Episodes
Sunday Oct 18, 2020
"ปฏิบัติธรรม" ทำอย่างไร พจ.โน้ส 011063
Sunday Oct 18, 2020
Sunday Oct 18, 2020
ธรรมเทศนาโดย พอจ. สุทธิศาสตร์ ปัญญาปทีโป (พอจ.โน้ส)
1 ตุลาคม 2563 ณ ห้องฟังธรรมออนไลน์
กราบนมัสการพระอาจารย์กระสินธุ์ และเจริญในธรรม ญาติธรรมทุกคน ไม่ทราบว่าได้ยินเสียงชัดหรือเปล่า รู้สึกเป็นเกียรติที่พระอาจารย์ให้เข้าร่วมกลุ่ม และให้มาแลกเปลี่ยนกับญาติธรรมทุกคน ก็อาจจะไม่ได้เห็นหน้ากัน ก็ได้ยินเสียงในการที่คุยกัน
ตอนแรกจะคุยเรื่องอะไร ก็ยังคิดไม่ออกนะ แต่จริง ๆ แล้ว ธรรมะมันก็มีไม่เยอะ ธรรมะจริง ๆ เราก็เน้นเรื่องการปฏิบัติธรรม เพราะที่จริงแล้ว ธรรมะ แม้เราจะฟังมากขนาดไหน แต่ถ้าเราไม่เอาไปปฏิบัติ มันก็ไม่เข้าใจ ส่วนตัวผมเองก็ได้ ได้เรียนกับหลวงพ่อคำเขียน สิ่งที่ว่าสำคัญที่สุดในการปฏิบัติธรรมก็คือเรื่องความรู้สึกตัวนี่แหละ
ความรู้สึกตัวที่ ที่ครูบาอาจารย์โดยเฉพาะสายการเจริญสติเน้น ผมว่ามันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราก็คงได้ยินคำว่ารู้สึกตัวกันมาเยอะแล้วใช่ไหมครับ แต่บางทีตอนเราปฏิบัติใหม่ ๆ เราก็มักจะสงสัยว่า เอ๊ะ ความรู้สึกตัวมันเป็นแบบไหน ผมเองนะหรืออาตมาเอง ตอนปฏิบัติใหม่ ๆ ก็สงสัยนะ รู้สึกตัวเป็นแบบไหน แล้วก็เหมือนคล้าย ๆ เดิน แล้วก็ เดินหาความรู้สึกตัว แต่ความจริงความรู้สึกตัวมันก็อยู่กับเราอยู่แล้วนะ แต่บางทีเรา ตอนเราทำใหม่ ๆ มันเหมือนเราพยายามเดินหามัน แต่ที่จริงแล้วความรู้สึกตัวเนี่ยไม่ได้หา แต่ความรู้สึกตัวเนี่ย คือการสัมผัสรู้ รู้สึกในสิ่งที่ ที่กำลังทำอยู่นั่นแหละ เราแบบ
แต่บางทีเราไปหาความรู้สึกตัว มันก็เลยไม่เจอความรู้สึกตัว หรือบางทีเราก็ใช้ความคิดเข้าไปค้นหา ความรู้สึกตัวแบบไหนถึงจะถูก เรารู้สึกตัวถูกหรือเปล่าน้อ อะไรเนี่ย ตอนแรก ๆ ก็สงสัย คิดหา ไม่รู้ นักปฏิบัติธรรมหลายคนก็น่าจะเคยเป็นแบบนี้หรือเปล่าเนาะ หรือบางคนก็รู้สึกได้ทันทีเลยนะ อันนี้ก็ไม่รู้ แต่สำหรับอาตมาคิดว่า คนปฏิบัติใหม่ ๆ บางทีปฏิบัติธรรมแล้วก็แบบ พอเราเริ่มใหม่ ๆ เราก็มักจะหาความรู้สึกตัว หรือเราก็ไม่เข้าใจว่า เอ๊ะ สติมันเป็นตัวแบบไหน แต่จริง ๆ ก็อยากจะสรุปให้ฟัง
ที่จริงความรู้สึกตัว แล้วก็สติ ที่จริงแล้วมันก็คือสิ่งเดียวกัน แล้วก็มันเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องหาเลย มันมีอยู่แล้ว แค่เราสัมผัส ที่ปัจจุบัน ที่มัน ที่ว่ารู้สึกที่ปัจจุบันจริง ๆ อันนั้นคือเรารู้สึกตัวแล้ว ไม่ว่าเราจะเดิน เราจะยกมือ หรือเราจะหายใจ มันก็คือความรู้สึกตัว ไม่ต้องหานะ ถ้าเมื่อไหร่หาเนี่ย แสดงว่าเราลืมตัว ถ้าเมื่อไหร่พยายามใช้ความคิดว่า เอ๊ะ เรารู้สึกตัวหรือยัง เรารู้สึกตัวถูกแล้วหรือยัง ถ้าเราคิดแบบนี้ แสดงว่า ให้เรารู้เลยว่า เราลืมตัวแล้ว แทนที่เราจะ เอ๊ะ เราทำถูกหรือทำไม่ถูกนะ
ผมหรืออาตมาตอนหลัง พอมาได้เทคนิคว่า เอ๊ะ พอมันเกิดความเอะใจว่าเราถูกหรือผิด อันนี้ เทคนิคส่วนตัวนะครับ คือเราจับที่ขาตัวเองเลย ไม่รู้นะ บางคนอาจจะลองทำไปพร้อมก็ได้ อย่างเวลาเราจับขา จับเข่า ลูบขาน่ะ เอ๊ะ มันก็รู้สึกแล้วนี่ รู้สึกแล้ว
