Episodes
Tuesday Sep 15, 2020
เส้นทางการภาวนา (เช้า) พจ.กระสินธุ์ 120963
Tuesday Sep 15, 2020
Tuesday Sep 15, 2020
ปฏิบัติบูชา 110 ปีชาตกาล หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
นำปฏิบัติโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท และคณะศิษย์สายงานหลวงพ่อเทียน
วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2563 ณ หอจดหมายเหตุท่านพุทธทาส
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Saturday Sep 12, 2020
สิ่งที่ต้องฝึก พจ.กระสินธุ์ 041262
Saturday Sep 12, 2020
Saturday Sep 12, 2020
คอร์ส รร.อนุบาลพลอยภูมิ
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 4 ธันวาคม 2562 ตอนเช้า ณ เบิกบานบุรี
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Wednesday Sep 09, 2020
รู้คู่สภาวะธรรม พจ.กระสินธุ์ 221262
Wednesday Sep 09, 2020
Wednesday Sep 09, 2020
คอร์สปฏิบัติธรรมทั่วไป 20-24 ธันวาคม 2562
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 22 ธันวาคม 2562 ช่วงค่ำ ณ ครุสติสถาน
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Sunday Sep 06, 2020
อุปสรรคและทางแก้ พจ.กระสินธุ์ 211262
Sunday Sep 06, 2020
Sunday Sep 06, 2020
คอร์สปฏิบัติธรรมทั่วไป 20-24 ธันวาคม 2562
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 21 ธันวาคม 2562 ช่วงค่ำ ณ ครุสติสถาน
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Monday Aug 31, 2020
อารมณ์ : ประโยชน์และวิธีฝึกออกจากอารมณ์ พจ.กระสินธุ์ 010663
Monday Aug 31, 2020
Monday Aug 31, 2020
" อารมณ์ " เป็นสิ่งที่ทุกคนควรรู้จัก เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่กับทุก ๆ ชีวิตและทุก ๆ วัน ทุก ๆ ขณะ ทุก ๆ เวลา แต่บางคนไม่รู้จักว่ามีอารมณ์อะไรบ้าง ในโลกนี้มีสิ่งที่เต็มไปด้วยอารมณ์
อารมณ์ทางตา ก็จะมีอารมณ์ของรูปทั้งหลายที่เกิดขึ้น ที่ตาเข้าไปเห็นในรูปชนิดต่าง ๆ สีสัน รูปลักษณ์ของแต่ละรูปภาพที่ปรากฏ นี่ก็ถือว่าเป็นอารมณ์หนึ่งที่เกิดทางตา มีลักษณะหนึ่งที่เป็นความโดดเด่นของมัน
อารมณ์ตัวที่สองก็คืออารมณ์ทางหูที่เป็นลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นอยู่บนโลกนี้ มีการปรุงแต่งเสียงต่าง ๆ ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ กับเสียงที่มนุษย์ทำขึ้น เป็นเสียงเพลง เสียงพูด เราจะเห็นได้ว่า ระดับของเสียงที่เกิดขึ้น จะเป็นเสียงต่ำ เสียงสูง เสียงแหลม ที่มันมากระทบกับหูทั้งหมด ก็เป็นลักษณะของอารมณ์อย่างหนึ่งที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวในคนทุกคน
อารมณ์อีกอันหนึ่งที่มีต่อมาก็คืออารมณ์ของกลิ่นที่มากระทบกับจมูก ทุก ๆ ครั้งที่กลิ่นที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือกลิ่นที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่มากระทบกับจมูก มนุษย์จะหวั่นไหวไปกับกลิ่น อารมณ์ทางกลิ่น(ไม่ว่า)จะเป็นกลิ่นหอม(หรือ)กลิ่นเหม็นอะไรต่าง ๆ เมื่อไม่รู้จักอารมณ์นี้ ก็จะหลงใหล อยากได้ จนต้องเสียทรัพย์สินเงินทองเสาะแสวงหามา อย่างเช่นกลิ่นน้ำหอมเป็นต้น บางขวดราคาเป็นแสน เพื่อต้องการที่จะให้เกิดอารมณ์ทางจมูกเท่านั้นเอง นี่ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่เกิดทางจมูกที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะมัน ที่ไม่เกี่ยวกับอารมณ์ของรูป ที่ไม่เกี่ยวกับอารมณ์ของเสียง เป็นลักษณะใครลักษณะมัน
ต่อมาอารมณ์ของรสที่มากระทบกับลิ้น นี่เราก็ถือว่าเป็นอารมณ์อีกอันหนึ่ง ที่เราได้ มีอาหารการกิน มีรสชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติปรุงแต่งขึ้นมา รสกล้วย รสทุเรียน รสมะม่วง รสเงาะ รถลำไย รสลิ้นจี่หรือรสขนมที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากการอาศัยวัตถุดิบจากธรรมชาติมาผสมผสานให้เป็นรสต่าง ๆ ที่เราทุกคนปรารถนาและหลงใหล เสาะแสวงหาที่จะเสวยรสอันนี้ที่มันอร่อย ๆ แต่มันแต่บางครั้งรสนี้ก็จะเป็นอีกมุมหนึ่งที่มันไม่อร่อย ก็คือรสเหมือนกับที่เกิดขึ้น และมนุษย์ทุกคนเมื่อไม่รู้จักก็จะหลงกอบโกย บางคนยอมเสียเงินที่จะกินอาหารสักมื้อหนึ่งที่เป็นหมื่นเป็นแสน เพราะต้องการแค่อารมณ์ของมันคือรสที่มากระทบกับลิ้น ที่เป็นลักษณะโดดเด่นมีลักษณะเป็นเฉพาะตัวในทางลิ้น จะเป็นเปรี้ยว เป็นหวาน เป็นมัน เป็นเค็ม เป็นเผ็ด เป็นจืด นี่ก็ถือว่าเป็นอารมณ์หนึ่งที่มากระทบกับลิ้น
อีกอันหนึ่งคือกายกับสิ่งที่มาถูกต้องกาย อันนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ค่อยได้รับรู้ ไม่ค่อยได้รู้สึก มักหลงไปในอารมณ์นี้ และจมอยู่กับอารมณ์นี้ เป็นทุกข์กับอารมณ์นี้ ทุก ๆ อารมณ์เป็นทุกข์ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์ทางกายที่เกิดจากสัมผัส ที่เป็นทั้งฝ่ายที่รู้สึกทำให้เกิดความชอบใจ สัมผัสกับเสื้อผ้าที่นุ่มที่เรียบ สัมผัสกับที่นอนที่นุ่ม สัมผัสกับอากาศที่เย็นสบาย สัมผัสกับความรู้สึกที่เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนารักใคร่ แต่ในทางร่างกายนี้มีสิ่งที่มากระทบกับมันมากมาย มีทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นสุข และมีทั้งสิ่งที่ อารมณ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกของความเป็นทุกข์ เช่นร้อน ปวดเมื่อย หิวกระหาย เจ็บอุจจาระปัสสาวะ หรือการแม้แต่การเป็นโรคเป็นไข้ อะไรต่าง ๆ ที่มากระทบกับร่างกาย หรือเวลาเราปวดหัว ปวดฟัน ปวดตามร่างกายต่าง ๆ นี่ก็คืออารมณ์ที่คอยดักมากระทบกับร่างกาย ความหิว ความกระหาย นี่ก็เป็นอีกอันหนึ่ง หรืออีกมุมหนึ่งก็คือ เป็นอารมณ์ที่ทำให้เราเกิดความสุข ที่เราต้องเสียเงินทอง ในการสร้างความสุขความสบายให้กับสิ่งที่มากระทบกับร่างกาย ที่เราลงทุนไปติดแอร์เพื่อต้องการความเย็น หรือเมื่อมันเย็นมากไปก็ต้องติดฮีทเตอร์ เพื่อทำให้เกิดความร้อน เพื่อปรับให้มันเกิดผัสสะที่สุขสบาย แต่ผัสสะเหล่านี้มันก็เป็นแค่ชั่วขณะหนึ่งที่ทำให้เราลุ่มหลงไป โดยธรรมชาติพระพุทธเจ้าท่านเรียกว่ากามคุณ ที่มีอยู่ในโลกนี้ ที่ธรรมชาติปรุงแต่ง ทำให้มนุษย์ทั้งหลายอยากมีชีวิตอยู่ อยากอยู่บนโลกใบนี้ ทั้ง ๆ ที่มีความทุกข์บีบคั้นมากมาย เพราะด้วยความไม่รู้จักอารมณ์และหลงเข้าไปในอารมณ์ จึงทำให้เกิดการยึดติด เสาะแสวงหาและก็ยื้อแย่งกัน
