Episodes
Sunday Nov 07, 2021
วันที่2_09 การเจริญสติ พม.ราเชน 191163
Sunday Nov 07, 2021
Sunday Nov 07, 2021
การเจริญสติคืออะไร เข้าใจหรือยัง ตอนนี้เรื่องในหัววางลงหรือยัง เสียงในหัว เรื่องในหัว ภาษาในหัว เห็นไหม เราจบจากการทำวัตรสวดมนต์หรือยัง เราจบจากการอาบน้ำอาบท่า เราจบจากบ้าน จบจากข้างนอก กายกับใจอยู่ตรงนี้พร้อมกันหรือยัง เริ่มตรงนี้ เมื่อกี้ที่เราสวด เห็นไหม นั่งภาวนาไปนะ เมื่อกี้ที่เราสวด ขันธ์ทั้ง 5 เป็นของหนัก อะไรคือขันธ์ทั้ง 5
ตอบได้หมดเลย ภาษาน่ะ สัมผัสได้ไหม ตอนนี้น่ะ เราสัมผัส ได้ไหม ภาระเนี่ย ภาระที่ปรากฏอยู่ตอนนี้ เห็นไหม รูป เวทนา สัญญา วิญญาณ เราวางได้ไหม ถ้าวางรูปตอนนี้มันไม่หายใจ ตายนะ เราต้องวางไหม รูป เวทนา อะไรคือรูป ที่นั่งเด่ๆ อยู่เนี่ย ที่เป็นก้อนที่สัมผัสได้ เป็นภาระไหม อันนี้ เมื่อกี้เพิ่งจับมันไปอาบน้ำมา ถ้าไม่อาบน้ำให้มันสักวันหนึ่ง เป็นอย่างไร ไม่ตัดเล็บ ไม่แปรงฟัง ใครติดสวยติดงาม ลองไม่แปรงฟังดูสัก 2 วันนะ แล้วจะเข้าใจเลยว่า อสุภะกรรมฐานมันไม่ใช่เรื่องต้องไปดูศพในป่าช้าเลยนะ ไปยืนมองตัวเองหน้ากระจก แล้วก็หายใจใส่กระจกดูน่ะ ชัดๆ เลยล่ะ นั่นแหละ ภาระ รูป ตอนนี้ไม่ต้องวางอะไรมัน ปล่อยมันไว้เป็นตรงนี้ อย่าเพิ่งเอามันไปทำหน้าที่อะไร เอารูปมาทำหน้าที่ ที่เรามีเจตจำนง เจตจำนงตอนนี้คือการเจริญสติภาวนา เพราะฉะนั้นการเอารูปมาวางไว้ตรงนี้ สัมผัสธรรมชาติที่เกิด เมื่อรูปปรากฏ สิ่งที่ตามกันมา วิญญาณ เวทนา สัญญา เห็นไหมว่ามันก็มีเราอยู่ตรงนี้ มีความรู้สึกบางอย่างที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ อาการตึง อาการหย่อน ความรู้สึกร้อน ความรู้สึกเย็น ที่มันกำลังปรากฏ สิ่งเหล่านี้ไม่ต้องวาง มันเป็นภาระ แต่เป็นภาระที่จำยอม ใครอยากหมดภาระนี้บ้าง เอาไปฝังดินคืนซะ เราจะหมดภาระ ให้เป็นภาระของต้นมะม่วงไป ต้นมะม่วงจะเอาธาตุเหล่านี้ไปใช้หน้าที่ต่อ แต่เรายังต้องใช้เขา เพราะฉะนั้นภาระหน้าที่คือการดูแล เมื่อเราดูแล เราก็มีสิทธิ์ใช้สอย ดูแลดี ก็ได้ใช้สอยดีขึ้น ดูแลไม่ดี ดอกเบี้ยก็ไม่เจริญ ฝากเงินในธนาคารผิดที่ ดอกเบี้ยไม่เจริญ อาตมาแนะนำให้เล่นหุ้น แต่ในขันธ์ทั้ง 5 อะไรคือส่วนที่เราวางได้ง่าย เมื่อกี้มี 4 ขันธ์นะอีกขันธ์นึงคืออะไร สังขารขันธ์ จะเห็นตอนไหนสังขารขันธ์ ตอนที่ภาพปรากฏในหัวคุณอยู่ตอนนี้ เห็นไหม หน้าอาตมากับภาพในหัวน่ะ ตาคุณที่มองอาตมาอยู่เนี่ย กับภาพในหัวคุณเป็นภาพเดียวกันไหม ลองดูซิ เมื่อกี้นี้ก่อนอาตมาจะทักน่ะ ภาพในหัว ภาพในใจคุณ กับสิ่งที่ตาคุณเห็นเนี่ยเป็นเรื่องเดียวกันไหม