เหมือนแต่ก่อนเราไปหาความรู้สึกตัวนะ แต่พอเราไม่ต้องหาความรู้สึกตัว เราไม่ต้องคิดหาคำตอบ เราแค่ พอเรามาสัมผัสดู เช่นลูบขาตัวเองดู เอ้า มันรู้สึกตัวแล้ว อ๊อ อันนี้ เหมือน เข้าใจหลวงพ่อคำเขียน ท่านเคยพูดไว้ ตอนที่ปฏิบัติใหม่ ๆ ไม่เข้าใจ
หลวงพ่อคำเขียนท่านพูดว่า ถ้าเรารู้สึกตัวแล้ว มันไม่มีทำไม ไม่มีคำว่าทำไม แต่ก่อนเราไม่รู้สึกตัวเนี่ย มีแต่ทำไมนะ มีแต่สงสัย อะไรอย่างนี้ หรือว่ามีแต่แบบ กังวลเรื่องถูกผิด คิดว่าทำแบบนี้แล้วจะได้อะไร ทำแบบนี้แล้วจะพ้นทุกข์จริงหรือเปล่า แต่พอแบบ พอเรากลับมารู้สึกตัว ความสงสัยหรือคำว่าทำไม เอ้า มันไม่มีแล้ว
ก็ผมหรืออาตมาก็มีคำพูดหนึ่งที่พูดบ่อย ๆ เหมือนกัน เวลารู้สึกตัวแล้ว ไม่มีทำไม แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ยังมีทำไม ยังเอะใจ อะไรอย่างนี้ แสดงว่าเราไม่รู้สึกตัวแล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราเห็นนะ เห็นความสงสัย เห็นมันลังเลก็แล้วแต่ แต่เราก็ไม่ต้องไปสนใจมันหรอก แค่กลับมารู้สึกตัว กลับมาขยับตัว กลับมาลูบขา เอ้า ความรู้สึกตัวมันอยู่ตรงนี้อยู่แล้ว มันเหมือนแต่ก่อนที่บอกว่า เราไปหาความรู้สึกตัว แต่เอ้า ความรู้สึกตัวนี่ไม่ต้องหาแล้ว มันอยู่ตรงนี้นี่เอง เนี่ย ผม หรืออาตมานะ มองว่า เออ ที่จริงความรู้สึกตัวเนี่ย เป็นสิ่งที่มันสำคัญมาก และมันเหมือนเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ทำให้เราได้ เรียกว่า ได้เห็นทางธรรมจริง ๆ
ฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติธรรม ไปด้วยวิธีอะไรก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญ เราต้องทำความรู้สึกตัวให้เป็น ถ้าในที่นี้ก็ไม่รู้ว่า มีทั้งคนเก่าหรือคนใหม่ แต่ที่จริง สิ่งที่หลวงพ่อเทียนท่านเน้นเบื้องต้นน่ะ คือการทำความรู้สึกตัวกับร่างกาย อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ง่ายนะ แล้วก็มันเป็นสิ่งที่เราสัมผัสได้ทันทีเลย
ฉะนั้นผู้ใหม่ ๆ ก็อยากจะแนะนำว่า ถ้าเราจะเริ่มต้นกรรมฐานโดยอาศัยร่างกายนี่แหละ สร้างความรู้สึกตัวกับการรู้กาย แม้แต่สิ่งที่เราสัมผัสได้ทันทีเลย การที่จะ เราไปเริ่มต้นดูจิตหรือดูความคิดน่ะ สำหรับบางคนก็อาจจะทำได้นะ แต่บางทีมันก็มีความละเอียด หรือบางทีมันก็มีความอาจจะบอกได้ ระหว่างรู้ว่ามันคิดหรือเราเข้าไปคิดกับมัน เนี่ย บางทีมันก็ยาก หรือบางทีเรา หลายคนอาจจะรู้สึก เอ๊ะ ทำไมรู้ว่าโกรธ แต่ก็ยังรู้สึกโกรธอยู่ ทำไมรู้ว่าอยากนะ แต่ก็ยังแบบ อยากจะทำตามความอยากอยู่ อันนี้มันแสดงว่ากำลังตัวรู้มันไม่พอ มันรู้แบบ เราจมเข้าไปในสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้ เหมือนรู้ว่าโกรธ แต่มันก็ยังไม่หายโกรธ นี้แสดงว่ายังไม่ใช่การรู้ตัวจริง ๆ