อีกอันหนึ่งซึ่งเป็นอารมณ์ละเอียดที่เป็นความคิดนึก ที่เป็นธรรมารมณ์ มีทั้งความรู้สึกที่ทำให้เราทุกข์ทรมานมากมาย เช่นความโกรธ ความเกลียด ความอิจฉาริษยาหรือความโลภอยากได้ของเขา หรือความหลงเพลิดเพลินไปกับอารมณ์ต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ภายใน โดยที่ ถ้าคนไม่ได้ฝึกฝนไม่ได้ศึกษาจะไม่รู้สึกเลย จะถูกอารมณ์เหล่านี้ครอบงำและบงการให้เราต้องวิ่งตามอารมณ์ภายใน ซึ่งเราจะเห็นได้จากข่าวคราวทั้งหลาย แค่มีอารมณ์โกรธอย่างเดียวก็ระบายไปสู่บุคคลอื่น ๆ แล้วก็เกิดปัญหามากมาย ไม่ทันยับยั้งชั่งใจตัวเอง เพราะมักตกเป็นทาสของอารมณ์เสมอ ๆ
ฉะนั้นอารมณ์ภายในก็จะมีทั้งที่เป็นฝ่าย(ที่)เขาเรียกว่าอกุศลต่าง ๆ และเป็นฝ่ายกุศลที่... อารมณ์ฝ่ายกุศลคือความอดทน มีขันติ มีหิริโอตัปปะ ละอายชั่ว เกรงกลัวต่อบาปผลของวิบากมัน หรือเป็นฝักฝ่ายของเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นี่ก็เป็นฝ่ายของกุศลที่จะเกิดขึ้น ก็ถือว่าเป็นอารมณ์เหมือนกัน หรือฝ่ายอกุศลต่าง ๆ เช่นกามฉันทะ ความพอใจในกามทั้ง 5 ที่เกิดขึ้น พยาปาทะ คือความอึดอัดขัดเคือง ถีนมิทธะ คือความง่วงเหงาหดหู่ห่อเหี่ยว อุทธัจจะ คือความฟุ้งซ่านในใจที่เผลอคิดอดีตอนาคตเรื่องที่ผ่านมาแล้วและเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ตัววิจิกิจฉา ไม่รู้ทิศทางของตนเอง ลังเลสงสัยไม่แน่ใจ นี่ก็เป็นฝ่ายของอกุศล ที่ทำให้เรามักเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ และถ้าฝ่ายกุศล ฉันทะ วิริยะ ฉันทะ คือความพอใจ วิริยะคือความกล้าหาญ ฉันทะคือความโน้มจิตโน้มใจลงมา วิริยะคือความกล้าหาญ สติคือการตื่น ตื่นออกมา สมาธิคือความตั้งมั่น ปัญญาคือความรอบรู้ในลักษณะของอารมณ์ต่าง ๆ นี่ก็เป็นฝ่ายกุศลที่เราควรเจริญ
ฉะนั้นภายในจะมีทั้งอารมณ์ฝ่ายกุศลและอกุศลอยู่มากมาย ที่มาในรูปของความคิดความหลง กับการรู้หรือย่อให้ง่าย ๆ ว่าฝ่ายอกุศลคือตัวหลง ฝ่ายกุศลคือตัวรู้ อันนี้ก็เป็นฝ่ายนามธรรม หรืออารมณ์ที่มากระทบกับใจอีกอันหนึ่ง ซึ่งทุก ๆ วัน ทุก ๆ ขณะ ทุก ๆ เวลา ทุกคนจะพบเจอกับอารมณ์เหล่านี้ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษา ไม่ได้รับการเรียนรู้ มีแต่หลงไปกับอารมณ์ แต่ถ้าเรารู้จักและหัดออกจากอารมณ์ได้ จะทำให้เรา... จะเห็นได้เลยว่า เราไม่ต้องไปวุ่นวายกับสิ่งที่มายั่วยุ ซึ่งเป็นของชั่วคราว มาหลอกเราครั้งแล้วครั้งเล่า โดยยื่นบทเสนอให้เราว่า นั่นคือความสุข แต่เบื้องหลังก็คือความทุกข์ที่มันเป็นการบีบคั้น ผลักไส เสือกไสให้เราต้องทุกข์ทรมานดิ้นรนกระวนกระวายกับมัน
