Episodes
Monday Dec 28, 2020
วันที่3_08 ทบทวนหลัก รู้.. ออก.. ฝืน พจ.กระสินธุ์ 141063
Monday Dec 28, 2020
Monday Dec 28, 2020
ทบทวนหลัก ฝึกรู้.. ออก.. ฝืน
- ก่อนที่จะฝึกวาง ให้ทบทวนศึกษา ‘ภาวะรู้’ แบบเข้าใจทุกแง่ทุกมุม ด้วยการสร้างเหตุสร้างองค์ประกอบให้จิตได้ศึกษาและเรียนรู้อย่างถ่องแท้ก่อน เมื่อรู้แล้วก็จะวางเป็น ทั้งนี้ต้องไม่สร้างเหตุหรือสร้างองค์ประกอบบางอย่างที่ ‘เกินไปจากที่มันเป็นอยู่’ ตัวอย่างเช่น สร้างความสงบ สร้างอารมณ์ดีๆ หรือมุ่งมั่นสร้างสมาธิ หรือมุ่งมั่นจะกำจัดความคิด -> ให้รู้อย่างที่มันเป็นเท่านั้น
- หัวใจของการฝึก: รู้ ออก ฝืน และ วาง->คือ ‘การพาจิตให้พ้นจากอารมณ์’ โดยมีหลักว่า ต้องเรียนรู้อารมณ์จนเข้าใจ จึงจะทำให้จิต ‘วางอารมณ์’ ได้
- ปกติในชีวิตเรา มี’ภาวการณ์รับรู้’อยู่แล้ว แต่มีแบบไม่โดดเด่น มีแบบคลุมเครือ ไม่มีพละกำลังที่สามารถออกมาสู่ ‘การตื่นรู้’ ได้
- ดังนั้นให้ทบทวน ’จุดเด่น’ และ ‘หลัก’ ของการ ฝึกรู้ ฝึกออกและฝึกฝืน ก่อนที่จะฝึกวาง ดังนี้
- อาศัยรูป คือ กายกับสิ่งปรุงแต่งกาย และอารมณ์ของรูปทางทวารทั้ง 6 เป็นหลัก เพื่อให้ภาวะการฝึกเป็นแบบ ‘เจโตวิมุตติ’ ใช้เจตนาเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ ‘ปัญญาวิมุติ’ ซึ่งเป็นการใช้ความคิดเป็นที่ตั้ง แต่ท้ายที่สุดแล้วได้ผลเหมือนกันคือ ‘ให้ใจยอมรับ-ตามที่มันเป็นจริง’ ส่วนใหญ่พวกเราไม่ค่อยอยู่กับร่างกายอย่างที่เขาเป็น แต่พยายามจัดสรรให้อยู่ในรูปแบบที่เราต้องการ คือ ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่แก่ ไม่ตาย ซึ่งสวนทางกับความเป็นจริง ทำให้จิตดิ้นรน ต่อสู้ ขัดขืน เกิดทุกข์ทรมานตามมา
- รู้ปัจจุบัน รู้เรื่องราวต่างๆ เฉพาะหน้า เดี๋ยวนี้ ที่นี่ ตรงนี้ ที่มีการไหลผ่านตลอด คือ ‘รู้แล้วผ่าน’ ไม่ ‘แช่’ หรือ ‘จม’ ไปกับความคิด ซึ่งไม่ใช่อารมณ์ปัจจุบัน กล่าวอีกแบบหนึ่งคือ รับรู้ความเป็น ‘ขณะหนึ่ง’ ของรูปที่มากระทบ ‘รู้สั้นๆ ไม่ยาว’ เพราะอารมณ์ที่มากระทบเกิดสั้นๆ แต่ถี่ ใจแม้รับได้ทีละอารมณ์ แต่การรับรู้จะเร็วมาก ทำให้รู้สึกเสมือนว่าแต่ละอารมณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน
- ใช้อุบายช่วยการฝึก 2 ส่วน คือ ‘สร้างขึ้นแล้วรู้’ กับ ‘เกิดก่อนแล้วรู้’ จะใช้การยกมือสร้างจังหวะ หรือดูลมหายใจเข้าออก หรือบริกรรมพุทโธ อย่างไหนก็ได้ เป็นการฝึกให้จิต ‘รู้สึกตัว’ แต่อย่าติดในรูปแบบ ให้เข้าใจว่าแต่ละวิธีเป็นเพียงอุปกรณ์ หรืออุบายการฝึกรู้สึกตัวเท่านั้น