อันนั้น แต่ถ้าเรากลับมาที่การรู้กายก่อนเนี่ย มันจะทำให้เราเห็นชัด ระหว่างว่ากายที่รู้สึก กับความคิด หรือว่าความโกรธ ที่มันเกิดขึ้นเนี่ย มันเป็นคนละอันกัน มันจะคิด เออ หรือ มันจะโกรธเนี่ย กับเวลาเรากลับมารู้กาย มันคนละอันกันเลย มันชัดเจน แต่เวลาเรารู้ว่าโกรธ กับความโกรธ บางทีมันแทบจะไปด้วยกัน หรือบางทีเราก็ไม่รู้ตัวว่า เรากำลังโกรธตัวเองที่ความโกรธมันไม่หายไปสักที มันก็โกรธเหมือนกันนะ ทั้งความโกรธ และความรู้สึกไม่พอใจที่มันยังโกรธอยู่ มันเป็นตระกูลเดียวกันเนาะ แต่พอเรากลับมารู้กายแล้ว เออ มันทำให้ มันเกิดความชัดเจน แยกแยะกันได้ระหว่าง เวลาเรากลับมารู้กาย กับความคิด กับความโกรธ เนี่ย มันไม่เหมือนกันเลย ไม่ต้องเอาเหตุผลกับมันหรอก นี่คือ
เผื่อแนะนำสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ ๆ บางทีเราจะไปดูความคิด เราไปดูอารมณ์ตรง ๆ มันก็ดูยาก ก็อยากจะแนะนำว่า อาศัยการรู้กายเป็นเบื้องต้น อันนี้ก็ ถ้าเราทำความรู้สึกตัวเบื้องต้น เราสัมผัสรู้อย่างนี้ มันก็จะง่าย แล้วมันก็จะชัดเจน
แต่สำหรับผู้เก่าแล้ว หรือว่าผู้ที่อาจจะมีจริต เห็นความคิด เห็นได้ดี ก็อาจจะทำได้ แต่ให้มันแยกชัดเจนขึ้นมา ระหว่างการเห็นกับสิ่งที่มันเกิดขึ้นมาให้เห็น บางทีมันก็ (ฟังไม่ชัด)เหมือนความคิดก็อันหนึ่ง รู้ทันความคิดก็อันหนึ่ง ทีนี้ถ้าเราสามารถทำได้
อันนี้สำหรับการที่เรารู้กายหรือรู้จิต เรียกว่าเป็นการสร้างความรู้สึกตัว เกิดขึ้น หรือสิ่งที่(ฟังไม่ชัด) เราต้องรู้สึกตัวทั่วพร้อมด้วยเหมือนกัน บางทีเรารู้สึกตัวก็จริงนะ แต่มันเป็นรู้สึกตัวแบบเราเข้าไปกำหนดมันมากเกินไป มันก็ไม่ใช่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม บางคนเวลาปฏิบัติธรรมเนี่ย เออ เราเข้าไปแบบ อยู่กับเท้า เราเข้าไปอยู่กับมือ หรือว่าเราเพ่งจ้องดูแต่ตัวเราแบบ 100% ร้อยเยอะ ๆ บางทีมันก็ทำให้เราอาจจะรู้ตัว ร่างกายของเราก็จริงนะ แต่ทำให้เราอาจจะลืมรู้อย่างอื่นไปด้วย ที่จริงแล้ว ถ้าเรารู้สึกตัวทั่วพร้อม มัน มันรู้ทั้งกายใจ รู้ทั้งข้างนอกด้วย
เนี่ย หลวงพ่อธรรมคำเขียนท่านเคยเล่าครับว่า บางทีท่านปฏิบัติกับหลวงพ่อเทียน ปฏิบัติแล้ว ตอนนั้นท่านเพิ่งบวชใหม่ ๆ แล้วก็หลวงพ่อเทียนท่านเดินมาหาที่กุฏิ
หลวงพ่อเทียนเดินมาแล้วก็ถาม ตอนนั้นเรียก “อาจารย์คำเขียน อาจารย์คำเขียนทำอะไรอยู่”
หลวงพ่อคำเขียนก็ตอบว่า “นั่งปฏิบัติธรรมอยู่ครับ นั่งยกมืออยู่ครับ”
หลวงพ่อคําเขียนนั่งอยู่ในห้อง
หลวงพ่อเทียนก็เลยถามไปว่า “นั่งอยู่ในห้องน่ะ เห็นข้างนอกหรือเปล่า”
หลวงพ่อคําเขียนก็บอกว่า “ไม่เห็นครับ”
“แล้วทำยังไงถึงจะเห็นข้างนอกด้วย”
หลวงพ่อคำเขียนก็เลยเดินมาตรงประตู มานั่งที่ประตู
หลวงพ่อเทียนอยู่ข้างนอกก็ถามว่า “เห็นข้างนอกไหม”
หลวงพ่อคำเขียนบอก “เห็นครับ”
“เห็นข้างในไหม”
“เห็นครับ”
“ให้ทำแบบนี้นะ” แล้วหลวงพ่อเทียนก็เดินหนีไป