ถ้ามันเป็นคนละเรื่อง นั่นแหละสังขาร ใจคุณมันอยู่กับตรงนี้ไหม ใจคุณสัมผัสถึงอาการที่มันกำลังตึง กำลังหย่อน บางคนกำลังยกมืออยู่เนี่ย ใจเราสัมผัสไหม หรือใจเราสร้างภาพอะไรบางอย่างที่ไม่ใช่สิ่งนี้ เรารู้ไหม เรารู้ตัวขึ้นไหม ว่าภาพในหัว ภาพในใจ กับสิ่งที่กำลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเราเนี่ย มันเป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นคนละภาพ เผลอแป๊บเดียวนะ มันจะมีภาพอื่นปรากฏอีกแล้ว เห็นไหม นั่นแหละเขาเรียกว่า การเผลอคิด
จิตเราน่ะมีธรรมชาติของการเผลอคิดโดยธรรมชาติวิสัย หน้าที่ของอวิชชา หน้าที่ของตัณหาอุปาทาน เขาจะพยายามทำอย่างไรก็ได้ ที่จะสร้างบางอย่างขึ้นภายในเขา ขึ้นมาซ้อนกับโลกความจริงที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้า อันนั้นเป็นธรรมชาติ และเป็นหน้าที่เขา หน้าที่ของเขา สร้างอะไรบางอย่างขึ้น เพื่อให้เราอยู่กับเขา สร้างอารมณ์ขึ้น สร้างความรู้สึกขึ้น สร้างมายาภาพขึ้น สร้างโลกจำลองขึ้น ในหัว ในใจเพื่อกักขังเราไว้ในนั้น ทั้งๆ ที่ตาเราเห็นอยู่เฉพาะหน้า หูเราได้ยินเสียงอยู่ กายเรากำลังกระทบ สัมผัสสิ่งจริงๆ อยู่เฉพาะหน้า แต่ใจ ธรรมชาติของกิเลส ตัณหา อุปาทานทั้งหมด เขามีหน้าที่เดียว คือ สังขาร ปรุงขึ้น สร้างขึ้น เพื่อบดบังความจริงเฉพาะหน้า เมื่อเขาทำงานสำเร็จ กาลเวลาที่เกิดขึ้น คือสิ่งที่ เราสวดมนต์เมื่อกี้นี้
พวกเราที่อายุ ไม่ใช่น้อยเนาะ ไม่ใช่น้อยเนี่ย นับโดยอะไร เรานับโดยอะไร ไม่ใช่น้อย เรานับโดยอดีต ใช่ไหม เรานับอายุเนี่ย เรานับโดยอดีตใช่ไหม มีใครนับอายุโดยอนาคตบ้าง ฉันอายุได้ 120 ปีแล้ว เรานับโดยอดีตนะ แต่ชีวิตจริงๆ แท้ๆ เลยน่ะ อยู่ตรงไหน ภาษานะตอบได้ เก่งมาก แต่สัมผัสได้อย่างนั้นไหม ว่าชีวิตจริงๆอยู่ตรงนี้ อยู่ตรงนี้ อยู่ตรงนี้ อยู่ตรงนี้ ตรงที่ลมหายใจกำลังเข้า ตรงที่อาการเคลื่อนน่ะ อาการไหวที่กำลังปรากฏนี่ นี่คือชีวิตจริงของคุณนะ เราทุกคน เมื่อนับโดยอดีต มีอายุที่ต่างกัน แต่เมื่อนับโดยปัจจุบันขณะแท้ๆ เราอายุเท่ากัน เพราะปัจจุบันขณะไม่ได้ลำเอียงให้ใครมากกว่ากันน้อยกว่ากัน มันเกิดอยู่ที่นี่พร้อมกัน