ฉะนั้นการออกจากแต่ละครั้ง เมื่อเราเห็นปุ๊บ พยายามหักห้ามจิตใจ พยายามอดกลั้น พยายามเสพแต่พอประมาณ เสพแต่ไม่ติด เพราะเราจะไม่สามารถปฏิเสธอารมณ์เหล่านี้ได้เลย แม้เขามี แต่เราก็จะไม่ยอมหลงเข้าไปเป็นทาส ฉะนั้นการที่ต้องขนขวายในการมาศึกษาและเรียนรู้เพื่อหาทางออกจากอารมณ์ ถ้าบุคคลใดก็ตาม ไม่พยายามที่จะออกจากอารมณ์ ก็เหมือนบุคคลนั้นกำลังสร้างกรงขังจิตวิญญาณของตนเองในทุกเรื่องราว ในทุก ๆ ขณะ โดยเราไม่รู้ตัว เพราะอารมณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อเราหลงไปติดกับมัน หลงตกเป็นทาสของมัน แล้วมันก็จะบีบคั้นและก็พยายามให้เรามากระทำโดยทางกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ส่งผลให้เป็นวิบากกรรม เดือดร้อนทั้งตนเองและคนอื่น ฉะนั้นการได้รู้จักอารมณ์ทั้ง 6 นี้จะทำให้เราได้เข้าใจและอยู่เหนือมันได้อย่างปลอดภัย
ส่วนวิธีการศึกษาที่เราจะรู้จักอารมณ์ทั้ง 6 นี้ เราจะต้องมาส่งเสริมฝ่ายกุศลคือตัวรู้ในเบื้องต้น ให้รู้จักลักษณะ ของอารมณ์แต่ละอย่างให้ได้ ให้เท่าทันถ้าเราจะออกจากมันให้ได้ วิธีการคือเราต้องแบ่งอารมณ์ทั้ง 6 นี้ออกเป็น 2 ส่วน เรียกว่าส่วนภายนอกกับส่วนภายใน หรือภาษาที่เราเข้าใจเรียกว่ารูปและนาม ในส่วนภายนอกนี้จะมีอารมณ์ทั้ง 5 เกิดขึ้น เช่นตากระทบกับรูป หูกระทบกับเสียง จมูกกระทบกับกลิ่น ลิ้นกระทบกับรส กายกับสิ่งกระทบกับสิ่งที่มาสัมผัส อารมณ์ทั้ง 5 นี้จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และอารมณ์ทั้ง 5 นี้ จะไม่มีความคิด เพราะเขาคิดไม่เป็น ตา หู จมูก ลิ้น กายสิ่งเหล่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส สิ่งเหล่านี้คิดไม่เป็น
ฉะนั้นเราต้องเอาจิตเอาใจเรา มาตื่นที่จะรู้ลักษณะของมันโดยปราศจากภาษาแต่พาใจสัมผัส พาใจสังเกตลักษณะของมัน พาใจไปสัมผัสความทุกข์ ความสุขของมัน นี่คือส่วนหนึ่งที่มันเป็นอารมณ์อยู่ในปัจจุบันเป็นหลัก ที่จะเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง ฉะนั้นการภาวนาของเรา ถ้าเราไม่ตื่นขึ้นมาอยู่ตรงนี้ เราก็จะไม่เท่าทัน เพราะว่าอารมณ์ทั้ง 5 เมื่อกระทบไปแล้ว จะกลายไปเป็นอารมณ์ภายในที่เป็นความคิด อยู่ตลอดเวลา ที่ปรุงแต่งเกินจากสิ่งที่มันเป็นอยู่ เป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง ความอยาก อันนี้เป็นส่วนของภายในที่เรียกว่านาม ที่คอยดักปรุงแต่งอยู่เรื่อย ๆ ที่ส่งผลมาจากการกระทบที่เป็นอารมณ์ภายนอก ส่วนนี้จะเป็นส่วนของอดีตและอนาคต และจะเป็นส่วนของความคิดที่คอยปรุงแต่งกระตุ้นจิต เพื่อเสริมอยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น มันเป็นความอยากที่มีตัวอารมณ์ของตัณหา คอยดักบงการอยู่
ฉะนั้นเราต้องแบ่งสังเกตให้ชัด ในโลกของสองส่วนนี้ ส่วนภายนอกกับส่วนภายใน เราจึงจะรู้จักวิธีที่จะหลุดพ้นจากอารมณ์ได้ โดยการฝึกให้เราตื่นรู้ทีละขณะ ทีละขณะ ทีละขณะ กับอารมณ์ปัจจุบันเป็นหลัก แล้วก็แอบสังเกตศึกษาลักษณะของอารมณ์เหล่านั้นไปด้วย เมื่อศึกษาบ่อย ๆ สังเกตลักษณะบ่อย ๆ จะเห็นลักษณะของทุก ๆ อารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือเป็นภายในก็ตาม จะเกิดขึ้น เป็นทุกข์ เปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง แตกสลายเมื่อหมดเหตุปัจจัย แตกสลายดับไปเป็นอนัตตาอยู่ตลอดเวลา หาสาระ หาที่ยึดเกาะ หาที่เหนี่ยวรั้งหาประโยชน์มิได้ เป็นของชั่วคราว เป็นเหมือนความฝัน เป็นเหมือนหยดน้ำ เป็นเหมือนฟองน้ำที่พร้อมที่จะแตกได้ตลอดเวลา ถ้าเราเรียนรู้เห็นโทษของมันอย่างชัดเจนแล้ว จิตใจเราก็จะจางคลายจากการยึดติดสิ่งเหล่านั้น