คือ ตอนแรกหลวงพ่อคำเขียนก็งงนิดหนึ่งว่า หลวงพ่อเทียนพูดแค่นี้ คือคงไม่ใช่การ คือไม่ใช่ว่า ท่านให้เราทำที่ตรงหน้าประตูเนาะ แต่พอภายหลังท่านก็ท่านเข้าใจว่า อ๋อ คำว่าเห็นข้างนอก และเห็นข้างใน ไม่ใช่ ไม่ใช่การที่อยู่ตรงระหว่างประตูหรอก แต่คือเห็น เห็นทั้งตัวเองด้วย แล้วก็เห็นทั้งสิ่งที่มันเกิดขึ้นรอบตัวด้วย
อันนี้ผมว่าก็สำคัญมากเพราะว่า นักปฏิบัติธรรมบางคน คือเราเน้นเห็นแต่ตัวเองจนแบบปิดมืด เราก็แบบอยากจะหลับตา ไม่อยากจะสนใจสิ่งที่มันเกิดขึ้นทางตา เราแทบไม่อยากจะได้ยินเสียงเลย เพราะเราคิดว่าเสียงมันรบกวนสมาธิเรา เราอยากให้สิ่งแวดล้อมข้างนอกมันสงบ มันดี เพราะคิดว่า ถ้าเราไม่รับรู้ ไม่สนใจข้างนอกเลย เราสงบนิ่ง อันนี้คือการที่เราปฏิเสธข้างนอก มันก็อาจจะทำให้เรากลับมาโฟกัสตัวเองมากเกินไป
แต่ที่จริง เวลาเรารู้สึกตัวทั่วพร้อม จริง ๆ มันคล้าย ๆ เหมือนเรา มีประสาทสัมผัสในการรู้สึกได้เร็ว
ทั้งร่างกาย ที่ตั้งแต่อิริยาบถใหญ่ ๆ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือว่าอิริยาบถย่อย ๆ ที่มันขยับเขยื้อนมันเอง กระพริบตา หายใจ หรือความรู้สึกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย มันก็ sensitive มันรู้ได้เร็ว
รวมทั้งแบบ เสียงเกิดขึ้น
ภาพที่มองเห็น
กลิ่นที่เกิดขึ้นมา เราก็รู้สึกนะ
และที่สำคัญ ความคิด ความคิดที่มัน หรือว่าอารมณ์ที่มันผุดขึ้นมา บางทีแต่ก่อนเราไม่เคยเห็นความโกรธ เราโกรธก่อนแล้วเราค่อยรู้สึกทุกข์ รู้สึกเอะใจขึ้นมา แต่พอเรามีความรู้สึกตัวมากขึ้น บางทีแค่ขัดใจนิดนึง อ้อ เราเห็นมันแล้ว หรือเวลามันอยาก หรือเวลาใจดี เราเห็นมันแล้วเนาะ
ความรู้สึกตัวเนาะ มันทำให้เราเห็นทั้งร่างกาย เห็นทั้งจิตใจ แล้วก็เห็นทั้งข้างนอกด้วยนะ
แต่กรณีนี้ เห็นแล้วมันจะหวั่นไหวไปหรือเปล่า มันก็อยู่ที่กำลังสติแล้วก็สมาธิของเรา แต่ที่พูดนี้คือ อยากให้นักปฏิบัติธรรมเรา คือเราอย่าคิดว่า การปฏิบัติธรรมที่ดีคือการแบบ เราต้องไม่สนใจข้างนอก หรือเราต้องแบบเพ่งเข้ามา เฝ้ามองแต่ตัวเอง ไม่สนใจ ไม่รับรู้สิ่งข้างนอกเลย เราโฟกัสมาที่ตัวเองอย่างเดียว อันนั้นมัน มันอาจจะมากเกินไปเนาะ อาจจะมากเกินไป
เราอาจจะรู้ตัว เห็นตัวเองก็จริงนะ แต่เรา แต่มันก็มีการลืมตัวอีกแบบนะ คือลืมว่าเราเพ่งมันมากเกินไป อันที่จริงการรู้สึกตัวทั่วพร้อมเนี่ย มันเหมือนรู้ทั้งข้างนอก รู้ทั้งข้างใน รู้ทั้งกาย รู้ทั้งใจ รู้ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นนอกตัว และไม่ใช่เป็นการแบบเฝ้าดูแค่ส่วนเดียวตลอด อันนี้อยากให้เราสังเกตตัวเอง เวลาเราปฏิบัติธรรมหรือว่า คือถ้าคนไม่ปฏิบัติธรรมน่ะ บางทีก็อาจะ เห็นแต่ข้างนอกนะ แต่ไม่เห็นตัวเอง เห็นแต่ข้างนอก เห็นแต่งานการที่จะทำ แต่ไม่เห็นตัวเอง
อย่างตอนนี้ ลองดูก็ได้ อย่างหลายคนน่ะ อาจจะนั่งฟัง หรือบางคนอาจจะยืนฟัง หรือทำงานไปด้วย เราได้ยินเสียง ได้ยินเสียงเนาะ เราได้ยินเสียงแล้ว เรารู้สึกตัวไหม ว่าเรากำลังได้ยินเสียงอยู่ หรือเวลา หรือดูแบบนี้ก็ได้นะ เช่นลองดูที่โทรศัพท์ เวลาเราเห็นโทรศัพท์ เรามองไปที่โทรศัพท์ แน่นอน เรามีตา เราก็เห็นโทรศัพท์ เห็นอย่างนั้น แต่ลองย้อนกลับมาดู ดูตัวเองที่กำลังมองโทรศัพท์ เห็นไหมครับเห็นไหม โทรศัพท์เราก็มองเห็น แต่เราก็เห็นตัวเองที่มันกำลังมองโทรศัพท์อยู่ คืออันนี้เป็นแค่เหมือนคล้าย ๆ ให้เราลองทำดูเฉย ๆ นะ หรือเรามองอะไรไปข้างหน้าที่อยู่ต่อหน้าเราก็ได้ เราเห็นไหม สิ่งที่อยู่ต่อหน้าเรา เราเห็นตัวเองไหม ที่กำลังมองสิ่งนั้นอยู่ เนี่ย