เสียงของอาตมาที่พูดไป คุณจะนั่งท้าย หรือนั่งข้างหน้า เสียงกระทบเหมือนกัน นี่คือเวลาปัจจุบันขณะแท้ๆ เพราะฉะนั้น บทสวดเมื่อกี้ เขาจึงบอกว่า คนทั้งหลายใช้เวลาและชีวิตอยู่ภายใต้กาลเวลาที่ล่วงไปแล้ว กับกาลเวลาที่ยังไม่มาถึง เวลาที่ โลกของสังขาร โลกของความคิด โลกของอารมณ์ในใจ เขาทำงานสำเร็จ เวลาของโลกของอวิชชาทำงานสำเร็จ เขาจะดึงโลกอดีต ดึงโลกอนาคต ขึ้นมาสร้างและซ้อนทับกับ ชีวิตปัจจุบัน เราคิดว่าเราได้ใช้ชีวิต เราคิดว่าเราดำเนินชีวิตอยู่กับปัจจุบัน แต่แท้ที่จริงแล้วใจเรากำลังอยู่กับโลกอดีต และโลกอนาคต ซึ่งเขาสร้างและถักทอขึ้นมา และกักขังเราเอาไว้ในโลกจำแลงนั้น เอาไว้ในโลกนั้น เรารู้ตัวหรือไม่ ใครรู้ตัวก่อน คนนั้นก็จะออกมาจากโลกในใจนั้นได้ มาสู่ชีวิตจริงๆ ใครที่ตื่นขึ้นมาได้ จากโลกของอดีต โลกของอนาคต รู้จักโลกของความจริง ปัจจุบันขณะที่แท้จริงนี้ได้ การเป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ถ้าคุณชัดเจน แจ่มแจ้ง ต่อปัจจุบันอย่างแท้จริงนะ นั่นแหละ แม้เพียงราตรีเดียวก็น่าชื่นชมแล้ว
มีคนอีกเป็นร้อยเป็นล้าน เป็นพัน ที่เกิดกันมาและตายไปโดยไม่รู้สัจจะความจริงข้อนี้ เป็นเรื่องน่าเศร้าไหม อาจจะเพิ่มเราเป็นหนึ่งในนั้นนะ อันนี้น่าเศร้ากว่า คนที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว และตายแล้ว โดยไม่รู้สัจจะความจริงข้อนี้มีเยอะมาก เหมือนคนนอนหลับและก็ไหลตายไป คำในเชิงพระอริยะท่านเปรียบเทียบไว้แบบนี้ คนที่ยังไม่ตื่นรู้ ชาวโลกทั้งหลาย ที่ยังจมอยู่ในโลกของสังขาร สำหรับพระอริยะ ผู้ที่ตื่นรู้แล้วเปรียบเหมือนเห็นคนนอนหลับ แล้วไหลตาย หมายถึงพวกคุณน่ะ ที่ยังไม่รู้สัจจะความจริงข้อนี้ หมายถึงพวกคุณนั่นแหละ ที่ยังออกจากโลกในใจในหัวตัวเอง มาสู่โลกความจริงไม่ได้ โลกในใจในหัว ทำงานสำเร็จเมื่อไหร่ จะกลายเป็นภาพ เสียง ภาษาและความเชื่อ สิ่งที่คุณนั่งอยู่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่คุณตอบว่า ฉันอายุเท่านั้นปี เท่านี้ปี มาจากข้อมูลไหนล่ะ อดีต และเขาก็บอกคุณว่า ถ้าคุณเกิดปีนั้น นับมาถึงปีนี้ คุณจะอายุเท่านี้ ชุดข้อมูลนี้คืออะไร ความเชื่อไง โลกจึงอยู่ด้วยอดีตและอนาคต และความเชื่อ แต่โลกแห่งการภาวนา โลกแห่งการเจริญสติ โลกของการศึกษาพุทธะ เราไม่ใช้อดีต ไม่ใช้อนาคตเป็นหลัก เราใช้ความจริงเป็นหลัก เราใช้ปัจจุบันขณะเป็นหลัก เราใช้สิ่งที่กำลังเกิดตอนนี้เป็นพื้นฐาน