- ‘จุดเด่น’ และ ‘หลัก’ ของการ ฝึกออก มีดังนี้ : ใช้หลักเดียวกันกับการฝึกรู้ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ เพราะเมื่อจิตเข้าไปร่วมกับอารมณ์ เลียนแบบอารมณ์ ตามอารมณ์ ไม่ยอมออกจากอารมณ์ ก็ต้องช่วยให้มันออกมา เมื่อจิตเข้าไปร่วมกับอารมณ์จะสังเกตได้จาก :
- ความคิดยาวขึ้น มีความคิดเยอะขึ้น อารมณ์ที่เกิดยาววนเวียนไม่รู้จบ
- มีสิ่งที่หายไป คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (ผัสสะที่เกิดปัจจุบันหายไป)
- ถ้าจิตออกมาจากอารมณ์แล้ว -> ปัจจุบันจะชัด กายชัด ผัสสะตรงหน้าชัด ความคิดเมื่อวานหรือพรุ่งนี้จะไม่มี มีแต่เดี๋ยวนี้
- เมื่อรู้ว่าเข้า -> ก็คือออกแล้ว และเมื่อรู้ว่าออก -> ก็ไม่ยึดออกไว้
- ถ้าพยายามจะออกคือไม่ออก -> เพราะเป็นอาการของการเข้าไปแล้ว เช่นเมื่อรู้ว่าคิด แล้วพยายามออกจากคิด นี่ไม่ใช่ออก เป็นการคิดซ้อนคิด ถ้าเป็นภาวะของการออกจริงๆ จะไม่มีการสนใจอะไรเลย จะเข้า จะออก ก็ไม่สนใจ
- ให้เฝ้าดูความซับซ้อนของจิตที่หลากหลายลักษณะ แบบ ‘ซื่อๆ’ หรือ ‘รู้แบบซื่อๆ’ ตรงๆ ไม่สนใจว่าเขาจะหายหรือไม่หาย เพียงแต่รับรู้ทีละขณะๆ ผ่านไป แค่รับรู้พฤติกรรมของมันเฉยๆ จนเกิด ‘ภาวะอิสระจากอารมณ์’
- ‘จุดเด่น’ และ ‘หลัก’ ของการ ฝึกฝืน มีดังนี้ :
- สิ่งสำคัญในการฝึกฝืนคือ ตัวส่งเสริมสนับสนุน เพราะสิ่งนี้จะทำให้อารมณ์ทั้งหลาย-> มีกำลังมากขึ้น หรือทำให้อารมณ์ทั้งหลาย-> หมดกำลังลงได้ เป็นได้ทั้งฝ่ายดี และฝ่ายชั่ว
- ให้ใช้หลัก ‘อดทน’ และใช้ ‘ศรัทธา & วิริยะ’ เข้าช่วย เพื่อ ‘กล้า’ ที่จะเผชิญกับความเป็นจริง ไม่หลบ ไม่เลี่ยง ไม่เกี่ยงงอนใดๆ ทั้งสิ้น อดทนที่จะไม่ทำอะไร เพียงเป็นผู้ดู ผู้รู้ เท่านั้น
อาศัยการฝืน ‘กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม’ ซึ่งบางครั้งมโนกรรมอาจเข้าไปร่วมกับอารมณ์แล้ว เช่น โกรธ ขัดเคือง หรืออยากทำโน่นทำนี่มีคำสั่งในหัวมากมาย ก็ไม่ให้เอากายกรรมและวจีกรรมไปร่วม ให้ฝืนไว้ มีศรัทธาและความเพียร ไม่ย่อท้อ โดยเฝ้าดูและเรียนรู้เฉยๆ จะช่วยให้อารมณ์นั้นๆ ‘อ่อนกำลัง’ ลงได้
ช่วงนาทีของเนื้อหา :
05:26 พาจิตให้พ้นจากอารมณ์
08:37 จุดเด่นของการฝึกรู้ -- รูป
11:31 รู้ปัจจุบันเป็นหลัก
14:14 หลักในการฝึกรู้เบื้องต้น
18:28 หมูสนามจริง สิงห์สนามซ้อม
24:50 2 วิธีการฝึกรู้
28:19 จิต “เข้า” ไปในอารมณ์ – จิต “ออก” จากอารมณ์
37:34 สิ่งที่สนับสนุนให้เกิดกำลังฝ่ายดี และฝ่ายชั่ว
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม" วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เช้า ณ บ้านจิตสบาย
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.