อันนี้ลองสังเกตดูว่า บางทีถ้าคนหลงไปกับข้างนอก ก็คือเราเห็นแต่ข้างนอก แล้วใจเราก็ไปอยู่สิ่งที่เราเห็น ได้ยินเสียงนะ ก็ได้ยินเสียง แต่ใจเราก็ไหลไปกับเสียง เราได้ยินเสียงด้วย เห็นด้วย แต่เราก็ เห็นตัวเองอยู่ รู้สึกตัวที่ ผู้เห็น หรือได้ยินสิ่งนั้น มันอาจจะไม่ถึงขนาดต้องพร้อมกัน (ฟังไม่ชัด) เวลานะ แต่มันก็จะ แบบนี้ ทั้งข้างนอก ทั้งข้างใน แล้วที่สำคัญ มัน มันเห็นความรู้สึกในใจด้วย เวลาตามันเห็นรูป หูได้ยินเสียง มันเกิดความรู้สึกอย่างไร เกิดความพอใจ เกิดความไม่พอใจ หรือว่าเห็นใจมันไหลไป ไปมอง หรือบางทีเราเห็นใจเราพยายามต้านไม่ให้มันไหลไปก็มีนะ บางทีเราตั้งใจปฏิบัติมาก เรากลัว แน่ะ ไม่อยากให้ไหลไป ห้ามไว้ อันนี้คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจะทำให้เราเห็นตรงนี้
มัน คือมันไม่ใช่แค่ว่าเราเห็นอะไร ไม่ใช่เห็นว่าเราทำอะไร แค่ผมหรืออาตมาคิดว่า มันมีคำหนึ่งที่สำคัญว่า มันไม่ใช่แค่ว่าเราเห็น ว่าตัวเรากำลังทำอะไร แต่สำคัญคือเราทำอย่างไร นั้นก็สำคัญนะ ไม่ใช่แค่ เอ้ย เราก็เดินจงกรมอยู่ เราก็รู้ว่าเราเดินจงกรม เรากินข้าวอยู่ เราก็รู้ว่าเรากินข้าว เราล้างจาน เราก็รู้ว่าเราล้างจาน อันนั้นแค่ว่ารู้ว่าทำอะไร แต่รู้ตัวไหมว่า เราทำอย่างไร
เราเดินจงกรมเนี่ย รู้ไหมว่าเกร็งไปไหม
ตั้งใจฟัง สมมุติเราตั้งใจฟัง บางคนตั้งใจมาก รู้สึกตัวไหม ว่าเราตั้งใจมาก หรือบางคนใจลอยนะ หูได้ยินเสียงนะ แต่ใจก็ลอยไปคิดเรื่องอื่น เรารู้สึกตัวไหม
หรือเรา สมมุติเรากินข้าวอยู่ เราก็รู้สึกนะ กินข้าว รู้ตัวเองว่ากินข้าว แต่เรากินด้วยความเพลิดเพลินในรสชาติ อื้ม อร่อย คิดปรุงแต่งไปต่อกับรสชาติที่มันเกิดขึ้น เนี่ย
ไม่ใช่เราแค่ว่าเรารู้ว่าเราทำอะไรนะ หรือว่าเห็นร่างกายมันทำอะไรแค่นั้น แต่สำคัญคือ ให้รู้สึกด้วยว่า กำลังทำอย่างไร ทำแบบเราจมเข้าไปในสิ่งที่เราทำ เราเพ่งเข้าไปในสิ่งที่เราทำ หรือบางทีเราก็ทำเป็นแบบสัญชาตญาณนะ แต่ก็ ใจก็ลอย
เอาง่าย ๆ อย่างเวลาแปรงฟันอย่างนี้ บางทีเราก็แปรงฟันเป็นแบบสัญชาตญาณนะ แต่เวลาเรา เวลามันรู้สึกตัวขณะที่แปรงฟัน อ๊อ เราจะเห็นเลยว่า บางครั้งมันเกร็งไปไหม หรือมันก็ผ่อนคลายในการแปรงฟัน
หรือเวลาเราฟังคนอื่นพูดน่ะ ฟังธรรมะ หรือฟังอย่างอื่นก็ได้นะ ถ้าเรารู้ว่าเราฟังอย่างไร จะเห็น บางคนตั้งใจฟังมาก สนใจมาอยู่กับการฟัง พอเขาไม่พูดนะ ใจเราก็แบบ ไปรอฟัง นั่นคือ ถ้าเราเห็น อ้อ เราฟังแบบจดจ่อเกินไป เพ่งจ้องเกินไป มันก็จะ มันส่งใจไปอยู่กับผู้พูด ส่งใจไปอยู่ที่เสียงที่จะได้ยิน ถ้าใครฟังแบบ เฝ้าเกินไป หรือรอมากเกินไป หรือบางคนก็ฟังแบบหูทวนลม ฟังแบบ แทบไม่อยากฟังนะ ปิดหูตัวเอง หรือฟังไปสักแต่ว่าฟังนะ แต่ก็ใจก็ฟุ้งซ่าน อันนี้ยกตัวอย่าง เวลาเราฟัง เราก็เห็นนะ ฟังอย่างไรนะ สำคัญกว่าแค่รู้ว่าทำอะไร