ฉะนั้นเราต้องมากระตุ้นตัวสติคือตัวระลึกรู้ทีละขณะ ตัวสมาธิคือตัวตั้งมั่น ตัวปัญญาคือตัวเรียนรู้อย่างมีอุเบกขา ไม่เอาผิดเอาถูก ไม่เอาดีเอาชั่ว รู้ตามที่เขาเป็น และก็ตัวความอดทน ฉะนั้นเราต้องใช้ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ที่เป็นฝ่ายกุศลและก็ปัญญา เอามาเป็นเครื่องมือในการที่จะทำให้เราได้รู้จัก
ฉะนั้นไปภาคของการที่จะฝึกฝืนที่เราจะดำเนินต่อไป จะเป็นภาคของการที่จะทำให้เราต้องใช้ขันติคือความอดทน เป็นตัวนำ กล้าเผชิญ กล้ายอมรับ กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าสลัดอุปนิสัยเดิม ๆ ของเรา เพื่อเราจะได้ก้าวข้ามกรงขังของอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้น และจะได้มีชีวิตที่มีความสุข ที่เป็นสันติสุข ไม่ต้องสุขเพราะความเร่าร้อนทุรนทุรายเหมือนแต่ก่อนเก่า ก็ขอให้พวกเรามีความมุ่งมั่นและความอดทนในการที่จะศึกษา เรื่องของอารมณ์ ประโยชน์ของการออกจากอารมณ์และวิธีที่เราจะออกจากอารมณ์ ตามแนวทางที่เราได้ประพฤติปฏิบัติมา เพื่อจะมีผลต่อชีวิตของเราตั้งแต่นี้จนวันตาย ด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญ
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ณ วัดแพร่แสงเทียน
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Monday Aug 31, 2020
ศีลกับการภาวนา พจ.กระสินธุ์ 201262
Monday Aug 31, 2020
Monday Aug 31, 2020
คอร์สปฏิบัติธรรมทั่วไป 20-24 ธันวาคม 2562
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 20 ธันวาคม 2562 ช่วงค่ำ ณ ครุสติสถาน
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Sunday Aug 30, 2020
ตัณหาพาทำ อุเบกขาพาเลิก พจ.กระสินธุ์ 230863
Sunday Aug 30, 2020
Sunday Aug 30, 2020
เจริญในธรรม สัมมาปฏิบัติทุกท่าน ที่ได้ตั้งใจลุกขึ้นมา ปรารภความเพียรร่วมกันในเช้าวันนี้ นับเป็นโอกาสของเรา ที่จะต้องทำให้ชีวิตชีวิตหนึ่งเดินควบคู่กันไป ทั้งฝ่ายทางโลกและฝ่ายทางธรรม เพราะคนส่วนใหญ่จะใช้ชีวิต เดินไปในทางฝ่ายทางโลกเป็นส่วนใหญ่ มุ่งหวังให้ได้ผลจากทางโลก มีทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สินเงินทอง สุขภาพร่างกายแข็งแรง และก็มีความสุขกับกามคุณทั้งหลาย มีรูป มีเสียง มีกลิ่น มีรสเป็นต้น ที่เป็นสมบัติของโลก ที่เราเห็นได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย จนรู้สึกว่า นั่นคือสมบัติที่เราแสวงหาทั้งชีวิต จนลืมขวนขวายทางธรรม คือวิธีการหลุดพ้นจากทางโลก แต่ก็ต้องอยู่กับโลกใบนี้ จะมีพวกเราเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่พยายามตั้งใจขวนขวายที่จะฝึกฝนเพราะเห็นโทษภัยของสมบัติทางโลกแล้ว ที่มีผลเป็นความทุกข์ มีความทุกข์เป็นกำไร มีความไม่เที่ยงเป็นที่อยู่ และมีความแปรปรวนดับไป เป็นสมบัติ มันเหมือนไขว่คว้าได้ แต่ก็ไม่ได้อะไรเลย ฉะนั้นพวกเรา แม้แต่ทางโลกมันจะรุนแรงแค่ไหนก็ตาม ถ้าเรามีทางธรรมที่เป็นตัวคอยดักมาประคับประคองชีวิตไปด้วย ก็จะทำให้เราอยู่กับทางโลกได้อย่างไม่หลงโลก หรือบางครั้งอาจจะอยู่เสมอโลกและเหนือโลก เหนือทางโลกได้
ตราบใดก็ตาม จิตของพวกเรา ยังไม่สามารถเสพสุขจากการหลุดพ้นได้อย่างมีกำลังเต็มที่ ก็ต้องอาศัยกำลังของอินทรีย์ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญา ที่จะมีอุปสรรคคือนิวรณ์ทั้ง 5 ค่อยดักขวางกั้นอยู่
ในเช้านี้อยากให้ข้อคิดความหมาย ของ 2 คำ เพื่อให้เราไปศึกษา ที่จะเผชิญกับโลกใบนี้ทางโลกและส่งเสริมทางธรรมให้เจริญขึ้น คำสองคำนี้คือความหมายของคำว่า ตัณหากับอุเบกขา มีลักษณะต่างกันอย่างไร ตัณหา จะพาทำ อุเบกขา จะพาเลิกทำ
ฉะนั้นชีวิตของตัณหานี่ จะพาทำ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้มีอยู่แล้ว และเราก็ทำมันขึ้นมาอีก
อยากให้รู้ก่อนว่า ทางโลกก็มีการกระทำอยู่แล้ว แต่ความอยากของเราก็อยากจะทำเพิ่มขึ้นมาอีก เราต้องรู้จักก่อนว่าทางโลกมีการกระทำอยู่แล้วโดยธรรมชาติของธาตุ 4 เขามีการปรุงแต่ง ปรุงแต่งรูป ปรุงแต่งเสียง ปรุงแต่งกลิ่น ปรุงแต่งรส ปรุงแต่งสัมผัสในตัวของเขาอยู่แล้ว อยู่ตลอดเวลา เพราะนั่นคือ วัฏจักร วงเวียน ความเป็นไปของมัน ที่เขาต้องมีการปรับสมดุลกันอยู่เรื่อย ๆ โดยใช้ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟปรุงแต่งเป็นรูป เสียง กลิ่น รส แล้วก็สัมผัสที่เกิดขึ้น อันนี้เป็นธรรมชาติเดิมแท้ แล้วก็สร้างเป็นอารมณ์ภายใน เขาเรียกว่า ลานธรรมที่คอยดักสร้างสรรค์ความคิดนึกและปรุงแต่งมากมาย ตัณหาพาทำ ทิฏฐิพาคิด อุเบกขาพาเลิก ที่เขาคอยดักสร้างเป็นอารมณ์พอใจ ไม่พอใจ หรืออารมณ์วุ่นวาย อารมณ์สับสนมากมาย สารพัดลักษณะรูปแบบที่จะเข้ามากระทบกับจิตใจเรา
เมื่อเขามากระทบแล้ว ถ้าจิตเขาทำหน้าที่ในการรับรู้ความเป็นไปของมัน มันก็จะทำให้เราไม่เข้าไปในอารมณ์ของโลก แต่เรียนรู้อารมณ์ของโลก จึงเป็นอุเบกขา แต่บางครั้งกำลังที่เราไม่ค่อยได้ฝึกฝน เราคุ้นชินกับอุปนิสัยเก่า จนกลายเป็นทิฐิคือความคิด เป็นการกระทำคือความอยาก เมื่อมีภาวะการปรุงแต่งของธาตุ 4 กับขันธ์ 5 เราก็อดที่จะสนองตอบด้วยตัณหาไม่ได้ ต้องทำต่อ ต้องเติมต่อ
ตัวอย่างเช่นบางครั้งความไม่พอใจก็คือความไม่พอใจ แต่ทำไมใจเราจึงต้องพยายามทำกับความไม่พอใจนั้นต่ออีกด้วย หรือบางครั้งความพอใจเกิดขึ้นซึ่งเป็นอารมณ์หนึ่ง แต่ตัวตัณหาก็จะพาทำต่อ ทำอย่างไรให้ความพอใจนี้เกิดกับเราอีก มีกับเราอีก เป็นกับเราอีก ไม่จบไม่สิ้น จนสร้างเป็นทิฏฐิ จนสร้างเป็นความคิด ว่าจะต้องทำแบบนี้เมื่อเกิดความพอใจ หรือต้องทำแบบนี้เมื่อเกิดความไม่พอใจ
