Episodes
Wednesday Oct 21, 2020
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม พจ.โน้ส 011063
Wednesday Oct 21, 2020
Wednesday Oct 21, 2020
ธรรมเทศนาโดย พอจ. สุทธิศาสตร์ ปัญญาปทีโป (พอจ.โน้ส)
1 ตุลาคม 2563 ณ ห้องฟังธรรมออนไลน์
เวลา 01:33
คำถาม: คำถามที่ 1 มันจะเป็นเหมือนกับ 3 คำถาม แต่เป็นเรื่องเดียวกัน ท่านนี้ถามว่า คำว่าสติอัตโนมัติหมายความว่าอย่างไร และทำอย่างไรจึงจะมีสติอัตโนมัติ และบุคคลธรรมดาทั่วไปแบบเรา ๆ นี่นะคะ มีโอกาสที่จะมีสติอัตโนมัติได้ไหม หรือว่าสติอัตโนมัตินี้ จะเกิดขึ้นได้เฉพาะพระอริยเจ้าเท่านั้น กราบนิมนต์พระอาจารย์เจ้าค่ะ
พระอาจารย์สุทธิศาสตร์ ตอบ:
เจริญพร เป็นคำถามที่ดีเนาะ สติอัตโนมัติ อาตมาว่าคนที่ปฏิบัติระดับหนึ่งนะ แล้วก็รู้ตัวว่ายังไม่ได้เป็นอริยะเจ้า แต่ก็น่าจะเคยเกิดสภาวะสติอัตโนมัติ
คือสติอัตโนมัติจริง ๆ คือแค่เป็นสติที่มันเกิดของมันเอง เกิดของมันเอง แต่ความต่อเนื่องของคำว่าอัตโนมัติ มันจะนานขนาดไหน บางคนอาจจะเป็นวันสองวัน บางคนอาจจะเป็นครึ่งวันนะ มันอาจจะแตกต่างกัน สติอัตโนมัติก็คือสติที่มันเกิดของมันเอง แต่ความต่อเนื่องของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน อันนี้ในระดับปุถุชนหรือระดับพระอริยะก็สามารถมีได้เหมือนกัน แต่ความนานมันต่างกัน
แต่ตัวปัญญาต่างกันนะระหว่างปุถุชนกับพระอริยะ แต่การรู้ตัวเนี่ย มันมีสามารถมีได้เรื่อย ๆ บางคนมีแม้กระทั่งตอนนอนก็เป็นไปได้ สติเป็นอัตโนมัติ
สติเป็นอัตโนมัติจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ที่จริงถ้าเราเข้าใจว่าสติคือการระลึกได้ การที่เราคอยหมั่นที่จะระลึกรู้กายรู้ใจตัวเองบ่อย ๆ นี่แหละ เมื่อระลึกรู้บ่อย ๆ ตอนนี้ สติมันเกิดของมันเอง มันคล้าย ๆ คล้าย ๆเหมือนเราสนใจอะไรสักอย่าง เมื่อเราสนใจสิ่งนั้นบ่อย ๆ จิตเขา จดจำหรือว่าเขาระลึกที่จะเห็นสิ่งนั้นเอง
เอาง่าย ๆ สมมุติถ้าเปรียบเทียบแบบ แบบทางโลกก็ได้ เช่นเวลาบางคนสนใจ เช่น ดูต้นพยุง สมมติหรือต้นไม้ ดอกไม้อะไรก็แล้วแต่ เราสนใจสิ่งนั้น เราเดินไป เรานั่งรถไป ตาก็จะมองสิ่งนั้น หรือบางคนชอบดูนกอย่างนี้ ถ้าเราแบบคนไม่ชอบดูนกก็อาจจะเห็นผ่าน ๆ ไม่ได้สนใจมาก เห็น1-2 ตัว แต่คนชอบดูนก เดินไปก็เห็นนกนั่นนกนี่ เห็นได้ยินเสียงนกอยู่ตรงนั้น ตรงนี้
คือเวลาเราสนใจอะไร จิตมันก็จะไปรับรู้ ไปเห็นสิ่งนั้นบ่อย ๆ
ฉะนั้นเวลาเราสนใจดูกายดูใจตัวเองบ่อย ๆ หมั่นระลึกรู้อย่างนี้บ่อย ๆ ต่อไปจิตเขาไปเห็นไปรู้ เลยเป็นอัตโนมัติของมันเอง เนี่ย คือเหตุ เหตุที่จะทำให้เกิดสติอัตโนมัติ ก็คือการที่เราหมั่นคลอเคลีย หมั่นกลับมาดูกายดูใจของตัวเองบ่อย ๆ แล้วต่อไปจิตเขา เขาเกิดการดูของเขาเอง เนี่ย คือ มันก็เกิดการรู้ของมันเอง แล้วก็
แต่สติอัตโนมัติกับสติที่ เหมือนตอนแรกที่เราพยายามจะสร้าง มันอาจจะมีน้ำหนักต่างกัน คือบางทีเรา ตอนแรกเรามีความเจตนา มีความจงใจที่จะรู้เนาะ เพราะว่า อันนี้ก็สำคัญเหมือนกัน บางทีใหม่ ๆ ถ้าไม่มีเจตนาเลย ก็ลืมไปสัก 90% รู้ตัวไม่ถึง 10%