แต่ในขณะที่เราใช้ปัจจุบันขณะ สิ่งที่เกิดปัจจุบันขณะนี้เป็นฐาน แต่สิ่งนี้ก็สืบเนื่องจากอดีตเช่นกัน เราปฏิเสธอดีตไม่ได้ ปฏิเสธอนาคตไม่ได้ เราปฏิเสธไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นอนาคตที่เกิดขึ้นของอดีต ปัจจุบันแท้ๆ เป็นอย่างไน ที่เราเรียกว่าเจริญสติอยู่กับปัจจุบันเนี่ย เข้าใจไหมว่าปัจจุบันแท้ๆ คืออะไร ปัจจุบันแท้ๆ คือ การไหลผ่าน ไม่ใช่การคงอยู่ เห็นไหม เสียงอาตมาแต่ละขณะ มันไหลผ่านคุณแล้วก็เปลี่ยนเป็นเสียงอื่น เปลี่ยนเป็นคลื่นความถี่อื่น มือเราที่เคลื่อนแต่ละขณะ ลมหายใจที่เข้าและออกแต่ละขณะ เห็นไหมว่ามันกำลังไหลผ่าน มันไม่มีอะไรคงอยู่นะ มันไม่มีอะไรคงที่ หายใจที่เข้า เห็นไหมว่ากลายเป็นอดีต อดีตไม่ได้มีอยู่จริง ปัจจุบันก็ไม่มีจริงเช่นกัน แต่เพราะมีอดีตจึงมีปัจจุบันและมีอนาคต เพราะทั้ง 3 สิ่ง ไหลผ่านเป็นเนื้อเดียวกัน นี่แหละเรื่องของกรรมและวิบาก ในพุทธศาสนา ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆ ทุกสรรพสิ่งล้วนเกี่ยวพันเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน ที่เราอายุ ณ ปัจจุบันนี้ ถ้านับโดยอดีตเท่านั้นเท่านี้ ก็เป็นเหตุ ที่ต่อเนื่อง มาแต่เหตุเดิม อดีตเดิมแล้วมันก็ไหลผ่าน ไหลผ่าน ไหลผ่านมาจนถึงตรงนี้ รูปร่างหน้าตาเราก็เลยเหี่ยวแบบนี้ แล้วมันก็กำลังจะเป็นเหตุที่เหี่ยวต่อไปเรื่อยๆ ที่เป็นอนาคต นี่แหละคือกระบวนการของปัจจุบันขณะ
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแท้จริง สิ่งที่เกิดขึ้นแท้จริง ล้วนเกิดอยู่ตอนนี้ สิ่งที่เรียกว่าปัจจุบัน และในปัจจุบันแท้ๆ เนี่ย คือการไหลผ่าน ผ่านทางไหน ผ่านผัสสะ อายตนะ
อะไรคือผัสสะ อะไรคืออายตนะ ชื่อมันฟังดูแปลกใช่ไหมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไอ้สิ่งที่มันกำลังกระทบและรู้สึกได้ รับรู้ขึ้นได้ คุณเชื่อไหมว่าตอนนี้มีเครื่องบิน กำลังบินอยู่ คุณเชื่อไหมว่า ตอนนี้มีเสียงนก คุณเชื่อไหมว่ามันมีอยู่ เชื่อหน่อยเถอะ อาตมาไม่โกหกหรอก ไม่เอาผิดเอาถูกขนาดนั้นหรอก เชื่อหน่อยก็ได้ แต่เราไม่ได้ยินใช่ไหม ทำไมเราจึงไม่ได้ยิน ใช่ เพราะมันไม่กระทบ การกระทบเนี่ย จึงเรียกว่าผัสสะ การกระทบนี้เรียกว่าผัสสะ เพราะมันมีสิ่งนั้นอยู่ ปัจจุบัน ปัจจุบันแท้ๆ ปัจจุบันธรรม
