Episodes
Thursday Dec 31, 2020
วันที่3_09 ฝึกวาง พจ.กระสินธุ์ 141063
Thursday Dec 31, 2020
Thursday Dec 31, 2020
การฝึกวาง คือ การวางจิตไม่ทำอะไร ทั้งนี้ต้องศึกษาให้ชัดเจนและเข้าใจ ว่า ‘ทุกอย่าง’ธรรมชาติจะทำของเขาเองอยู่แล้ว ธรรมชาติจะปรุงแต่งและทำงานให้เราโดยที่ ‘ไม่มีตัวเราเข้าไปทำ’
ตัวอย่างการวาง เช่น :
- การวางงาน : คือ หยุดทำงาน ไม่ทำต่อ
- การวางสิ่งของ : คือ วางของลง มือเป็นมือ ของเป็นของ มือและของไม่ติดกัน
จิตก็เช่นเดียวกัน ถ้าจิตยังทำอยู่ เช่น ‘ทำกรรมฐาน’ ก็ ‘ไม่ใช่วาง’ แต่เป็น ‘การทำ’ ที่มี ‘ตัณหา’ อยู่เบื้องหลังของเจตนาการทำนั้น
ตัณหา -> จะทำอยู่ 2 อย่าง คือ ‘เอาเข้า’ หรือ ‘เอาออก’
- เอาเข้า หมายถึง -> พยายามทำให้ได้อารมณ์ที่ชอบ
- เอาออก หมายถึง -> พยายามให้อารมณ์ที่ไม่ชอบหายไป
- เมื่อภาวนาแล้วเกิด ความสงบ เกิดตัณหา ชอบ แล้วอยากให้อยู่นานๆ พยายามประคองบ้าง รักษาไว้บ้าง สร้างวิธีการต่างๆ ขึ้นมา เป็นการ ‘เอาเข้า’ แต่เมื่อมีอารมณ์ ฟุ้งซ่าน เกิดตัณหา ไม่ชอบ อยากสงบ มีคำถามกับตัวเอง หรือทะเลาะกับอารมณ์นั้น ‘ทำไมถึงไม่สงบ’ อยาก ‘เอาออก’
- ความเป็นจริงแล้วทั้งอาการที่ชอบและไม่ชอบ มันไม่อยู่นาน เดี๋ยวก็หายไป ทำให้เหนื่อยเปล่า ในการทะเลาะกับอารมณ์ ซึ่งจะมีผลต่อการกระทำภายนอก เมื่อข้างในทะเลาะกัน ก็จะส่งผลให้ไปทะเลาะกับผู้อื่นข้างนอกได้ด้วย
- ทุกอย่างบนโลกใบนี้ ธรรมชาติเขาเป็นของเขาอยู่ ปรุงแต่งอยู่ โดยอาศัยธาตุ 4 มี ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประกอบกัน เป็นพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช เช่น คน นก ปลา ต้นไม้ ฯลฯ แล้วปรุงแต่งให้แต่อย่างมีลักษณะต่างกัน
- หากพิจารณากายก็จะเข้าใจว่า มีการปรุง ทั้งรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และใจ เป็นอารมณ์ต่างๆ รวมเป็น ‘ขันธ์ 5’ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ โดยมี ‘สังขาร’ เป็นพ่อครัวใหญ่ นำทุกอย่างมาปรุงแต่ง ทำให้ลักษณะแต่ละอย่างมีความแตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า ‘วิเสสลักษณะ’
- แต่_ในลักษณะแต่ละอย่างที่แตกต่างกันนี้ มีอาการอยู่ 3 อย่างที่เหมือนกัน คือ
- ทุกข์ : ทุกข์ทุกเรื่อง
- อนิจจัง : เปลี่ยนแปลงตลอดทุกเรื่อง
- อนัตตา : มีการสลายหายไปทุกเรื่อง
- หากเข้าใจ ก็ไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะเขาจะหายไปเองตามธรรมชาติ ตราบใดที่ภาวนาไปแล้ว ยังอยากเอาบางอย่าง รังเกียจบางอย่าง นั่นคืออาการที่จิตยัง ‘ทำงานไม่เลิก’ ไม่ได้วางอย่างแท้จริง