ฉะนั้นเจตนามันก็อาจจะทำให้ค่อย ๆ กลับมารู้มากขึ้นหน่อย รู้ครึ่งหนึ่ง หลงครึ่งหนึ่งก็ยังดี แต่พอเรามีการกำหนดรู้อย่างนี้บ่อย ๆ ต่อไปสติมัน มันเคยชินในการที่จะเห็นกายเห็นใจตัวเองบ่อย ๆ ต่อไปก็คือการไม่ได้เจตนา คล้าย ๆ สติตอนแรกมันมีความจงใจ มันก็จะมีน้ำหนัก มีความจงใจที่จะทำ ก็มีน้ำหนักขึ้นมา แต่สติอัตโนมัติเนี่ย ไม่มีน้ำหนักเลย ไม่มีน้ำหนัก มันรู้ตัวแบบเป็นธรรมชาติ แล้วก็รู้แบบเบา ๆ แต่ก็อย่าไปติดเบานะ หมายถึงว่าไม่ใช่ว่าเราต้องพยายามทำให้มันเบา แต่มันเหมือนรู้แบบเห็น เห็นไปแบบไม่ได้จงใจที่จะต้องเห็น แล้วก็ไม่ได้มีเจตนาจะเห็น อันนี้คือสติอัตโนมัติ ซึ่ง
เราก็สรุปว่า คือเราหมั่นฝึกที่จะรู้ตัวบ่อย ๆ แล้วต่อไปการรู้ตัวมันจะเกิดของมันเอง แล้วก็มันจะเป็นแบบ รู้แบบง่าย ๆ รู้แบบเบา ๆ
แต่ก็ต้องยอมรับมันว่า บางทีมันเสื่อมได้ สติอัตโนมัติไม่ใช่ว่าจะต้องแบบ เกิดตลอดเวลา บางคนตกใจ เช่นแบบ เอ๊อะ วันนี้เราปฏิบัติดีมาก รู้ตัวแบบเยอะมาก วันรุ่งขึ้นนี่อาจจะ เหมือนคนปฏิบัติไม่เป็นเลยก็มีนะ อย่าตกใจนะ ที่จริง ถ้าเกิดเจอสภาวะแบบนี้ เราจะ เอ๊ะ มัน วันนี้เราปฏิบัติดี ทำไมตอนค่ำปฏิบัติไม่ดีเลย บางทีเราตกใจ แต่ที่จริงแล้ว ให้เห็นว่า สติเองมันก็เป็นสิ่งที่บังคับไม่ได้ บางทีมันอัตโนมัติ รู้ตลอดเวลาเนี่ย แต่บางทีก็แบบ เหมือนจะรู้สึกตัวไม่เป็นเลยก็มีนะ อย่าไปตกใจ เราก็ทำเหตุของเราใหม่ เพราะว่าเราไม่สามารถบังคับสติให้มันเกิดขึ้นได้ แต่เราแค่สร้างเหตุของการเกิดสติ โดยการหมั่นรู้กายรู้ใจบ่อย ๆ เป็น
แล้วก็อย่างที่พูดว่า ถ้าเรารู้เท่าทันว่า มันมีเจตนาจงใจมากน้อยขนาดไหน ถ้าเราค่อย ๆ ผ่อนเจตนาตรงนั้น การรู้สึกตัวมันก็จะเป็นธรรมชาติมากขึ้น แล้วก็ต่อไปมันก็จะเกิดอาการรู้ของมันเอง ซึ่ง
แต่อันนี้เป็นแค่สติอัตโนมัตินะ แต่ที่จริงหลักสำคัญ คือการเห็นสติ แล้วก็การเห็นธรรมะของสภาวธรรมทั้งหลาย สำคัญกว่าสติอัตโนมัตินะ คือเห็นธรรมะ เห็นอาการเกิดดับ เห็นความคิด เห็นอาการที่มันบังคับไม่ได้ ทั้งสติ แล้วก็กิเลส อันนี้สำคัญนะ คือบางทีเราคิดว่าเราปฏิบัติ แล้วเราจะบังคับสติให้มันเกิดตลอดเวลา พอสติมันหายไป เรารู้สึกเสียใจ ทำไมเมื่อวานปฏิบัติดี วันนี้ปฏิบัติไม่ดี เราเสียใจ แต่ที่จริง ถ้ามองว่า โอ๊ะ นี่แหละ เขาแสดงความจริงว่าให้เห็นว่า สติเองมันก็ไม่เที่ยง สติเองก็บังคับไม่ได้ บางทีก็เป็นอัตโนมัติ บางทีก็แบบ นาน ๆ มาทีก็มีนะ แต่ก็อย่าไปตกใจมัน ให้เห็นว่ามันเป็นธรรมดา
ที่จริงสำคัญ คือ ใจเราเป็นกลางกับสภาวะ อันนี้สำคัญ คือบางทีสติอัตโนมัติมันดีนะ บางทีเราดีใจ มันเบา เราพอใจอยู่นะ อันนี้ก็อาจจะรู้ตัว ว่ากายทำอะไร หรือรู้ว่าเบา แต่ถ้าเราไม่รู้ตัวว่าใจเราไปพอใจ อันนี้ก็เป็นการหลงแบบหนึ่ง แต่ถ้า เวลามันแบบ เกิดความเบื่อขึ้นมา ฝืนปฏิบัติแล้วมันหนัก แต่ใจเราก็เป็นกลางกับสภาวะนี้ เออ รู้ว่ามันหนัก ไม่เป็นไร ก็ปฏิบัติต่อ หนักก็รู้ เบาก็รู้ ใจเป็นกลางกับสภาวะ อันนี้ดีกว่านะ สำหรับผมหรืออาตมามองว่าที่จริง ใจเป็นกลางกับสภาวะ แม้ดีหรือไม่ดี หรือหนักหรือเบา อัตโนมัติหรือไม่อัตโนมัติ ก็ไม่เป็นไร ใจเราเป็นกลางกับพวกนี้ได้ ตรงนี้สำคัญกว่า อันนี้เพิ่มเติมคำถาม นอกจากสติอัตโนมัตินะครับ
เวลา 09:55
คำถาม
ท่านนี้ถามว่า ถ้าจะวัดความภาวนาว่ามันก้าวหน้าหรือไม่ เราวัดจากสติอัตโนมัติเป็นหลักใหญ่ใช่หรือไม่
พระอาจารย์สุทธิศาสตร์ ตอบ:
