Episodes
Monday Jan 11, 2021
วันที่4_13 หัดใจให้เห็นกาย พจ.กระสินธุ์ 151063
Monday Jan 11, 2021
Monday Jan 11, 2021
เราจะใช้เวลาที่เหลือสั้นๆ นี้ ฝึกกันต่อ เพื่อสามารถนำเทคนิคเบื้องต้นนี้ ไปฝึกต่อที่บ้านได้ ให้มี ‘ภาวะการตื่นรู้’ เข็มแข็งขึ้น
สำหรับคนที่ภาวะของการตื่นรู้ยังไม่เข้มแข็ง ให้ใช้เทคนิคที่ว่า เวลามีอารมณ์ใดเกิดขึ้น ไม่เอา ‘กาย วาจา ใจ’ เข้าไปร่วม เพราะจะทำให้อารมณ์นั้นมีกำลังมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ‘อารมณ์โกรธ’ หรือ ‘อารมณ์ไม่ชอบใจ’ ใดๆ เมื่อเกิดขึ้น ให้สังเกตว่า ‘ความโกรธกับความคิด’ ไม่ใช่อันเดียวกัน, ‘ความไม่ชอบใจกับความคิด’ ก็ไม่ใช่อันเดียวกัน
- โกรธ -> เป็นอารมณ์ลักษณะหนึ่ง
- ความคิด -> ก็เป็นอารมณ์ลักษณะหนึ่ง
- ความไม่ชอบใจ ->ก็เป็นอารมณ์อีกลักษณะหนึ่ง
เมื่อโกรธเกิดขึ้น เราเอาความคิด(มโนกรรม)เข้าร่วม แล้วมีคำพูด(วจีกรรม)เปล่งออกไปร่วมด้วย หรือบางครั้งมีการกระทำ(กายกรรม)เสริมด้วย ทั้งหมดจะเพิ่มกำลังของอารมณ์โกรธให้มีมากขึ้น ‘หากตามสังเกตเป็น’จะพบว่า ‘สิ่งที่มาเสริมให้อารมณ์มีกำลังมากขึ้น’ ก็คือ ‘กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม’
เคยโกรธแบบไม่มีความคิดบ้างไหม หากเคย จะเห็นว่า ความโกรธที่เกิดขึ้น ก็เป็นความโกรธธรรมดาๆ ไม่มีกำลังเพิ่มขึ้น ซักพักก็หายไป แต่เมื่อคิด การแสดงออกของความคิดมี 2 ลักษณะ คือ 1) มีภาพในหัว และ 2) มีคำพูดในหัว ซึ่งทั้งสองเป็นความคิดชนิดหนึ่งที่เอาภาพจากอดีต หรือเหตุการณ์ในอดีตมาร่วม มาปรุงต่อ ทำให้ความโกรธแบบธรรมดาๆ กลายเป็นความโกรธที่รุนแรง มีกำลังเพิ่มขึ้น
การที่จะฝึกให้ภาวะของการตื่นรู้เข้มแข็งขึ้นได้นั้น ให้ ‘ฝึกใจให้รู้กาย’ หรือ ‘หัดใจให้เห็นกาย’ รวมทั้ง ‘เห็นสิ่งปรุงแต่งกาย’ ด้วย โดยยึดหลักดังนี้
- ‘กายนำ ใจตาม คำพูดช่วย’
- กายนำ -> หมายถึง นั่งสร้างจังหวะ หรือ ยืนสร้างจังหวะ หรือ เดินจงกรม
- ใจตาม -> หมายถึง เอาจิตมารับรู้การกระทำของร่างกาย รับรู้ ‘อาการ’ ของการ ยืน เดิน นั่ง ซึ่งเป็นอิริยาบถใหญ่นี้ก่อน แล้วจะ ‘เห็นสิ่งปรุงแต่งกาย’ เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง หย่อน ไหว กระพริบตา หายใจ มีความคิด ตามมา
- คำพูดช่วย -> หมายถึง เตือนตนเอง ในรูปความคิดที่คุยกับตนเอง หรือคำพูดในหัว
พยายามรับรู้ให้ชัด ‘หัดรับรู้’ ‘หัดดู’ ‘ดูให้เป็น’ ให้เห็น ‘อาการ’ ต่างๆ ‘บนพื้นฐานที่เกิดขึ้นจริงๆ’ อย่าอยู่บนพื้นฐานของจินตนาการ
หากฝึกได้จนคล่องแล้ว ที่นี้ไม่ว่าจะหลับตา ลืมตา ทำงานอยู่ หรือ นั่งเฉยๆ ก็สามารถมี ‘ภาวะความรู้สึกตัว’ เกิดขึ้นได้ ซึ่งทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส ทุกขณะ ไม่ว่าจะทำอะไร อยู่ที่ไหน ก็ตาม.
ช่วงนาทีของเนื้อหา :
01:31 สิ่งที่ทำให้อารมณ์มีกำลังเพิ่มขึ้น 05:04 ความโกรธ กับ ความคิด 07:21 ฝึกเอามโนมารู้สึกกับอาการกาย
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม" วันที่ 15 ตุลาคม 2563 บ่าย ณ บ้านจิตสบาย
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.