Episodes
Friday Jan 08, 2021
วันที่4_12 ปฏิบัติไปสู่การทำที่ไม่ต้องกระทำ พจ.กระสินธุ์ 151063
Friday Jan 08, 2021
Friday Jan 08, 2021
ส่วนสรุปเนื้อหา
- วันนี้ ให้พวกเราฝึกหัดปฏิบัติ ตามที่ได้บอกเทคนิคต่างๆ ไปแล้ว ‘การฟัง’ จากคำพูด แม้มากมายเป็น ร้อยคำ พันคำ ถึงแสนคำ ก็ไม่สู้ ‘การกระทำ’ เพียงครั้งเดียว
- สิ่งใดที่ได้อ่าน ได้ฟัง ทั้งหมด เป็นเพียง ‘ข้อมูลดิบ’ ต้องนำไปสู่ ‘การปฏิบัติ’ จึงจะได้ ‘ข้อมูลจริง’ เห็นผลจริง และสามารถนำไปใช้ได้จริง
- แต่ การกระทำนี้ ก็ต้องการ ‘คนจริง’ และต้อง ‘ทำจริง’ ไม่เหลาะแหละ จึงจะเห็น ‘ผลจริง’
- ในระบบการศึกษาปกติ เขามีการเรียนการสอน ‘ภาคทฤษฎี’ ก่อน แล้ว ‘ลงมือทำ’ จึง ‘ได้ผล’ การเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา ก็มี ปริยัติ หรือ ทฤษฎี, ปฏิบัติ หรือ ลงมือกระทำ และ ปฏิเวธ หรือ ผลที่ได้รับ เช่นเดียวกัน เพียงใช้คำที่แตกต่างกัน
- หากเข้าใจสิ่งที่ฟังมาภายใน 2-3 วันนี้แล้ว ‘การทำ’ ไม่ใช่เรื่องยากเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ‘การทำที่ไม่ต้องกระทำ’ เพราะฉะนั้นให้ฝึกแบบ "ฝึกการกระทำไปสู่ที่..ไม่ต้องทำ" ไม่ใช่ฝึกแบบ "ฝึกการกระทำไปสู่..การกระทำ ไม่เลิก" ดังนั้นให้ฝึกจิตเป็นเพียงผู้ดู ->ดูอะไร..ดูอารมณ์ทำงาน จนถึงขั้น ‘จิตปล่อยวางอารมณ์เป็น’ มี ‘สติ’ และ ‘อุเบกขา’ เกิดขึ้น
- วิธีการทำมี 2 ขบวนการ คือ
- ทำขึ้น เพื่อฝึกซ้อมการรับรู้
- รับรู้ แบบ ไม่ต้องทำ
- เมื่อฝึกบ่อยๆ จิตจะสามารถบริหารจัดการตนเองเป็น ว่า บางช่วงบางเวลา-ต้องทำขึ้น แต่บางเวลาก็-ไม่ต้องทำ -> เกิดภาวะ ‘ความรู้สึกตัว’ ได้ทั้งสองแบบ และเมื่อ ‘รู้’ แล้ว ก็ ‘ปล่อยไป’
- อธิบายเปรียบเทียบได้กับสีที่ไม่ละลายน้ำ เมื่อนำผสมลงในน้ำแล้ว คนให้เข้ากัน จะทำให้น้ำเป็นสีนั้นๆ ต่อเมื่อตั้งทิ้งไว้นานๆ สีจะตกตะกอนลงนอนก้น ทำให้น้ำใสขึ้น ‘จิต’ เปรียบเสมือนน้ำ เมื่อถูกอารมณ์ หรือสี พัวพันรายล้อมอยู่รอบตัวไปหมด หากเราทำได้ถึงขั้น ฝึกจิตให้สามารถอยู่ท่ามกลางอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่รายล้อมอยู่ได้ นี่เรียกว่า ‘ปฏิเวธ’ คือจิตสามารถอยู่ได้ท่ามกลางอารมณ์แบบไหนก็ได้ โดยที่ไม่เป็นไปตามอารมณ์นั้นๆ
- ต่อไปก็ให้แยกย้ายกันไปภาวนา
รวมตัวกันก่อนไปรับประทานอาหาร :
เมื่อเช้ามี คำถาม ว่า ‘การนั่งภาวนาหลับตา’ ต่างกันอย่างไรกับ ‘การภาวนาแบบเคลื่อนไหวลืมตา’ นี้
ตอบ ได้ว่า : ต่างกันที่ ‘วิธีการ’ เท่านั้น ส่วน ‘เป้าหมาย’ ไม่ต่างกัน เพราะ คือการฝึกหัดสร้าง ‘สติ สัมปชัญญะ’ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน แต่ ‘การสร้างจังหวะ’ เป็นการกระตุ้น ‘ความรู้สึกตัว’ ได้ง่ายกว่า และเอื้อต่อการภาวนาในชีวิตประจำวัน ที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ได้ดีกว่า
- ที่จริงจะเป็นการเคลื่อนไหวแบบไหนก็ได้ จะยืน เดิน นั่ง หรือนอนก็ได้ หรือจะจัดแจงท่าใหม่ เทคนิคใดๆ ขึ้นมาเองก็ได้ หากสามารถทำให้ ‘ความรู้สึกตัว’ เกิดได้อย่างต่อเนื่อง ก็ใช้ได้ทั้งนั้น
- เดี๋ยวพวกเราไปกินข้าว ก็สามารถหัดภาวนาไปด้วยได้ ตักอาหาร อ้าปาก เคี้ยวอาหาร วางช้อน พลิกมือ วางมือ เป็นต้น ใหม่ๆ จิตจะวิ่งตามอารมณ์ คำสั่งในหัวสมองที่มีเยอะมาก ให้ฝึกฝืน ไม่ทำเร็วๆ ไม่กินตามคำสั่งของตัณหา แต่ให้เกิดสติ รู้สึกตัว ฝึกดูพฤติกรรมการกินอาหารของตนเอง ให้ค่อยๆ ฝึกไป ฝึกเล่นๆ ‘อยู่กับวิถีชีวิตที่ตื่นรู้’ อย่าอยู่กับความคิด – รับรู้ทางจมูกบ้าง รับรู้ทางลิ้นบ้าง รับรู้ทางกายบ้าง - ว่าเป็นอย่างไร -> เป็นเพียง ‘ผู้ดู-ผู้รู้’ อย่าเป็น ‘ผู้เป็น’
- ให้ฝึกไปก่อน ฝึกมากๆ แล้วจะพบว่า คำถามต่างๆ จะค่อยๆ ลดน้อยลง.
ช่วงนาทีของเนื้อหา : 01:03 ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ 05:46 ขบวนการทำขึ้น และไม่ได้ทำขึ้น 12:22 เงียบเสียง พอจ.ให้แยกกันไปภาวนา 12:28 มารวมตัวกัน ก่อนจะไปทานอาหาร
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม" วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เช้า ณ บ้านจิตสบาย
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.