อันนั้นไม่ใช่หลักใหญ่ สติอัตโนมัติก็อาจจะเป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่ง ก็อย่างที่ว่ามันไม่เที่ยงหรือมันกำหนดไม่ได้ ว่า ผู้ที่มีสติอัตโนมัติดีกว่าผู้ที่ไม่มีสติอัตโนมัติ แต่อาตมาว่า หลักใหญ่ที่สำคัญกว่าคือใจเป็นกลางกับสภาวะธรรม คือเป็นกลางกับ กับทั้งความหลงแล้วก็ความรู้ กุศลหรืออกุศล นี่คือ ความเป็นกลางเนี่ย สำคัญกว่า
บางทีถ้าเราไม่รู้ตัว เราก็จะหลงไปกับความรู้ หลงไปกับความเบา หลงไปกับอารมณ์ที่มันกำลังมีสติ อันนี้ก็เป็นความหลง หรือบางทีเราก็ไปหลง เอ๊ะ ทำไมวันนี้มันไม่ดี วันนี้มันฟุ้งซ่าน แต่ที่จริงนะ ถ้าเราแค่รู้ เออ มันฟุ้งซ่าน ก็แค่รู้ว่ามันฟุ้งซ่าน ไม่อยากไปวิตกกังวลกับมันมาก ก็รู้มัน มันก็ ก็เนี่ยตรงนี้ดีกว่า
คือความเป็นกลางของจิตต่ออารมณ์ต่าง ๆ มันสำคัญกว่าการที่จะมีสติเป็นอัตโนมัติหรือไม่มีสติเป็นอัตโนมัติ ตอบแล้ว
เวลา 11:44
คำถาม
กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ ก็ยังคงเป็นท่านเดิมเพราะมี 3 คำถาม เขาบอกว่า สำหรับโยมเอง สติอัตโนมัติยังไม่มี แต่มีผลจากการปฏิบัติคือ เมื่อมีการกระทบที่จิตหนักกว่าปกติ โดยเฉพาะเมื่อเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ ยากลำบาก หรือกับคน เหมือนจะมีสติชัด เกิดความเข้าใจ แล้วก็ยอมรับเหตุการณ์ปัจจุบันง่ายขึ้น ยอมรับผู้อื่น โดยย้อนมาเห็นตัวเองว่าไม่แตกต่างกัน ในช่วงวินาทีเกิดการยอมรับขึ้น วางได้อย่างรวดเร็วขึ้น ทุกข์น้อยลง อยู่กับทุกข์ด้วยการมองมันเฉย ๆ ไม่มากขึ้น อย่างไม่ทุรนทุราย
โยมวิเคราะห์ตัวเองนะคะว่า เหมือนจะก้าวหน้า แต่ก็เหมือนไม่ไปไหน เพราะสติยังอ่อน เผลอ จม หลุดอยู่ วนเวียนไปมา โดยเฉพาะเผลอกับจมจะยาวมาก ก็ขอพระอาจารย์เมตตาชี้แนะด้วยเจ้าค่ะ
พระอาจารย์สุทธิศาสตร์ ตอบ:
โยมทำดูแล้วก็เหมือนคล้าย ๆว่า บางทีเราก็ มันก็คงได้ผลบ้างเนาะ ได้ผลบ้างตอนที่เราเจออารมณ์กระทบแล้วมันไม่ทุกข์มากกว่าเก่า ซึ่งมันก็ดีแล้ว มันก็เป็น เป็นอานิสงส์ของการฝึกระดับหนึ่ง แต่ก็อย่างว่า ถ้าเวลาปกติหรืออะไรมันก็มักจะเกิด ตัวหลงไปกับอารมณ์ ความคิด ซึ่งก็
ก็อาจจะได้อานิสงส์การปฏิบัติบ้าง เวลาเรากระทบอารมณ์ต่าง ๆ
แต่คราวนี้เราก็ต้องทนหมั่นฝึกต่อ ในการที่รู้ทันความหลง ความเพลิน บ่อยๆ มันก็จะทำให้ ต่อไปเราเจออารมณ์ที่รุนแรงขึ้น หรือว่าบางทีความเพลินกับอารมณ์ เราก็กลับมารู้สึกตัวได้เร็วขึ้น มันก็จะเป็นความก้าวหน้าของการพัฒนา
มันเป็น 2 ส่วนเนาะ คือว่าความเผลอในการหลงไปกับอารมณ์ มันสั้นลง เกิดการรู้ตัวได้เร็วขึ้น มันก็คือความก้าวหน้าอย่างหนึ่งของการภาวนา แล้วอีกส่วนหนึ่งก็คือ อาตมาเป็นคนพูดว่า คือการอยู่ปัญหา หรืออยู่กับความทุกข์ได้อย่างใจเป็นกลาง หรือว่าไม่ทุกข์กับมันได้ดีขึ้น นี้ก็เป็นความก้าวหน้าของการภาวนา
คือถ้าคนบางคน เวลาเจอความทุกข์ มันบีบคั้นมากหรือว่าอยากจะหนี ไม่อยากทน แต่ถ้าเรามีสติตั้งมั่นอยู่ เหมือนกับว่าเราอยู่กับความทุกข์ได้อย่างสงบขึ้น ไม่ดิ้นรนที่จะต้องหนีมัน หรือไม่ดิ้นรนที่จะจัดการมัน แต่เราแบบ อยู่กับมัน อย่างแบบเข้าใจมัน แล้วก็แบบเป็นมิตรกับมันได้มากกว่าเก่า ไม่ได้มองปัญหาเป็น เป็นสิ่งไม่ดี ไม่ได้มองปัญหาเป็นสิ่งที่เราต้องหนี อยู่กับปัญหา ถ้ามีปัญหาอยู่นะ อยู่ แล้วก็แก้ไป คือถ้ามันมีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็ไม่ต้องไปดิ้นรนในเชิงว่า ต้องหนีมัน หรือว่าทุกข์บางอย่าง เราจัดการไม่ได้ เราก็อยู่แบบยอมรับมัน
