื่องหนึ่งเรื่องภายในเรื่องหนึ่ง แล้ววิธีการฝืนคือฝึกฝืนแบบเดียวกันคือฝืนที่จะไม่รีบทำอะไร หัวใจสำคัญของการฝืนมันอยู่ที่ตรงนี้ ขอให้พวกเราลองไปฝึกฝนนะ แล้วปล่อยใจกว้าง ๆ เปิดใจกว้าง ๆ ยอมรับทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นกับเรา จะดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้ แต่เราก็จะไม่ไปทำตาม
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.