แต่โดยหลักของธรรมชาติที่เขาปรุงแต่ง เดี๋ยวเขาก็สลายตัวไปตามกฎของเขา จะเป็นความพอใจก็ตาม ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไม่พอใจก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ และความพอใจไม่พอใจนี้ ก็จะขยายผลมาจากการได้รับการปรุงแต่งของรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่เป็นกามคุณฝักฝ่ายในความชอบใจ เราก็พยายามขวนขวายที่จะสร้างให้เกิดจิตที่ไปพัวพันกับอารมณ์ทางโลกอยู่เรื่อย ๆ อยู่ร่ำไป การกิน การดู การฟัง การดม การสัมผัส ก็จะมีผลส่งต่อไปสู่การกระทำด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
หรือบางครั้งเขาปรุงแต่งสิ่งที่เราเห็นแล้วไม่ชอบ ได้ยินแล้วไม่ชอบ ได้กลิ่นแล้วไม่ชอบ รับรสแล้วไม่ชอบ สัมผัสแล้วไม่ชอบ พอเขาสร้างความปรุงแต่งเป็นอารมณ์พอใจไม่พอใจ แล้วเราก็ เจ้าตัณหาสั่งให้เอากายกรรม วจีกรรม มโนกรรมเข้าไปทำต่อ จึงเป็นวัฏฏะ วังวน ที่เหมือนรู้สึกว่ามีความสุขบ้าง มีความทุกข์บ้างกับเรื่องของโลก ๆ แต่มันก็เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เราอยู่ในวังวนของความต้องการไม่เลิก จนกระทั่งสร้างเรื่องสร้างราว สร้างวิบากเยอะแยะมากมาย แล้วทั้งสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ก็ส่งผลต่อใจของเราเอง สะท้อนไปสู่ใจของคนอื่น แต่พอเราฝึก เราตั้งใจจะฝึก ที่จะละตัณหา คือการกระทำของเรา คือการฝึกหัดเปลี่ยนมโนกรรมเสีย คือเปลี่ยนใจที่คอยมุ่งสนองตอบการกระทำ มาสร้างเป็นอุเบกขา ที่เราฝึกฝนกันมา ที่ปฏิบัติกันมา
ในเบื้องต้น ที่เราใช้ก็คือการฝึกรับรู้มัน ฝึกตัวรู้ขึ้นมา เพื่อรับรู้การกระทำเหล่านี้ ที่ที่เป็นทางมโนกรรม ใช้ใจรับรู้เรื่องราวของการปรุงแต่งของโลกใบนี้อย่างซื่อ ๆ ตรง ๆ ตามที่มันเป็น แม้แต่เป็นความคิด ที่มันเป็นอารมณ์ทางใจมากระทบ ก็รับรู้มันตาม ว่ามันคือความคิด มันคือทิฐิ แต่เราจะสร้างอุเบกขาของเราในใจให้มากขึ้น เมื่อรับรู้แล้วเราก็จะไม่เอากายกรรม วจีกรรมไปทำตาม เพื่อรอจังหวะให้ใจเราเองได้มีโอกาสได้เรียนรู้และศึกษามัน อย่างที่มันเป็น อย่างที่มันทำ
เวลาเราฝึก เราต้องการฝึกอุเบกขาให้มาก ไม่ได้ฝึกตัณหา ไปสังเกตดูดี ๆ บางครั้งเราฝึกไปฝึกมาเนี่ย แทนที่เราจะฝึกอุเบกขา แต่เราฝึกตัณหา จึงเกิดมาเป็นทิฏฐิ ที่เป็นความคิด ต้องคอยดักตอบสนองอารมณ์อยู่เรื่อย ๆ บางครั้งเราจะหยุด เราไม่ได้ไปหยุดความคิด ไม่ได้ไปหยุดอารมณ์ที่ปรุงแต่งของโลก อารมณ์ปรุงแต่งของโลกหยุดไม่ได้ ความคิดหยุดไม่ได้ แต่เราหยุดพฤติกรรมของการที่จะกระทำต่อจากมัน เขาเรียกว่าตัณหาพาทำ เราจะเติมอุเบกขาคือพารู้ พาเห็น พาศึกษา ให้เห็นลักษณะของมันแต่ละเรื่อง เห็นลักษณะ เห็นปัจจัยประกอบ เห็นรสชาติ เห็นความทุกข์ เห็นความเปลี่ยนแปลง เห็นการแตกสลายของสิ่งที่ปรุงแต่งให้ได้บ่อย ๆ เพื่อเติมกำลังของอุเบกขาให้มากขึ้น คือไม่ทำอะไรกับสภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะทุกอารมณ์ของโลกที่มากระทบกับเรา มันจะหลอกล่อให้เราหลงประเด็น เห็นความสำคัญ แล้วก็มีความมุ่งมั่นที่จะวิ่งตาม สนองตอบตาม แต่ผลสุดท้ายสิ่งที่เราได้ คือความว่างเปล่า ยึดติดอะไรไม่ได้เลย เกาะกลุ่มอะไรไม่ได้เลย เหนี่ยวรั้งอะไรไว้ไม่ได้เลย ก็ต้องเกิดความดิ้นรนแสวงหาไม่เลิก