อย่างเช่นร่างกายมันเป็นทุกข์ที่หนีไม่ได้ เราอยู่กับความทุกข์ตัวนั้นได้ดีขึ้น หรืออยู่กับอารมณ์ต่าง ๆ อารมณ์ต่าง ๆที่มันดีบ้างไม่ดีบ้าง เราอยู่กับอารมณ์นี้ได้อย่างสงบขึ้น คือความก้าวหน้า
ก็เลยสรุปเป็น 2 ส่วนเนาะ
ก็คือส่วนหนึ่งคือหลงสั้นลง รู้สึกตัวได้บ่อยขึ้น อันนี้ก็คือความก้าวหน้า
อีกส่วนก็คือว่า อยู่กับปัญหาโดยอยู่กับความทุกข์ ด้วยใจที่กำหนด แล้วก็ตั้งมั่น ยอมรับตรงนั้นได้ดีขึ้นได้ดีขึ้น
แต่คำว่าอยู่กับความทุกข์เนี่ย ไม่ใช่ว่าจมเข้าไปกับความทุกข์นะ ต้องเข้าใจว่า อยู่กับความทุกข์ หมายถึงว่า จิตไม่ดิ้นรนที่ต้องหนี และไม่เข้าไปจมกับมัน คือไม่รู้นะ อันนี้ส่วนตัวมองว่า มันคล้าย ๆ คำที่พระพุทธเจ้าบอกว่า ทุกข์คือสิ่งที่ให้เรากำหนดรู้ ทุกข์มันคือความจริงของกายของใจ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เราหนีทุกข์ แต่สอนให้เราแค่รู้ทุกข์ หรืออันนี้พูดอีกอย่างว่า มันมีทุกข์ แต่เราก็อยู่กับทุกข์ คืออยู่แบบเป็นผู้รู้ รู้ความทุกข์ที่มันเกิดขึ้น รู้ความทุกข์มันเกิดขึ้นได้อย่างไร อ๊อ เราก็ ปัญหาทางโลกก็แก้ไป แต่ปัญหาในใจ มันปล่อยวางได้แล้ว ไม่เป็นทุกข์แล้ว หรือว่าก็สงบขึ้น หรือว่าทุกข์น้อยลง ก็คือความก้าวหน้าเนาะ
แต่บางทีมัน อีกนิดนึง ว่า บางทีเวลาเราเจอความทุกข์นะ บางคนก็ภาวนาได้ดี แต่บางคนไม่เจอความทุกข์มาก ๆ ก็เพลินไปกับโลก อันนี้ก็ต้องระวัง ไม่แน่ใจว่าโยมคนที่ถามมา บางทีเวลาเราเจอทุกข์ เราอาจจะรู้สึกคือ เราตั้งใจภาวนาหรือเราตั้งสติได้เนี่ย แต่เวลาเราเจอทุกข์ไม่มาก บางทีเราอาจจะเผลอเพลินไปกับโลกมากเกินไป ทำให้ไหลไปอยู่กับอารมณ์ นี่ก็ต้องระวังนะ
บางทีความ เรียกว่าอะไร ความน่ากลัวหรือว่าความประมาทของคนผู้ภาวนาก็เป็นแบบนี้นะ เวลามีปัญหามีความทุกข์ เหมือนอยากจะปฏิบัติธรรม แต่พอไม่มีปัญหา ก็ไม่ค่อยสนใจธรรมะ ไม่ค่อยสนใจปฏิบัติธรรม แต่ถ้าคนที่หมั่นฝึก เจริญก้าวหน้าจริง ๆ นะ เหมือน ตอนมันทุกข์มากก็ปฏิบัติอยู่กับทุกนี้ให้ได้ ตอนทุกข์ไม่มาก เวลาไม่มีปัญหาก็ต้องหมั่นทำความเพียรให้มันต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ (ฟังไม่ชัด) ไม่ย่อหย่อน นี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญนะ จบแล้ว
เวลา 18:35
คำถาม
โยมมีโอกาสได้ไปฝึกที่วัดแพร่แสงเทียนกับพระอาจารย์กระสินธุ์ ในปีพ.ศ 2555 ถึง พ.ศ 2556 จำนวน 3 คอร์ส แล้วก็มีความรู้สึกตัวโดยไม่ต้องกำหนด เริ่มจากคอร์สแรกเลย มีคำถามเจ้าค่ะ คือที่ผ่านมาเวลาสวดมนต์ หรืออยู่ในพิธี มีอาการสงบเบา เป็นอิสระ อยู่ในภวังค์ ฟิน ๆ (ฟังไม่ชัด) เป็นอาการของฌานหรือเปล่าเจ้าคะ กราบนิมนต์พระอาจารย์กระสินธุ์เจ้าค่ะ
พระอาจารย์กระสินธุ์ ตอบ
อันนี้ไม่ใช่อาการของฌานนะ ที่ถามนี้ นี่ไม่ใช่อาการของฌาน ต้องเข้าใจด้วยว่า ฌานคือการรู้นั่นแหละ แต่นี่เป็นอาการของอารมณ์สงบ ไม่ใช่อาการของฌาน จะเป็นอาการของอารมณ์สงบ เพราะว่าบางครั้งน่ะ อาการเหล่านี้ก็จะหายไป ถ้าเราไปสำคัญมั่นหมายอาการเหล่านี้ ว่ามันเป็นฌานแล้วไซร้ เราจะพยายามสร้างฌาณขึ้นมา
