Episodes
Saturday Dec 05, 2020
วันที่1_01 ฝึกรู้กาย พจ.กระสินธุ์ 121063
Saturday Dec 05, 2020
Saturday Dec 05, 2020
- วิธีการเรียนรู้ : ในแต่ละวันมี 3 ขั้นตอน คือ 1. ฟัง 2. ปฏิบัติ และ 3. ถาม-ตอบปัญหา
- เนื้อหาการเรียนรู้ : ตลอดคอร์ส 4 วันนี้จะมีการเรียนรู้อยู่ 3 อย่าง คือ 1. ฝึกรู้ 2. ฝึกออกและฝึกฝืน และ 3. ฝึกวาง
- การฝึกรู้ : เบื้องต้นต้องรู้ก่อนว่า จะฝึกรู้อะไร ทำอย่างไร และเพื่ออะไร
- สิ่งที่ฝึกรู้ : มี 3 อย่างดังนี้ 1. กาย 2. สิ่งปรุงแต่งกาย 3. ภาวะรับรู้
- กาย หมายถึงสรีรร่างกาย ได้แก่ อวัยวะ 32 ประการ อาทิเช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กระดูก เอ็น เป็นต้น
- สิ่งปรุงแต่งกาย หมายถึงความรู้สึก เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ไหว และอาการ เดิน ยืน นั่ง นอน คู้ เหยียด ปวด เจ็บ เมื่อย เพลีย ง่วง เบื่อ หงุดหงิด ดีใจ เสียใจ ฯลฯ
- ภาวะรับรู้ หมายถึง ภาวะรู้สึกตัว ณ ขณะปัจจุบันของกายและสิ่งปรุงแต่งกาย ที่กำลังเป็นอยู่ ไม่มีในอดีต ไม่มีในอนาคต มีเฉพาะ ตรงนี้ ที่นี่ และเดี๋ยวนี้
- ลักษณะวิธีการฝึก : มี 2 ลักษณะ คือ
- สร้างขึ้นมาก่อนแล้วรู้ ได้แก่ การยกมือ 14 จังหวะ
- ปล่อยให้เกิดเองตามธรรมชาติแล้วรู้ เช่น การกระพริบตา
- วิธีฝึก - ใช้ทั้งสองลักษณะประกอบกัน โดยเอาปัจจุบันเป็นหลัก อะไรมากระทบ -> รู้
รู้ให้บ่อย รู้ให้เยอะ รู้ตามที่มันเป็นจริง ไม่ใช่ตามที่เราอยากให้มันเป็น โดยไม่ใช้ความคิด ไม่ไหลไปตามความคิด ใช้การสังเกต ‘เพียงแค่รู้’ ไม่เข้าไปจัดการ หรือทำอะไร ใดๆ ทั้งสิ้นอารมณ์ปัจจุบัน คือ อารมณ์ที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา กระทบแล้วหาย ๆ
การฝึกรับรู้ที่ง่ายและเร็ว คือ การสร้างสิ่งรับรู้ก่อน เช่น ยกมือสร้างจังหวะก่อน แล้วรู้อาการเคลื่อนไหวนั้น หากมีความคิดเกิดก็เพียงรับรู้ ไม่ห้ามเขา ไม่บังคับเขา ปล่อยเขาเป็นไป เราเพียงแต่ถอยออกมาเป็นผู้รับรู้ เท่านั้น
สิ่งที่ไม่ต้องฝึก คือ กายและสิ่งปรุงแต่งกาย เขาเป็นธรรมชาติ มีอยู่แล้ว เกิดเองดับเอง
สิ่งที่ต้องฝึก คือ ‘สภาวะรับรู้’ รับรู้ทั้งฝ่าย ‘รูป’ และฝ่าย ‘นาม’
ให้ใช้ทั้งกายกรรม วจีกรรม(ภายใน) และมโนกรรม มาช่วย เพื่อส่งเสริมให้การรับรู้เข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กายกรรม(สร้างจังหวะ) และมโนกรรม(ความตั้งใจมั่นในการฝึก) ส่วนวจีกรรม(เตือนตนเอง)ให้นำมาเสริมการรับรู้โดยใช้เฉพาะตอนเริ่มต้น
หากอุปมาร่างกายเป็นจาน ซึ่งมีอยู่ 6 ใบ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) ส่วนอาหาร ที่มาเสริฟในจานนั้นก็คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ และ ภาวะรับรู้ คือการรับรู้รสชาดของอาหารและรับรู้ร่างกายหรือผู้กินอาหารนั้นด้วย โดยเห็นว่าทั้งสองสิ่งไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับ เป็นขณะๆ ไป เช่นเดียวกับภาวะรับรู้ ก็จะเกิดขึ้นและดับเป็นขณะๆ เช่นเดียวกัน
การฝึกรู้ เป็นการรับรู้แบบสั้นๆ ให้ฝึกทำบ่อยๆ กับทุกจานของร่างกายเมื่อมีสิ่งมากระทบหรือเกิดขึ้น เมื่อรู้บ่อยๆ เนืองๆ การรับรู้จะมีกำลัง
- ฝึกเพื่ออะไร : เป้าหมายของการฝึกภาวะรับรู้ คือ ให้ภาวะการรับรู้เข้มแข็งและมีพลังมากขึ้น เพื่อการตื่นรู้ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ ให้เกิดปัญญาเข้าใจได้ว่า ทั้งตัวกาย สิ่งปรุงแต่งกาย และภาวะรับรู้ทั้งหมดไม่ใช่เรา เป็นเพียงสภาวะตามธรรมชาติ ที่ไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วดับ เกิดขึ้นแล้วดับ อยู่ทุกขณะ
- ใจที่ไม่ได้ฝึก : จะหลงยึดกายเป็น ‘เรา’ และไหลไปกับสิ่งปรุงแต่งกาย ทำให้เกิดความวิตกกังวล เกิดความกลัว หากมีกำลังมากก็จะทำให้เครียดเป็นทุกข์มาก.
ช่วงนาทีของเนื้อหา :
01:23 แนะนำหลักสูตรคอร์สนี้
04:33 มารู้จักกับสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุด
06:48 รู้จักกับภาวะของความรู้สึกตัว
12:50 กาย กับ สิ่งที่ปรุงแต่งกาย
21:17 ฝึกตัวรับรู้กาย และตัวที่ปรุงแต่งกาย
26:20 ใจที่ไม่ได้ฝึก
28:29 ทุกข์ต้องกำหนดรู้
32:29 สิ่งที่ต้องฝึก กับ สิ่งที่ไม่ต้องฝึก
36:12 จานรองรับ กับ อาหารที่มาเสิร์ฟ
44:37 ขบวนการฝึกตัวรับรู้ 2 ลักษณะ
51:41 วิธีการฝึกภาวะรับรู้
59:02 เรียนรู้ตามที่มันเป็น
01:01:27 อารมณ์ปัจจุบัน
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม" วันที่ 12 ตุลาคม 2563 เช้า ณ บ้านจิตสบาย
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.