ปัจจุบันธรรมคือทุกสิ่ง มันมีอยู่ของมันหมดเลย แต่มันยังไม่เกิดการกระทบกัน เสียงมีอีกสารพัดเสียง แต่เราไม่ได้ยิน เพราะยังไม่ได้กระทบหู พอเสียงอาตมาที่พูดตอนนี้ เกิดการกระทบหู มันจึงเกิดการรับรู้ขึ้น ปัจจุบันขณะอยู่ตรงนี้ ปัจจุบันนี้เรียกว่าปัจจุบันขณะ นับที่กำลังกระทบและมันสัมผัสได้ สัมผัสได้ง่ายที่สุด เสียงสัมผัสยาก บางทีก็เปลี่ยนแล้วใจชอบสร้างภาพซ้ำ
สิ่งที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 ส่วนนี้ ใน 5 ผัสสะอายตนะ นี้ เห็นไหมว่ารวมอยู่ที่กายหมดเลย เราลองสัมผัสเสียงข้างนอกดูซักเสียง เสียงอะไรก็ได้ เห็นไหมว่า ใจสร้างเป็นภาพขึ้น ลองหาเสียงรถข้างนอก ภาพรถก็ปรากฏตามเห็นไหม คุณลองสัมผัสเท้าคุณที่กระทบพื้นสิ ต้องมีภาพซ้ำไหม ความรู้สึกตึงๆ เย็นๆ ที่ขา มีความรู้สึกตรงๆ เลย ได้ไหม เห็นไหม อาการตึงๆ ปรากฏได้เลย ไม่ต้องมีภาพซ้ำ ความหนาว ความเย็น ที่กำลังกระทบมือเห็นไหม ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นได้ ตรงไปตรงมาใช่ไหม เห็นไหมว่าการกระพริบตามีอยู่ เมื่อกี้ก่อนพูดเห็นไหม ก่อนพูด อย่าขี้โกง โยมกำลังคิดเรื่องอื่น อาตมารู้นะ เห็นไหมว่ามันมีอยู่ มันมีอยู่ แต่เมื่อกี้เราลืม เวลาเราใช้เสียง เวลาเราใช้สิ่งอื่น ใจชอบสร้างภาพซ้ำ ภาพซ้ำต่อเหตุการณ์จริง ต่อการกระทบผัสสะจริง ลมหายใจที่เข้า ลมหายใจที่ออก เห็นไหมว่าเราไม่ต้องสร้างภาพซ้ำกับลมหายใจ อาการเคลื่อน ความต่างระหว่างหยุดกับเคลื่อน เป็นปฏิกิริยาบางอย่างที่เกิดขึ้น เห็นไหม เราไม่ต้องสร้างภาพซ้ำต่อสิ่งเหล่านี้ แต่มันสามารถสัมผัสได้เลยตรงๆ ว่ามีสิ่งที่เกิด มีความแตกต่าง สิ่งนี้มันง่ายและตรงไปตรงมา เพื่อให้เราฝึกเรื่องหนึ่ง ฝึกเรื่องหนึ่ง ที่ท่านอาจารย์ย้ำวันแรกๆ เมื่อกี้อาตมาบอกว่ากระพริบตามีอยู่ใช่ไหม พออาตมาพูดขึ้น คุณค่อยรู้ว่าคุณกระพริบตา ก่อนหน้าที่อาตมาจะบอก อะไรหายไป ใจที่มันรู้ ใจที่มันรับทราบต่อสิ่งที่กำลังปรากฏนั้น มันหายไป
ลมหายใจเรามีอยู่ใช่ไหม พอพูดลมหายใจ เห็นไหมว่ามันมาวืบเลย อะไรเพิ่มขึ้นมา ลมหายใจหรือว่าใจที่รับรู้ เออ นี่แหละคือการเจริญสติ นี่แหละคือการเจริญสติ ถ้าใจเราไม่รับรู้ไม่รับทราบต่อสิ่งเหล่านี้ ถ้าใจเรานะ ปกติของมนุษย์ทั่วๆ ไปที่เรียกว่าคนหลับ ที่เรียกว่าคนไม่รู้ตัว ใจเรามันอยู่ที่ไหน มันอยู่ก่อนที่ เราจะมารู้ลมหายใจนี่แหละ โลกในความคิด โลกในใจที่สร้างขึ้นตลอดเวลา โลกเหล่านั้นแหละ มันดึงข้อมูลจากอดีต ดึงเหตุผลจากอนาคต ดึงสารพัดเรื่อง ขึ้นมาสร้าง และถักทอขึ้นเป็นเรื่องเป็นราว เมื่อมันสร้างมาถักทอมาเป็นเรื่องเป็นราว แล้วเราจมอยู่ในโลกนั้น