ฌานจริง ๆ คือตัวรู้นั่นแหละ ตัวได้รู้นั่นแหละ เขาเรียกว่าตัวฌาน ฌานคือการเพียรเพ่ง คือการรู้ ให้แยกให้ชัดระหว่างตัวรู้ที่รู้อาการสงบ อาการเบา อาการอิสระ อาการภวังค์ หรืออาการฟิน ๆ อะไรต่าง ๆ เนี่ย นี่ สิ่งเหล่านี้คือตัวอารมณ์ แต่ตัวฌานจริง ๆ คือตัวที่รู้อาการเหล่านี้ นั่นแหละเขาเรียกว่าเป็นตัวรู้จริง ๆ เป็นตัวรู้ ที่เป็นฌานจริง ๆ ฉะนั้น ให้เข้าใจว่า ฌานคือตัวรู้สึกตัว หรือตัวภาวะของการรับรู้อารมณ์นั่นแหละ เขาเรียกว่า ฌาน ขอตอบแค่นี้นะ
เวลา 20:33
คำถาม
พระอาจารย์กระสินธุ์นะคะ ยังมีอีกคำถามนึงเจ้าค่ะ บอกว่า โยมปฏิบัติมาหลายแนวทาง มาหลายสิบปีแล้ว ยังไม่เคยเข้าคอร์สปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์กระสินธุ์ ได้แต่ติดตามอ่านธรรมะของพระอาจารย์ในห้องรู้ขณะเดียวทุกวัน และฟังธรรมของพระอาจารย์ อยู่ในห้องไลน์ฟังธรรม โดยฟังธรรมตามหลัง เพราะเกรงว่าเปิดปิดไมค์ไม่เป็น จะทำให้เกิดเสียงรบกวนได้ โยมคิดว่าโยมรู้ และเข้าใจรู้แต่ละขณะตามที่พระอาจารย์สอนได้ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจว่า การออกคืออะไร ตรงไหน ออกอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะออกได้ เพราะตามที่โยมเข้าใจ เมื่อเรารู้สึกตัว มีสติ มันก็เป็นอัตโนมัติว่าออกแล้ว ไม่มีอะไรต่อ แต่ถ้าเอาออก เหมือนกับว่า เราจะต้องทำอะไรบางอย่างเจ้าค่ะ กราบนิมนต์พระอาจารย์เจ้าค่ะ
พระอาจารย์กระสินธุ์ ตอบ
ถามเรื่องของการออกเนี่ย
เมื่อกี้อาจารย์โน้สท่านก็ได้อธิบาย อธิบายไป
ทีนี้เราต้องเข้าใจก่อนว่า การจะรู้การออกเนี่ย ต้องรู้จักว่าการเข้าเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่รู้จักตรงคำถามตรงนี้ เรารู้จักแต่ตัวออก เราไม่รู้จักตัวเข้าเนี่ย ให้สังเกตดู เวลาตัวมันเข้าไปน่ะ เหมือนอาจารย์โน้สที่ท่านบอกให้ว่า บางทีเราเข้าไปอยู่ข้างในเกินไป หรือบางทีเราก็ออกไปอยู่ข้างนอกเกินไป คำว่าข้างในหมายความว่า ที่เข้าไปในห้องเกินไป หรือออกจากนอกห้องเกินไป คือระหว่างรูปและอาการของในก็คือ อาการของภายในจิตใจเนี่ย เราเข้าเกินไป นอกก็คือออกไปสนใจข้างนอก จนกระทั่งลืม ลืมเกินไป อย่างเช่นตาเห็น เห็นรูป แต่ไปสนใจรูป ไม่สนใจที่ตาเห็น อย่างนี้เขาเรียกว่าออกนอกเกินไป
ที่นี้เวลารู้สึกว่าเราเข้า แล้วตัวรู้ พอเราได้รู้ปุ๊บ มันเป็นการออกแล้ว อันนี้ก็คือส่วนหนึ่ง ถูกต้อง เพราะทุกครั้งที่เราเข้าไป แล้วเราหลงเมื่อไหร่ปุ๊บ เราจะไม่รู้ แต่พอเราออกมาแล้วปั๊บเนี่ย เราจะเห็นสิ่งนั้นทันที
ฉะนั้นบางครั้งภาวะของรู้สึกตัวที่เราทำความรู้สึกตัวที่ออกมารับรู้ คำว่าออกมาเนี่ย คือออกมารับรู้เรื่องราวของอารมณ์นั้น ๆ ออกมารับรู้อาการของอารมณ์นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการของภายนอกและภายใน ถ้าเราตั้งสติไว้ได้ระหว่างกลางเนี่ย มันจะเป็นลักษณะของการรู้ข้างนอกด้วย คือเรื่องของร่างกายทั้งหมดที่ปรากฏ เราก็รู้ หรือเรื่องข้างในด้วย ที่มันกำลังนึกคิดด้วย อันนี้เขาเรียกว่าออก ออกมา
แต่บางช่วง ที่เรารู้สึกว่า บางทีเรารู้สึกออกมาแล้ว แต่บางครั้งอารมณ์นั้นยังไม่หาย อารมณ์นั้นยังไม่หาย แล้วใจเรายังพยายามจะทำอะไรกับอารมณ์นั้นอีก อันนี้เขาเรียกว่ายังไม่ออกนะ ยังเข้าไป