รู้ว่าทำอะไรเนี่ย มันเป็น basic รู้ว่ายืน เดิน นั่ง นอน รู้ว่ากิน ดื่ม ขับถ่าย มันก็ดีนะ แต่เราต้องรู้ด้วยว่าเรารู้ ขณะที่ทำอยู่เนี่ย เรารู้สึกตัวอย่างไรด้วย เพราะการที่เรารู้สึกตัว แล้วรู้สึกตัวอย่างไรเนี่ย มันทำให้เราเห็นว่า เห็นความสุดโต่งน่ะครับ ความเพ่งเข้าไปในการทำสิ่งนั้น หรือในการรู้สิ่งนั้นเกินไปหรือเปล่า หรือเราเห็นว่า เอ๊ะ มันอ่อนเกินไป มันเบาเกินไป มันรู้อยู่ แต่มันรู้แบบเบาเกินไป จนแบบ ความคิดฟุ้งซ่านไปยาวเลย อย่างนี้ เนี่ย มันให้เราสังเกตได้ ถ้าเราเห็นตัวเองว่า เออ มันรู้ตัวอย่างไรนะ อ๋อ เราจะเห็น อ้อ บางทีก็มากเกินไป บางทีก็น้อยเกินไป บางทีก็พอดี เราจะรู้จัก อ๋อ ความพอดีมันเป็นแบบนี้ มากไปเป็นแบบนี้ น้อยไปเป็นแบบนี้
อันนี้ก็ มันทำให้ ผมมองนะ หรืออาตมามองว่า ที่จริงปฏิบัติธรรมแล้วมัน ไม่ใช่เราจะไปรู้อะไรพิเศษนอกตัว แต่เหมือนเราเห็นตัวเอง เวลาปฏิบัติแล้วมันจริงจังมากไปเป็นแบบไหน ผ่อนสบายเป็นแบบใจลอยหรือฟุ้งไปเลย มากไปเป็นแบบไหน มันเห็น แล้วก็ มันจะค่อย ๆ กลับมาเป็นทางสายกลาง แบบ อ๊อ ใจก็จะค่อย ๆ เข้าร่องรอยตรงความเป็นกลาง ความพอดี โดยที่ไม่ต้อง แบบ พยายามจะพอดี คือแบบ ถ้าเราพยายามจะพอดีนะ มันก็ไม่ใช่นะ เหมือนบางคน แบบ เอ๊ะ พยายามจะเดินแบบไหนให้มันพอดี พยายามจะยกมือแบบไหนให้มันพอดี อันนั้นก็ไม่ใช่แล้ว แต่จริง ๆ มัน ผมรู้สึกว่าความพอดีมันคือ ความที่เราเห็นความไม่พอดี เห็นแบบ เอ๊ะ มันจริงจังเกินไปเป็นแบบนี้ หรือเวลามันแบบ ทำแบบสัญชาตญาณเกินไปเป็นแบบนี้ อ๊อ มันอ่อนเกินไป มันก็ค่อยปรับ ความพอดีมันคือการที่รู้ทันความสุดโต่ง มันก็เลยพอดี คือเราจะไปหาความพอดีแบบ ทำให้มันเป๊ะ ๆ เลยเนี่ย ก็ไม่ใช่นะ อันนี้จากประสบการณ์นะ ว่า แต่ก่อนเราไปหาความพอดี แต่พอเรามารู้ทันความไม่พอดี มันพอดีเอง
อันนี้ก็เลยแบบ ส่วนตัวก็มองว่า ที่จริงเรามีสติแล้วเราเห็น อ๋อ ไอ้ตัวรู้นี่แหละมันรู้อย่างไรสำคัญมาก ถ้าเราไม่รู้เท่าทันว่า มันก็เหมือนจะรู้นะ แต่ไม่รู้ว่า รู้แบบเพ่งจ้องเกินไปเป็นแบบไหน หรือรู้แบบเบาเกินไปเป็นแบบไหน มันจะกลายเป็นแบบ เราก็ทำโดยที่เคยชินตรงนั้น แต่พอเราเห็น อ้อ มากเกินไป มันก็พอดี แต่ความพอดี บางทีมันก็ไม่ได้ว่าเป๊ะตลอดเวลานะ เราอย่าไปคิดว่าพอดีคือ มันพอดีแล้วก็ต้องอยู่แบบนั้นตลอด ไม่ตลอด เพราะสภาวธรรมทั้งหลายมันก็ มันไม่เที่ยงนะ ความพอดีมันก็ มันก็ไม่ได้ตลอด แต่มันทำให้เราเห็นว่า อ๋อ คำว่ารู้แบบด้วยใจเป็นกลาง รู้ด้วยใจตั้งมั่น รู้แบบไม่ได้แบบ ตึงเกินไป หย่อนเกินไปเนี่ย มันจะใกล้เคียงกับ หรือว่ามันเป็นคำที่หลวงพ่อ หรือครูบาอาจารย์ท่านพูดว่า รู้แบบซื่อ ๆ รู้แบบบริสุทธิ์ หรือรู้แบบเป็นกลาง ไอ้ตัวนี้เป็นสิ่งที่สำคัญนะ