ลมหายใจมีตลอด ไม่เคยปรากฏต่อชีวิต การกระพริบตามีตลอด ไม่เคยปรากฏแบบตระหนักต่อสิ่งนี้ การเคลื่อน การไหว การตึง การหย่อน ธรรมชาติแท้ๆ ธรรมชาติของชีวิต ธรรมชาติของปัจจุบันขณะแท้ๆ เกิดขึ้นร่วมกับเรา แสดงตัวร่วมกับการมีเรา แต่เขาถูกละเลย และไม่ถูกรับรู้ ไม่ถูกตระหนัก ไม่ถูกสัมผัส ใจเราไม่เคยเปิด ไม่เคยจูนสัญญาณ ที่จะรับรู้สัมผัสต่อสิ่งเหล่านี้เอาซะเลย และก็หมดเวลา ตายไป เราจะรู้สึกต่อสิ่งเหล่านี้ก็ต่อเมื่อทุกขเวทนาที่เกิดจากการกระทบสัมผัสเรานี้ บีบคั้นเรา พอเราปวดเมื่อย พอเราเจ็บ พอเราไม่ชอบ เราก็ตอบสนอง เปลี่ยน เราวิ่งหนีความจริง วิ่งหนีชีวิต วิ่งหนีสัจจะ วิ่งหนีเพื่อจมไปอยู่ในโลกของภาพในใจ ภาพในหัวต่อ เราจึงโดดจากความฝันเรื่องหนึ่ง วิ่งหนีไปในความฝันอีกเรื่องหนึ่งตลอดเวลา
บทสวดเขาถึงบอกเราไว้ว่า เมื่อใดที่เราตระหนักต่อเรื่องนี้ วางอดีต วางอนาคต วางภาระที่ไม่จำเป็นลง เอากายกับใจมาไว้ตรงนี้ แล้วนั่งเฝ้าดู เฝ้าเรียนรู้ดูว่า อะไรมันกำลังเป็นอะไร แยกให้ออก โลกที่แท้จริง ธรรมชาติที่เกิดจริง ชีวิต ณ ขณะนี้ ที่แท้จริง กับโลกที่ใจสร้างขึ้น อันไหนคืออันไหน การที่ตระหนักได้ สัมผัสรับรู้ได้อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แม้เพียงราตรีเดียวแล้วตาย ยังน่าชื่นชมกว่าคนที่อายุ 120 ปี แต่ไม่รู้เรื่องนี้ ขนาดนั้นนะ ภาษาโบราณเราถ้าเป็นภาษาไทยเขาจะเรียกคำหนึ่งว่า คนที่ฝึกภาวนา จนถึงพริบตาหนึ่งที่ ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น คืออันเนี้ย เมื่อใดที่ใจเราตื่นขึ้นมาจริงๆ ตื่นขึ้นมาสู่โลกความจริงนี้ได้ สักครั้งหนึ่ง มันจะรู้เลยว่า อ้อ ที่ผ่านมาเราแค่ฝัน ขนาดนั้น ภาวนาให้ถึงนะ ไม่ถึงก็สมน้ำหน้าแล้วล่ะ เชิญหลับต่อไป
ในช่วงวันต้นๆ สิ่งที่จะเป็นปัญหากับพวกเรานอกจากความเข้าใจว่า อะไรบ้าง ในภายใต้ภาษาว่าเจริญสติ ในภายใต้ภาษาว่า การภาวนา ตัวที่เป็นแก่น ตัวที่เป็นสาระ กับตัวที่เป็นเครื่องมือ เป็นวิธีการ มันคืออะไรแบบไหน เมื่อเราได้ยินได้ฟังหลักการ ในวันที่ 1 ที่ท่านอาจารย์ไล่กระบวนการให้ฟัง ทีนี้ สิ่งที่จะเป็นอุปสรรคเพิ่มขึ้น ใจน่ะสิ่งนี้คู่กันเสมอ มีเหล็กยังไงก็มีสนิม มันเป็นอย่างนี้แหละ
เวลาเราจะภาวนา จะเจริญสติ ในฟากกุศล ไอ้ฟากอกุศล ไอ้ฟากพญามาร ไอ้ฟากที่มันถ่วงแข้งถ่วงขา ยังไงมันก็มี ไอ้ฟากที่มันจะเจริญ ยังไงมันจะพัฒนาให้ได้ อีกฟากหนึ่งก็จะไม่ยอม ธรรมชาติเหล่านี้เป็นของคู่ สิ่งเหล่านี้เรียกว่านิวรณ์ เราเจอไหมวันนี้ ไม่เจอก็แปลกแล้วนะ นิวรณ์เหล่านี้จะหายไปจากเรา บางช่วง เมื่อกำลังของกุศลเจริญขึ้น นิวรณ์เหล่านี้ไม่ได้อยู่ตลอดเห็นไหม ความปวด ความเมื่อย ความเบื่อ ความขี้เกียจ ความอึดอัด อะไรทั้งหลาย มันเกิดขึ้นสักพักหนึ่ง แล้วมันก็หาย ไอ้โลกของคนที่ไม่ได้ภาวนาเมื่อความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้น เราโดดหนีไปเรื่องอื่น แต่วันนี้พอเราภาวนามากขึ้น เรารู้วิธี เราค่อยๆ เผชิญหน้ากับสิ่งที่พยายามจะดึง ดึงใจเราให้ไหลไปสู่โลกอดีต ไปสู่โลกอนาคต พอเราทำมากขึ้น กุศลเจริญขึ้น อารมณ์ที่มันเรียกว่านิวรณ์ มันก็จะตัวเล็กลง จิตเราก็จะตั้งมั่นมากขึ้น สิ่งที่จะได้กลับคืนมา คือสติ สมาธิ ความตั้งมั่นของใจ การรู้เนื้อ รู้ตัวของใจ ที่จะเพิ่มขึ้น มันจะค่อยๆ ทำไป ค่อยๆ พัฒนาไป จนถึงจุดหนึ่ง สติสมาธิมากเข้า ใจเราจะสัมผัสกับโลกความจริงเฉพาะหน้าได้บ่อยขึ้น ได้บ่อยขึ้น แต่ในวิธีการ ในเทคนิค ในปัญหาที่เราจะเจอ เราจะต้องค่อยๆ ทำ แล้วก็ศึกษาเรียนรู้ไปในแต่ละวัน ในครูบาอาจารย์ที่มาสอน รุ่นพี่ที่ภาวนาก่อน ล้วนต้องเจอสิ่งเหล่านี้ทั้งนั้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นสากล ใครบ้างไม่ง่วง ใครบ้างไม่เบื่อ ใครบ้างไม่ขี้เกียจ ใครบ้างไม่อึดอัดจนอยากจะเลิก ใครบ้างไม่บ่นพระอาจารย์ที่สอน
อาจจมีนะ น้อยคน ที่บ่นนิดเดียว บ่นนิดเดียว คอร์สแรกๆ ไม่บ่นเยอะ บางคนก็บ่นเยอะตั้งแต่คอร์สแรกเลย บางคน คอร์สแรกไม่บ่น คอร์ส 2 ไม่บ่น เริ่มบ่นคอร์ส 3 คอร์ส 2 คอร์ส 3 เริ่มชินกับพระอาจารย์ละ จะเริ่ม ความละอาย กลัวบาปเริ่มลดลง มันจะเป็นธรรมดา แต่ทีนี้ เทคนิค วิธีการ เทคนิคที่จะเพิ่มเติมสำหรับการผ่านนิวรณ์ในแต่ละวัน อารมณ์ในแต่ละช่วง จะเป็นหน้าที่ของ รุ่นพี่ จะเป็นหน้าที่ของครูบาอาจารย์ที่จะมาแนะนำ บอกกล่าวและก็เติมให้เราว่า ถ้าเจอแบบนี้ เป็นยังไง สิ่งนี้ควรเติม สิ่งนี้ควรจะเพิ่ม สิ่งที่ควรขยาย นั่นคือธรรมะในแต่ละวัน ที่จะได้ยินได้ฟังจากพระ ...
คอร์สไตรลักษณ์สู่ไตรสิกขา
ธรรมะเทศนาโดย พระมหาราเชน สุทธจิตโต
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 ช่วงค่ำ ณ ยุวพุทธิกสมาคมศูนย์ 2 ปทุมธานี
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
ช่องทางอื่นๆในการรับฟังธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.