แต่ถ้าออกมาแล้วเนี่ย อารมณ์นั้นจะหายก็ได้ หรือไม่หายก็ได้ แต่ใจน่ะ มันออกมาอยู่กับการรับรู้เฉย ๆ
หรือบางครั้ง ที่ว่าบางครั้งต้องพยายามอะไรอีกเนี่ย หรือบางครั้ง เราต้องเข้าใจว่า บางครั้ง มันเข้าไปแล้วไม่ยอมออกเนี่ย เช่นเข้าไปอยู่ข้างในแล้วไม่ยอมออกเนี่ย บางครั้งเราก็ต้องช่วย รู้แล้ว แต่จิตยังไม่ยอมออกมาเนี่ย บางครั้งเราก็ต้องช่วย คือใส่เจตนากับการรู้ข้างนอกเพิ่มขึ้น คือมารู้สึกที่ตัวมากขึ้น มารู้สึกที่กายมากขึ้น
แต่ในรู้สึกตัวทั้งหมดเนี่ย แค่เราฝึกรู้สึกตัว ฝึกการรับรู้อารมณ์ นั่นแหละเขาเรียกว่าการออกจากอารมณ์ แต่ตราบใดก็ตาม ถ้าเราไม่รับรู้ เราไม่รับรู้อารมณ์ นั่นแหละเรากำลังเข้าไปในอารมณ์
ฉะนั้นคำตอบก็คือว่า ใช่อยู่ส่วนหนึ่ง แต่บางครั้งก็ต้องช่วยเขาด้วย ขอตอบประมาณนี้นะ
อาจารย์โน้สมีอะไรเพิ่มไหม ตรงเรื่องนี้ ขอนิมนต์หน่อย
พระอาจารย์สุทธิศาสตร์ ตอบ:
ผมเห็นกับพระอาจารย์ 100% เลยครับ พระอาจารย์ตอบได้ชัดเจน แล้วก็เคลียร์ ผมเห็นด้วยครับ ผมว่าบางที ผู้ปฏิบัติธรรม ถ้าไม่เข้าใจคำว่าออก คือการแค่เห็น เห็นโดยที่ไม่ได้เข้าไปเป็น และก็ไม่ต้องไปทำอะไรกับมัน
แต่ก็อย่างว่า แต่บางทีที่มันเป็นมาก ๆ ออกไม่ได้ เราก็ต้องพยายามขึ้นมานิดหนึ่ง ก็แต่ให้รู้ว่า ทำเพื่อช่วยแค่บางขณะ แต่ถ้ามันพอออกได้แล้ว ก็ไม่ต้องพยายามประคอง สภาวะนั้นด้วยเหมือนกัน
โยมก็ เวลามันออกแล้ว สิ่งสำคัญก็คืออย่าไปประคองสภาวะที่มันออกมารู้มาเห็น เพราะว่า ไปประคองมัน ก็คือการที่มันไม่ได้ออกจริง ๆ เหมือนกัน คือเราไปติดที่ตัวรู้อีกทีหนึ่ง
ถ้าจะเสริมก็คือว่า เมื่อมันออกมารู้ มาอะไร เราก็ ก็ออกจากการไปยึดมันด้วย มันจะดับก็เรื่องของมัน เราก็รู้ใหม่ไปเรื่อย ก็จะเสริมตัวนี้ครับ
เวลา 26:48
คำถาม
พระอาจารย์เจ้าคะ พอดีขับรถไปด้วย แล้วฟังไปด้วย หนูก็เลยไม่ค่อยชัด ที่พระอาจารย์บอกว่า 3 แบบ ทีนี้หนูจับประเด็นไม่ได้ว่า 3 แบบคือแบบไหน
พระอาจารย์สุทธิศาสตร์ ตอบ:
คืออันนี้สรุปนะครับคือว่า
อย่างที่ 1 คือเราฝึกความรู้สึกตัว แล้วก็ มันก็จะนำไปสู่ความรู้สึกตัวที่เป็นอัตโนมัติ ที่นำไปสู่การรู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ รู้ทั้งข้างนอก รู้ทั้งข้างใน นี่คือเราฝึกความรู้สึกตัวอย่างที่ 1
อย่างที่ 2 น่ะ มันเป็นการสังเกต ซึ่งมันจะเป็นความรู้สึกตัวที่ละเอียดขึ้นว่า เราไม่ใช่รู้แค่ว่าเราทำอะไร ไม่ใช่รู้ว่าแค่กายมันทำอะไร หรือมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นกับกายกับใจ แต่ต้องสังเกตว่า การรู้ตัวนั้นน่ะ รู้แบบเป็นกลางไหม บางทีบางคนรู้กายก็จริง แต่เราเข้าไปจมในกาย หรือบางคนรู้ความคิด หรือรู้ความอารมณ์ก็จริง แต่บางทีรู้แบบเจือด้วยการกดข่มกันอยู่ อันนี้ ถ้าเราสังเกตทันว่า อ๊อ มันยังรู้ไม่เป็นกลาง รู้แบบยังมีความพอใจ มีความไม่พอใจ อยากให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้อยู่
คือเรียกว่ารู้อย่างไร ไม่ใช่แค่รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับกายกับใจ แต่สังเกตว่า เรารู้อะไรกับอารมณ์นั้น มันจะนำไปสู่สภาวะที่ว่าใจเป็นกลาง ใจตั้งมั่นกับอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี อันนี้คืออย่างที่ 2
