Episodes
Tuesday Jan 05, 2021
วันที่3_11 หัดอยู่กับมัน ไม่หนี ไม่สู้ พจ.กระสินธุ์ 141063
Tuesday Jan 05, 2021
Tuesday Jan 05, 2021
เนื้อหาย่อ :
- เรื่องการฝึกฝน ถ้าไม่มีอุปสรรค สติปัญญาจะไม่เกิด ‘การฟัง’ เป็นแค่การชี้บอก ต้องไป ‘ฝึกจริง’ จึงจะเจอเหตุการณ์จริง ว่าเป็นอย่างไร ง่วงกี่ครั้ง แพ้กี่ครั้ง ยอมไหม สู้ไหม หรือหนี ถ้าเรา ฝึกดูแลตัวเอง จริงๆ ให้เหมือน การดูแลลูก เราจะมีวิธีรับมือกับเขาว่า เมื่อไหร่ที่เขาดื้อเราควรจะทำอย่างไร
- สังเกตไหมว่า เวลาเด็ก ๆ ทะเลาะกัน ตีกัน แย่งของกัน เพียงสักครู่เขาก็เล่นกันต่อ ลืมภาวะที่ทะเลาะกันก่อนหน้า เหมือนไม่มีอะไร แต่สำหรับผู้ใหญ่ มีสิ่งปรุงแต่งจิตเยอะ ใจแบกภาระมาก โกรธแล้ว หายยาก
- ไม่ว่าจะดูแลลูก หรือดูแลตัวเอง ให้เพียงแต่ ‘ดูแล-ไม่ยึดถือ’ ให้ฝึกเพียง ‘เป็นผู้ดูแล’ มีกาย มีลูก มีรถ มีสิ่งของ -> ก็ดูแล ‘ตามหน้าที่’ ที่ควรทำ ทำให้ดีแต่ไม่ยึดถือ เพราะหากยึด เวลาเขาเป็นอะไร เราก็จะเป็นไปด้วย
- การเหลือบดูนาฬิกา เคยถามตนเองหรือไม่ว่า ‘ดูทำไม’
o รู้จัก ‘เวลาจริง’ กับ ‘เวลาสมมุติ’ ไหม : เวลาสมมุติ คือ 1, 2, 3 หรือ 4 นาฬิกา แต่เวลาจริง มีอยู่แค่ ‘ขณะเดียว’ เท่านั้น => คือ ‘ขณะที่มีสิ่งมากระทบ’ กับเรา
- กระบวนการเรียนรู้ ให้เข้าใจวิธี ‘การวางจิต’ ให้เข้าใจว่าหัวใจของการทำงาน คือ ‘การทำ’ ส่วนหัวใจของการวางก็คือ ‘เลิกทำ’
- เมื่อปฏิบัติธรรมมากเข้า จะเข้าใจหลักของธรรมชาติที่ตรงข้ามกัน ‘ร่างกายต้องเคลื่อนไหว จิตใจต้องหยุดนิ่ง’ หากทำกลับกัน ให้ ‘ร่างกายหยุดนิ่ง จิตเคลื่อนไหว’ -> เป็นการผิดหลักธรรมชาติ ‘จะเกิดโรค เกิดป่วย’ ตามมา หากจิตเคลื่อนไหวมาก วิ่งตามอารมณ์ วิ่งตามการปรุงแต่ง ‘ใจจะไม่มีกำลัง’ เมื่อจะวาง ทำได้ยาก ดังนั้นต้องหัดฝึกใจให้นิ่ง
- ‘นิ่งนี้’ หมายถึง ‘แค่รู้’ ก็พอ ไม่ต้องทำอะไร เพราะฉะนั้นต้องฝึกจิตใจ ให้นิ่งให้มาก ไม่วิ่งไปเกาะโน่น-นี่-นั่น มันจะไม่จบ ให้จิตแค่ ‘รับรู้’ ก็พอแล้ว หากมีการปรุงแต่ง อันไหนที่เป็นกุศล เราก็เอามาใช้ ที่เป็นอกุศล เราก็ปล่อยไป บางเรื่องเฉยๆ ก็ได้ ไม่ยุ่งไปกับมัน เมื่อจิตมีกำลังแล้ว ก็จะสามารถเลือกได้
- วิธีฝึกวางตามที่แนะนำ คือ เบื้องต้นฝึกตัวรับรู้ก่อน รับรู้ทุกเรื่อง จะเป็นอารมณ์ไหนก็รับรู้ ไม่เลือก เปิดใจกว้างๆ เพราะนั่นคือการทำงานของธรรมชาติ
o ตา -> มีไว้รับรู้เรื่องรูป จะเป็นรูปดี หรือไม่ดี แล้วแต่เขา
o กาย -> มีไว้รับรู้ เย็น ร้อน ปวด เมื่อย เดี๋ยวเจ็บโน่น เจ็บนี่ ก็เพียงแต่รับรู้ เห็นเป็นเรื่องปกติ
