Episodes
Saturday Jan 02, 2021
วันที่3_10 ภาวนาก่อนและ หลังรับประทานอาหาร พจ.กระสินธุ์ 141063
Saturday Jan 02, 2021
Saturday Jan 02, 2021
อายตนะที่ทำงานมากสุด บ่อยสุด ในบรรดาอายตนะทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) คือ ‘กาย’ เพราะมีสิ่งปรุงแต่งมากที่สุด มีทั้ง เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง ไหว เมื่อย เพลีย อยู่ตลอดเวลา และมี หายใจบ้าง กระพริบตาบ้าง และอื่นๆ อีกมากมาย อายตนะที่ทำงานมากอันดับต่อมาคือ ตา หู จมูก และ ลิ้น ตามลำดับ โดยลิ้นทำงานน้อยที่สุด แต่ขณะรับประทานอาหาร อายตนะที่ทำงานชัดเจนที่สุด คือ จมูก & ลิ้น ทำหน้าที่ รู้กลิ่น & รู้รส ของอาหาร
วิธีฝึกภาวนา ‘ขณะ’ รับประทานอาหาร :
- อย่านำอาหารใส่ปากโดยไม่พิจารณา ให้สังเกต
- ‘กลิ่น’ -> กลิ่นอาหาร ที่มากระทบ ‘จมูก’ เป็นอย่างไร
- ‘รส’ -> รสชาดอาหาร ที่กระทบ ‘ลิ้น’ เป็นอย่างไร
- ไม่คุย เพราะถ้าคุยสมองจะทำงาน คิดไปตามเรื่องที่คุย โน่นนี่นั่นเรื่อยเปื่อย การรู้สึกตัวจะหายไป ไม่รู้ใจที่ถูกอารมณ์ปรุงแต่ง
- ให้อารมณ์มากระทบก่อน แล้วตามรู้ คือ
- กลิ่น มากระทบ จมูก -> รู้...ชอบ/ไม่ชอบ -> รู้
- รส มากระทบ ลิ้น -> รู้...อร่อย/ไม่อร่อย -> รู้
- ในขณะเดียวกัน ให้สังเกตอิริยาบถ ‘นั่ง’ ด้วย
- นั่งอยู่ -> รู้ ‘อาการนั่ง’ ไหม และ
- รู้กลิ่น_ที่มากระทบจมูก ‘ขณะนั่ง’ หรือไม่
- รู้รส_ที่มากระทบลิ้น ‘ขณะนั่ง’ หรือไม่
- รู้เสียง_ที่มากระทบหู ‘ขณะนั่ง’ หรือไม่
- รู้รูป_ที่มากระทบตา ‘ขณะนั่ง’ หรือไม่
- การรับรู้มี 2 อย่าง คือ
- ให้จิตวิ่งเข้า-วิ่งออก -> ไปรู้
- ตั้งรับ ให้อารมณ์มากระทบก่อน -> แล้วรู้
- การรับรู้ขณะรับประทานอาหาร : เราเพียงแต่ ตั้งรับ ไม่วิ่งไปรู้
- นั่งอยู่ -> รู้ ‘อาการนั่ง’ ไหม และ
เพราะถ้าวิ่งไปรู้ -> เป็นการทำให้จิตทำงาน ดังนั้นให้อารมณ์มากระทบก่อน แล้วจึงรู้
- เพราะฉะนั้น ขณะรับประทานอาหาร ก็สามารถ เจริญกรรมฐาน ได้ด้วย.
วิธีฝึกภาวนา ‘หลัง’ รับประทานอาหาร :
สิ่งที่จะเจอหลังรับประทานอาหาร คือ ‘ความง่วง’ ให้เตรียมตัวให้พร้อม
- สาเหตุของความง่วง ได้แก่
- กินข้าวอิ่ม ไฟธาตุมาเลี้ยงที่ ‘กระเพาะอาหาร’ มากกว่าไปเลี้ยงที่ ‘สมอง’ ทำให้ง่วง
- ร่างกายต้องการ ‘การพักผ่อน’
- ลักษณะของความง่วง มีที่มาคือ
- มาจากร่างกาย : ที่กินอาหารอิ่ม แล้วต้องการการย่อยที่อาศัยธาตุไฟมาทำงานที่ท้อง เพื่อช่วยย่อยอาหาร มากกว่าไปที่สมอง ทำให้ง่วง
- มาจากใจ : ที่จดจ่ออยู่กับการสร้างจังหวะ หรือการก้าวเดิน มากเกินไป
- วิธีแก้ไข มีดังนี้
- ฝึกรู้ตัวทั่วพร้อม : นั่ง -> รู้ว่านั่ง, กระพริบตา -> รู้ว่ากระพริบตา, หายใจ -> รู้ว่าหายใจ, ร้อน -> รู้ว่าร้อน, เย็น -> รู้ว่าเย็น, ไหว -> รู้ว่าไหว ; พยายามไม่เอาจิตมาจดจ่อที่มือหรือเท้ามากเกินไป เพราะจะไม่มีความคิด แล้วความง่วงจะเข้ามาแทนที่
- การรับรู้ : ให้ ‘รู้สั้นๆ’ ไม่ประคอง แค่ ‘รู้’
- เมื่อง่วงแล้ว ให้สังเกต ‘จิต ว่ามีท่าทีอย่างไร
- ‘สมยอม’ (มองหาที่พักหลบนอน หรือที่พิงหลังเพื่อนอน) -> ให้ ‘ใช้ตัวช่วย’ โดยการเปลี่ยนอิริยาบถ อย่าให้ ‘กาย’ เอื้อต่อการง่วง เช่น ยืนสร้างจังหวะ หรือยืนขาเดียว เป็นต้น
- ‘เป็นศัตรู’ (ต่อสู้ ขัดขืน) -> อย่าปฏิเสธอาการง่วง
- ‘เป็นครู’ (ศึกษาและสังเกต) -> ให้ใช้ท่าทีนี้ ศึกษาและสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นในร่างกาย
ให้ตั้งสติเรียนรู้พฤติกรรมว่าจะทำอะไร โดยที่เราไม่สมยอม ไม่ปฏิเสธ เพียงศึกษาให้มาก แล้วจิตจะเรียนรู้เอง.
ช่วงนาทีของเนื้อหา :
00:22 ภาวนาระหว่างทานอาหาร ช่วงนาทีที่ 05:41 เสียงเงียบ .. เป็นช่วงพักไปทานอาหาร
07:17 ว่าด้วยเรื่องความง่วงหลังอาหาร
09:34 รู้ตัวทั่วพร้อม
13:08 ท่าทีต่อความง่วง
15:48 อย่าให้กายมันเอื้อต่ออาการง่วง
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม" วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เช้า ณ บ้านจิตสบาย
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.