ผมว่าที่จริง การฝึกความรู้สึกตัวเพื่อนำไปสู่สภาวะการรู้ตัวด้วยความตั้งมั่น แล้วก็ความเป็นกลาง แล้วก็เป็นการรู้สึกตัวที่มันเป็นแบบเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติ ไม่ได้แบบ ไม่ได้จงใจ ไม่ได้พยายามจนเครียด เมื่อไหร่พอเรารู้สึกตัวแบบเป็นธรรมชาติ แล้วมัน การรู้ตัวมันก็ง่ายแล้ว ไม่ได้ยาก
เหมือนแต่ก่อน รู้สึกตัวนี่มันยาก แต่พอทำไปทำมา อ้าว รู้สึกตัวมันง่ายนะ มัน พอมันเกิดตัวรู้ของมันเองน่ะ มันรู้ตัวแบบง่าย ๆ ทำอะไรมันก็รู้ของมันเอง มันง่าย นั่นคือพอรู้สึกตัวเป็นนะ มันก็เป็นกลาง มันก็ง่าย
แต่ก็ ก็ไม่ใช่หยุดแค่นี้นะ เพราะที่จริงแล้ว การรู้สึกตัวเป็น หรือว่าการรู้ซื่อ ๆ เป็นเนี่ย สิ่งสำคัญคือนำไปสู่การ การเข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริง จะเรียกว่า รู้แบบเข้าใจ เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง คือเห็นอะไร เห็นรูป เห็นนาม มันแสดงความจริงนั่นแหละ ไอ้ตัวนี้มันเป็น มันนำไปสู่การมีปัญญา คือเรารู้สึกตัวแล้ว เราไม่ได้ทำอะไรเลยน่ะ ไม่ได้ทำอะไรกับสภาวะ ความเป็นกลางจริงคือ เราไม่ได้ไปแทรกแซงกับสภาวะ แต่สภาวะน่ะ มันแสดงความจริงให้เห็นเองว่า อ้าว มันก็เกิดของมันเองเนาะ แล้วสักพักหนึ่ง เอ้อ เดี๋ยวมันก็ไปของมันเองเนาะ
หรือบางทีเราก็เห็นความบีบคั้นของสภาวะนะ มันเป็นทุกข์อย่างไร เวลาเราเห็นร่างกายมันเป็นทุกข์ อ๊อ ร่างกายมันเป็นทุกข์เนาะ หรือจิตใจเอง เวลาเกิด ความคิด (ฟังไม่ชัด) มันก็เป็นทุกข์ของมันเนาะ มันเกิดของมันเองเนี่ย มันก็เป็นอนัตตาละ บังคับก็ไม่ได้ เกิดขึ้นมาสักพักหนึ่ง เดี๋ยวมันก็เปลี่ยนไป เดี๋ยวมันก็หายไป อ๊อ พอเราเห็นเนี่ย รูปนาม อ้าว มันเกิดดับของมันเนาะ มันเกิดดับของมัน เราไม่ได้ทำอะไรนะ คือปฏิบัติธรรมมัน
ผมว่า ถ้าเราเข้าใจความเป็นกลางของการดู การรู้ เนี่ย แล้วเราไม่ไปแทรกแซงสภาวะ แล้วเราเห็นสภาวะมันเป็นของมันเอง นี่คือความเป็นจริงนะ เราไม่ได้ปฏิบัติธรรมเพื่อเราไปตัดความคิด เราไม่ได้ปฏิบัติธรรมเพื่อเราละกิเลส แต่เห็นว่าความคิดหรือกิเลสเนี่ย มันดับไปของมันเอง มันเกิดของมันเอง มันก็ดับไปของมันเอง เนี่ย ไม่ได้ทำอะไร เนี่ย คือ มันจะ อ๊อ มันไม่ใช่เราทำ
ปฏิบัติธรรมเนี่ย ไม่ใช่เราทำให้จิตใจเราสะอาด ปฏิบัติธรรมไม่ใช่ทำให้เรา เราละกิเลส หรือไม่ได้ปฏิบัติธรรมเพื่อเราตัดความคิด แต่มันเห็นว่า อ๊อ แค่รู้เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไรกับมันนะ เดี๋ยวความคิดมันก็ดับไปของมันเองนะ แค่รู้เฉย ๆ ว่ามันโกรธ เดี๋ยวความโกรธมันก็ไปของมันเอง แค่รู้เฉย ๆ ว่ามันอยาก เดี๋ยวตัวอยากมันก็ถูกละไปของมันเอง มันไม่ใช่การที่เราไปทำ แต่เป็นการแค่รู้ โดยไม่ทำ แล้วธรรมที่เป็น ธ ธง มันก็แสดงภาวะว่า อ๊อ มันเกิดดับอย่างไร มันไม่เที่ยงอย่างไร มันบังคับไม่ได้อย่างไร มันไม่ใช่ตัวตนของเราอย่างไร อ๊อ อันนี้คือมันเป็นการรู้ด้วยสติปัญญา