o ใจ -> มีความอยากไหม ร้อนแล้วอยากเย็น ปวดแล้วอยากหาย ก็เพียงรับรู้ ต้องขอบคุณที่ยังรู้สึกเจ็บ รู้สึกหิว รู้สึกร้อน รู้สึกเย็น -> อย่าขุ่นเคือง เพียงรับรู้
o อารมณ์ทุกอารมณ์ สิ่งที่มากระทบกับเราทุกอย่าง เกิดจากธาตุ 4 ขันธ์ 5 เขาสมบูรณ์แบบในรูปแบบของตัวเขาเองเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปทำอะไรอีก
- เคยสังเกตไหมว่า ทำไมเราไม่กล้าจับไฟ เพราะเราเคยจับ แล้วเรียนรู้มาแล้วว่า การถูกไฟลวกเป็นอย่างไร ใจก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดอารมณ์ที่เป็นทุกข์ บีบคั้นใจมาก เช่นโกรธมาก ให้ฝึกหัดดูเฉยๆ ไม่เข้าไปยุ่งด้วย ไม่สมยอม ไม่ทำตาม แต่ก็ไม่ปฏิเสธ เพียงศึกษาและสังเกต จนมันหายไป ใจเราก็จะสบายขึ้น เพราะฉะนั้นให้ฝึกรู้ใจ เรียนรู้ และคอยดักรับรู้ทุกเรื่อง
- เวลาฝึกภาวนาไปนานๆ อารมณ์คิดเชิงบวกจะมากขึ้น เมื่อฝึกซ้อมการรับรู้มากๆ เข้า หัดศึกษา หัดไม่เป็นไปกับอารมณ์ เพียงรับรู้ ดูลักษณะของมันเท่านั้น ดูกระบวนการทำงานของธาตุขันธ์ ว่าทำงานอย่างไร แยกให้เป็นว่า อารมณ์เป็นอารมณ์ ใจเป็นใจ ธรรมชาติปรุงแต่งเป็นธรรมชาติปรุงแต่ง แตกต่างกัน อย่าคิดว่า เวลาปฏิบัติธรรมแล้วจะต้องเจอแต่อารมณ์ดีๆ มันไม่เป็นอย่างนั้น
- ในเบื้องต้น ให้รับรู้อาการของการปรุงแต่ง ฝึกมากๆ และบ่อยๆ ไว้ก่อน
o รู้->จบ, รู้->จบ, กระทบ->รู้->จบ
o เป็นแค่แวบเดียวหาย รับรู้เพียงแค่นี้ จิตจะสบาย มีสิ่งต่างๆ รอบตัวที่วุ่นวาย แต่ใจกลับนิ่ง_สบาย นี่คือ ‘ใจหยุดนิ่ง’ แล้วใจจะมีกำลัง ‘เห็นอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงเคลื่อนไหว แต่ใจไม่เป็นไปด้วย’
- ดังนั้น ขอให้ตั้งใจ เอาสิ่งที่ดีๆ ที่ชีวิตควรมี ควรได้ ควรเป็น ควรอยู่ อย่าอยู่กับสิ่งที่เราเคยอยู่มาแล้ว แล้วทำให้เป็นทุกข์มาก ให้ตั้งใจทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ จนวันตาย สะสมอุปนิสัยนี้ไปเรื่อยๆ จนใจค่อยๆ มีกำลัง เกิดกำลังขึ้นทุกวัน จะทำให้ชีวิตนี้มีคุณค่า สมกับที่เกิดมาเป็นมนุษย์ได้พบพระพุทธศาสนา เข้าถึงประโยชน์สูงสุดในตัวเองได้.
ช่วงนาทีของเนื้อหา :
03:16 ดูแล กับ ยึดถือ
08:10 ร่างกายต้องเคลื่อนไหว จิตใจต้องหยุดนิ่ง
15:00 หัดดูมัน... ศึกษากับมัน... ไม่เป็นไปด้วยกับมัน
21:32 ฝึกรู้กายแล้วได้อะไร ?
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม" วันที่ 14 ตุลาคม 2563 บ่าย ณ บ้านจิตสบาย
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.