- ทุกเรื่องทุกอารมณ์มีปัจจัยประกอบ 4 อย่างคือ
- มันทำงานอยู่แล้ว โดยใช้วัตถุดิบจากธาตุสี่มาปรุงแต่ง
- มีลักษณะไม่เหมือนกัน แตกต่างกันไป เป็น ‘วิเสสลักษณะ’
- มีตัวกำจัดอยู่แล้วคือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เป็น ‘สามัญญลักษณะ’
- เกิดขึ้นบนรากฐานที่มีปัจจัยประกอบ ไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอยๆ
- ถ้าจิตรู้อย่างลึกซึ้งแล้ว จะรีบวาง แล้วรับรู้เฉยๆ ปัญญาก็จะเกิด จิตไม่เข้าไปแทรกแซง มีความเข้าใจว่า ทุกเรื่อง เป็นเรื่องของธรรมชาติ ภาวะอุเบกขาก็จะเกิดขึ้น
ผลการฝึกปฏิบัติธรรม
คือ ไม่ได้อะไรเลย ถ้าปฏิบัติแบบไม่หวังอะไร พยายามสร้างเหตุไปเรื่อย ๆ เราจะรู้สึกได้ว่า ตัวเองมีความเบาสบายขึ้น ไม่ถือสาอะไรมากขึ้น ปล่อยวางง่ายขึ้น ทั้งความโกรธ ความโลภ ความหลง ความไม่พอใจ ความพอใจ ความอยากได้ทั้งหลายทั้งปวง จะปล่อยวางได้
เป็นการพัฒนาตนเองมาสู่ภาวะของ ‘การตื่นรู้’ -> ตื่นมารับรู้ความเป็นจริงของชีวิต แล้ว ‘วาง’
สรุปจุดเด่น ของขั้นตอนการฝึกรู้สึกตัวทั้งหมด มีดังนี้
- ฝึกรู้ : มีกาย และอารมณ์ของรูป เป็นจุดเด่น
- ฝึกออกและฝึกฝืน : มีปัจจุบันขณะ, กายกรรม, วจีกรรม และมโนกรรม เป็นจุดเด่น
- ฝึกวาง : ปล่อยทุกเรื่องให้ทำงานเอง จิตไม่ทำอะไร เป็นจุดเด่น
- ขณะฝึก เมื่อเกิดขั้นตอนที่ 1 ก็จะมีขั้นตอนที่ 2 และ 3 เกิด
- เมื่อฝึกขั้นตอนที่ 2 ก็จะมีขั้นตอนที่ 1 และ 3 เกิด
- เมื่อฝึกขั้นตอนที่ 3 ก็จะมีขั้นตอนที่ 1 และ 2 เกิดด้วย
- จุดเด่นอีกอย่างคือ -> สร้างขึ้นมาก่อนแล้วรู้ กับ ให้เกิดเองเป็นธรรมชาติแล้วรู้.
ปัจฉิมโอวาท
ขอให้ทุกคนจงพัฒนาจิตวิญญาณของตนเอง ให้มีพละ มีกำลัง ในการก้าวข้ามความทุกข์ อยู่กับมันอย่างที่มันเป็น แต่เราเป็นสุขอยู่เสมอ ด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญ.
ช่วงนาทีของเนื้อหา :
01:19 คำว่า วาง คือ
05:18 จิตทะเลาะกับอารมณ์ของตัวเอง
07:50 เบื้องหลังการปรุงแต่ง
13:29 รูปร่างลักษณะ : วิเสสลักษณะ
16:11 ปัจจัยประกอบ
20:52 ผลของการปฏิบัติธรรม
30:10 ภาวะของรู้สึกตัว
36:16 บทสรุป
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท คอร์ส"พ่อแม่พาธรรม" วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เช้า ณ บ้านจิตสบาย
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Comments (0)
To leave or reply to comments, please download free Podbean or
No Comments
To leave or reply to comments,
please download free Podbean App.