เนี่ย คืออันนี้เป็นสิ่งสำคัญมากว่า การปฏิบัติธรรมไม่ใช่เพียงแค่มันรู้ตัวเฉย ๆ นะ ข้อเท็จจริงความรู้สึกตัวเฉย ๆ น่ะ มันยังเจริญได้ แล้วก็เสื่อมได้ บางทีเราขยันทำต่อเนื่องเรื่อย ๆ มันเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เกิดความรู้สึกตัวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ แต่พวกนี้มันก็เสื่อมได้
แต่ถ้ารู้ด้วยปัญญาเนี่ย ปัญญาไม่เสื่อม ถ้าเข้าใจความจริงด้วยปัญญา เห็นไตรลักษณ์ เข้าใจสมมุติเข้าใจปรมัตถ์จริง ๆ เนี่ย มันไม่เสื่อม ตัวปัญญาน่ะ แม้สติมันอาจจะเกิดดับ เพราะสติเองก็เป็น ธาตุที่ ที่สังขารอยู่ มันเกิดดับ ไม่ได้อยู่ตลอดเวลา แต่ตัวปัญญาที่เข้าใจความจริงน่ะ มัน ถ้ามันเข้าใจแล้ว ก็เข้าใจเลยนะ แม้แต่ หรือ แต่คำว่าเข้าใจแล้วเข้าใจเลย ไม่ใช่ว่าจะยังพ้นทุกข์แล้วนะ ก็ยังทุกข์อยู่ แต่ แต่มันก็เข้าใจว่า อ้อ สังขารมันไม่เที่ยงแบบนี้เนาะ แต่บางทีมันก็ยังหลงเข้าไปเป็นทุกข์ เพราะว่าอะไร บางทีมันก็ห้ามไม่ได้ที่จะเผลอเข้าไปแทรกแซง แต่ถ้าเราฝึกบ่อย ๆ อ๊อ ก็จะเห็นการเผลอเข้าไปทำกับมัน แล้วก็ไม่ต้องทำอะไร เดี๋ยวมันก็แสดงความจริงของมันเอง อันนี้เรียกว่ารู้ด้วย ด้วยปัญญา รู้ด้วยปัญญา เนี่ย
อันนี้ พูดคนเดียวไป ก็ไม่ค่อยถนัดนะ พูดแบบนี้ แต่ก็ลองพูดคนเดียวไป
แต่ถ้าจะสรุปด้วยสิ่งที่เราปฏิบัติธรรม ผมว่ามันมี 3 แบบ ให้เราลองสังเกตว่า เวลาเราปฏิบัติแล้วเป็นแบบไหนนะ
ผมว่าขั้นแรกก็คือเนี่ย การสร้างความรู้สึกตัว รู้สึกตัวให้เป็น เมื่อรู้สึกตัวเป็นนะ มันก็จะนำไปสู่การรู้สึกตัวทั่วพร้อม มันไม่ใช่รู้แต่กายอย่างเดียว หรือไม่ได้ไปเฝ้าดูแต่จิตอย่างเดียว แต่มันเป็นการรู้ทั้งกาย แล้วก็จิต แล้วก็สิ่งที่มันเกิดขึ้นรอบตัว อันนี้คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเมื่อเราฝึกสติบ่อย ๆ
และเมื่อเราฝึกตรงนี้บ่อย ๆ ตัวสำคัญอีกอย่างก็คือ มันไม่ใช่แค่ว่าเรารู้ว่าเราทำอะไร แต่คือรู้สึกด้วยว่า ทำอย่างไร เพ่งจ้องเกินไป หรือว่า หย่อนเกินไป อันนี้สำคัญ เพราะว่ามันจะนำไปสู่สภาวะที่เรียกว่า รู้ซื่อ ๆ รู้แบบไม่เข้าไปแทรกแซง เนี่ย
พอเรา รู้ซื่อ ๆ รู้แบบไม่แทรกแซง ไม่ได้ทำอะไรเลย แต่คราวนี้ สภาวะมันจะแสดงความจริงให้เห็น มันเป็นไตรลักษณ์อย่างไร มันเกิด ดับอย่างไร มันเป็นทุกข์อย่างไร มันหลงเข้าไปยึดอย่างไร มันแสดงกลไกการการเกิดกิเลส การเกิดอุปาทาน การเกิดตัวตน การเกิดทุกข์ นี่เรียกว่าเป็นการขั้นที่ 3 คือรู้ด้วยสติปัญญา
เนี่ย ผมว่าการปฏิบัติธรรมมัน มันนำมาสู่สภาวะตรงนี้มากขึ้น ก็ ในที่นี้ ก็คงมีทั้งผู้ที่ปฏิบัติเก่า แล้วก็ผู้ที่ปฏิบัติใหม่ ก็เบื้องต้นนะ เห็นคนดำเนินรายการว่าใช้เวลาสัก 40 นาที ในการเทศน์ ในการพูดธรรมะ ผม หรือว่าอาตมาก็ใกล้เคียง สมควรแก่เวลา ประมาณ 40 นาที ที่ได้พูด แต่มันก็เหมือนเป็นการพูดฝ่ายเดียว ก็ไม่รู้ว่าคนอื่นจะเข้าใจ หรือว่าสงสัยอะไร ก็ อันนี้ก็พูดสิ่งที่คิดว่าเป็นข้อสรุปจากการปฏิบัติของตัวเอง ให้ทุกท่านได้ ได้ยินได้ฟังไว้นะ
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.