ส่วนอย่างที่ 3 คือ มันรู้แล้วนำไปเกิด การเกิดปัญญา เข้าใจความจริงของกายใจ คือการไปเห็น นั่นแหละ เห็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม เห็นอริยสัจจ์ เห็นการเกิดทุกข์อย่างไร นี่คือนำไปสู่การเกิดปัญญาขึ้น คือเป็นการเกิด เรียกว่าเป็นญาณ เป็นญาณที่ทำให้เราก้าวพ้นภาวะเดิม คือจิตใจมันยกระดับออกมาแล้ว อันนี้คือตัวญาณ สำคัญกว่าตัวฌาน อันนี้ขอเสริม มีคนสงสัยเรื่องฌานต่าง ๆ
ที่จริงในสายปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน เราไม่ได้เน้นเรื่องการเกิดฌานต่าง ๆ เลยนะ ไม่ต้องไปสนใจเรื่องสมาธิหรือว่าฌานมากมายเลย แต่ตัวสำคัญคือตัวญาณ ญาณปัญญา ตัวรู้นี่แหละ มันนำไปสู่ความเข้าใจความจริงของสภาวะต่าง ๆ แล้วมันทำให้เรา อ๊อ มันปล่อยวางได้ มันคลายความยึดมั่นถือมั่นได้ เนี่ย ตัวฌานสำคัญกว่าญาณ(พระอาจารย์น่าจะพูดสลับกัน?) นี่คือการรู้ส่วนที่ 3 คือรู้แล้วนำไปสู่ปัญญา
การนำไปสู่ปัญญาคือการที่เรา จิตมันเปลี่ยน จิตมันเปลี่ยน แต่อันนี้ก็แล้วแต่ระดับของความเข้าใจของแต่ละระดับ ก็ต้องค่อย ๆ พัฒนาไป อันนี้คือรู้ 3 แบบ
เวลา 30:30
คำถาม
นมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ ดิฉันมีคำถามค่ะ ได้ยินไหมเจ้าคะ
คือว่าไม่เคยปฏิบัติแบบยกมือมาก่อน แต่พอมาเข้ากลุ่ม ก็พยายามที่จะฝึก 14 จังหวะ เพื่อที่จะทำความรู้สึกตัวกับการเคลื่อนของมือ ทีนี้เวลาปฏิบัติไปเนี่ย จิตมันจะวกไปหาสู่การปฏิบัติที่เคยทำมาก่อน ก็คือการดูความพองยุบของท้อง หรือบางครั้งก็จะไปที่ลมหายใจ คือการทำอานาปานสติ มันรู้กลับไปกลับมาแบบนี้ค่ะพระอาจารย์ ว่า บางครั้งรู้ที่มือ บางครั้งรู้ที่ท้อง บางครั้งรู้ที่ลม ก็เลย งง ๆ ว่าเราควรจะโฟกัสอยู่ที่อันใดอันหนึ่ง หรือว่าอะไรก็ตามที่เรารู้สึกตัว ก็รู้มันไปอย่างนั้น
พระอาจารย์สุทธิศาสตร์ ตอบ:
อันนี้สำหรับความเห็นของอาตมา ก็ที่จริงรู้อะไรก็ได้ ที่มันชัดขึ้นมา แต่ก็อย่างที่ว่า เวลาเรามีกรรมฐานสัก 1 อย่าง อันนั้นอาจจะรู้เป็นหลัก เช่นเวลาเรายกมือ ก็อาจจะรู้สึกที่ร่างกายที่ยกมือเป็นหลัก แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่ต้องไปสนใจจุดอื่น บางทีจิตมันไปรู้ลมหายใจเอง บางทีจิตไปรู้ท้องพองยุบเอง ก็ไม่เป็นไร ไม่ผิด ไม่ต้องแบบ ไม่ต้องไปกังวล ว่ามันผิดหรือถูกนะ ที่จริงแล้ว รู้อะไรที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ ที่มันชัดในขณะนั้น อันนั้นใช้ได้ แล้วก็ แต่ไม่ใช่การพยายามจะไปหา ไปวนดูนั่นดูนี่ ตลอดนะ อันนั้นก็ไม่ใช่นะ
แต่เราดูสิ่งหนึ่งเป็นหลักไว้ แล้วก็ถ้ามีสิ่งอื่นแทรกเข้ามา ที่มันเกิดขึ้นในกายในใจ เราก็รู้มันอย่างที่มันเป็น อันนี้ไม่ผิด
ฉะนั้นไม่ต้องสับสน ไม่ต้องกังวลว่า เพราะที่จริง เรารู้สึกตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จริง ๆ น่ะ แม้เรายกมืออยู่ มันไม่ได้รู้แต่ที่มือหรอก ตากระพริบ ลมหายใจ ลมกระทบ มันรู้สึกของมันเอง หรือจิตใจมันไหว จิตใจมันเกิดอารมณ์ขึ้นมา มันก็รู้สึกของมันเอง โดยที่เราแบบ ไม่ได้จงใจไปรู้
ฉะนั้นโยมก็ไม่ต้องกังวล บางที ยิ่งคนเคยฝึกแบบอื่นมาก่อน บางทีเราก็มีความเคยชินในการที่จะรู้ส่วนนั้น โดยพื้นฐานของจิต เนาะ พอเรามาทำสิ่งนี้ มันก็อาจจะกลับไปรู้สิ่งที่เราเคยทำบ้าง ไม่เป็นไร
แต่ เพียงแต่ว่า ต้องสำคัญแค่ว่า เราอย่าไปแช่ ในสิ่งนั้น คืออย่าไปแช่ แบบ บางทีเราไปรู้พร้อม และเราไปแช่พร้อม หรือเราไปรู้ลม แล้วเราก็ไปแช่ที่ลมหายใจ ต้องระวังว่า ไม่หลงไปแช่ แล้วก็ไม่หลงไปบังคับด้วยว่า ฉันจะต้องเอา พอเรายกมือแล้ว ต้องรู้แต่มืออย่างเดียว อย่าไปรู้อย่างอื่น ก็ไม่ใช่นะ ไม่ใช่การที่เราหลงเข้าไปรู้สิ่งนั้น แล้วก็ไม่ใช่การที่เราไปบังคับว่าจะต้องรู้แต่สิ่งนั้นอย่างเดียว แต่เมื่อไหร่ที่เราสามารถที่รู้อะไรก็ได้ที่มันเด่น ในกายในใจเนี่ย สติมันจะเป็นแบบธรรมชาติ แล้วก็ แล้วก็แบบมันก็จะไม่บังคับ แล้วมันก็จะเห็นว่าสติเองมันก็ มันก็เลือกที่จะรู้ของมันเองนะ ไม่ใช่ว่าเราบังคับให้สติมันต้องรู้แต่เฉพาะอันนี้
โยมก็ไม่ต้องกังวลนะ ทำ ก็มันจะรู้อะไรก็ได้ แต่ขอแค่ให้รู้ด้วยความเป็นกลาง แล้วก็ รู้แล้วก็ไม่ต้องไปยึดในสภาวะที่รู้ รู้ใหม่เรื่อย ๆ
พระอาจารย์กระสินธุ์
ก็เป็นโอกาสดีมาก ๆ ที่พวกเราได้ยินได้ฟังในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการที่เราจะได้นำไปภาวนาจากอาจารย์โน้ส ก็โอกาสหน้าก็อาจจะขอนิมนต์ท่านได้มาช่วยให้ความกระจ่างกับพวกเราในเรื่องของการภาวนาบ้าง ในเรื่องต่าง ๆ ก็จะได้เป็นประโยชน์ต่อการที่จะนำเอาธรรมะ ที่เราได้รับฟังแล้ว และนำไปสู่การปฏิบัติในภาคของการที่ใช้ชีวิตจริง อย่าให้พวกเราน่ะ ฟังอะไรไปแบบ เป็นพอประเพณี ขอให้ฟังเรื่องนี้แล้วนำไปฝึกฝนและปฏิบัติด้วย เพื่อจะได้ประโยชน์กับตัวเราเอง และจะช่วยให้เราได้รู้จักวิธีการที่ว่า เขามีคำพูดว่า ฟังธรรมะน่ะฟังร้อยครั้งพันหน ไม่สู้กับเราน่ะ มุ่งมั่นที่จะฝึกให้เกิดภาวะรู้สึกตัวแค่ครั้งเดียว แต่ในการที่จะฝึกรู้สึกตัวแค่ครั้งเดียว ก็ต้องอาศัยการฟังและทำความเข้าใจก่อน เมื่อเราได้เข้าใจแล้ว ก็อยากให้เราน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติต่อ เพราะมันจะเป็นประโยชน์ มันจะได้มีอานิสงส์ร่วมกัน
ฉะนั้นในวันนี้ก็ขออนุโมทนากับทุกท่าน แล้วก็ขอขอบคุณอาจารย์โน้ส ที่ได้ช่วยให้ความกระจ่างแก่พวกเรา ที่ตั้งใจมาฝึกปฏิบัติอยู่ โอกาสหน้าก็อาจจะได้นิมนต์ท่านได้มาให้กำลังใจ ให้ข้อคิดที่จะนำไปปฏิบัติ
พวกเราต้องเข้าใจว่า ในโลกยุคปัจจุบันนี้ ต่อไปเราอาจจะต้องใช้ลักษณะของการสื่อสารในรูปแบบนี้ แต่ต่อไปไม่แน่ อาจจะเปลี่ยน การสื่อสารรูปแบบอื่น อาจจะได้เกิดการเห็นหน้ากันก็ได้ สอบถามกันก็ได้ อันนี้ก็อาจจะเป็นในครั้งต่อไป นี่ก็จะได้ศึกษากับทีมงานดูว่า ถ้าเราจะสามารถไปทำในรูปแบบซูม แบบอื่นบ้าง ที่มันจะสามารถให้เห็นภาพกันได้ สอบถามกันได้ และพูดคุยกันได้ในห้องประชุมแบบนี้ มันก็คงจะทำให้เรารู้สึกมีอรรถรส ต่อการได้ยินได้ฟังมากขึ้น แล้วก็ได้รับประโยชน์มากขึ้น
ฉะนั้นในเย็นนี้ก็ขออนุโมทนาสาธุทุกท่านนะ ที่ได้รับฟังสิ่งดี ๆ ที่เราจะนำไปใช้กับชีวิตเรา ในช่วงต่อ ๆ ไป จนกว่าจิตใจเราจะมีการพัฒนาก้าวหน้า อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่เป็นทุกข์ ด้วยกันทุกท่านเทอญ
ขออนุโมทนากับอาจารย์โน้สด้วย และขอเจริญพรทุก ๆ ท่าน
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.