แต่ถ้าเราปล่อยมันไปตามเส้นทางของมัน โดยนั่งดูมัน โดยฝึกจิต ตื่นขึ้นมารับรู้การมาของมัน การไปของมัน ก็จะเห็นปัจจัยประกอบของแต่ละอารมณ์ที่มากระทบ ที่เขากระทำกันเอง เขาปรุงแต่งกันเองตามระบบของธรรมชาติ ที่เขาเป็นอยู่
ฉะนั้นเวลาเราฝึก ที่จะฝึกออกจากทางโลกให้ได้ เข้าสู่ทางธรรม ต้องฝึกไปสู่การไม่กระทำใด ๆ ที่เป็นการปรุงแต่งทางโลก ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว เราจะมีผลจากอารมณ์ของโลก คือกามคุณทั้ง 5 ไปได้เลย
ฉะนั้นการฝึกที่จะเปิดใจ รับรู้การกระทำของมัน รับรู้องค์ประกอบของมัน รับรู้ลักษณะของมัน รับรู้คุณและโทษของมัน และเรายืนหลักอยู่ ให้ระวัง เพราะสิ่งที่จะสนองตอบตัณหาได้ มีอยู่ 3 อย่างเท่านั้นเอง คือเอากายกรรม วจีกรรม มโนกรรมไปทำตามความความต้องการของอารมณ์นั้น ๆ แต่ถ้าเราเปลี่ยนซะ จากมโนกรรมที่เคยหลงไปกับอารมณ์ มารับรู้ลักษณะของมันซะ รับรู้องค์ประกอบของมันซะ รับรู้การเปลี่ยนแปลงของมันซะ รับรู้ความทุกข์ของมัน รับรู้ความแตกสลายของมัน ตามที่มันเป็น มันก็จะเป็นการ เป็นผู้รู้ผู้ดูการแสดงได้อย่างสนิทใจ แล้วกายกรรมกับวจีกรรมเราก็ไม่ไปพูดตามมัน ไปทำตามมัน
ฉะนั้นทำอย่างไรให้อุเบกขาที่ทุกคนมีอยู่แล้ว ได้เจริญเติบโต ได้เข้มแข็ง เราก็ต้องมาเฝ้าในการฝึกฝนมันไปก่อน ฝึกฝนที่จะไม่กระทำ แต่รับรู้การกระทำ โดยให้เท่าทัน สิ่งที่มากระทบกับเราในแต่ละวัน ในแต่ละขณะ ในแต่ละเสี้ยววินาทีที่มีการกระทบอยู่ตลอดเวลา ที่เขากำลังเกิด กำลังมี กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ เราก็รับรู้ไป แล้วค่อยเลือก ค่อยวิเคราะห์ว่า อันไหนควรทำ อันไหนมันคือความจำเป็นที่แท้จริง ไม่ได้แฝงไปด้วยตัณหา แต่แฝงไปด้วยความจำเป็นต้องบรรเทา เราก็เข้าไปทำ ทำเสร็จแล้วเราก็จบ กลับมาสู่การรับรู้การกระทำนั้นต่อ
ต้องฝึกบ่อย ๆ ต้องฝึกเรื่อย ๆ ถ้าเราไม่ฝึก ชีวิต อารมณ์ของโลกจะกลืนกลืนกินชีวิตจิตใจและจิตวิญญาณของเราไปจนไม่เหลือ แล้วเราก็ไม่มีโอกาสที่จะเป็นอิสระจากมันได้เลย ชีวิตเราก็จะวุ่นวายไปตามอารมณ์นี้ตลอด ตั้งแต่เกิดจนตาย หาทางออกให้ตัวเองไม่ได้ ผลสุดท้ายจิตใจก็ต้องว้าวุ่น กลัดกลุ้ม ทุกข์ระทม เครียดกับภาวะเหล่านี้ เพราะไม่มีกำลังเพียงพอที่จะรับรู้สภาวะของมัน แม้แต่ภาวะของความเครียด ภาวะของความทะยานอยาก นี่ก็คือสิ่งที่เป็นอารมณ์ในใจ ที่เขาเพียงมาเพื่อกระทบกับจิตใจเท่านั้นเอง เพียงมาทักทายเราเพื่อผ่านไป เขาคือสิ่งที่เดินผ่านเส้นทางเรา เราจำเป็นต้องผ่านกับเขา เขาก็มาผ่านเรา มันเหมือนถนนเส้นหนึ่งที่เดินไปด้วยกัน แต่ก็ผ่านกันไปโดยไม่ได้ทะเลาะเบาะแว้งอะไรกัน แต่รู้จักหน้าตาซึ่งกันและกัน
อุเบกขาจะทำหน้าที่แบบนี้ ไม่พาทำอะไร แต่จะพาดูการกระทำของกิเลสตัณหาทั้งหลายทั้งปวง อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่มันเกิดขึ้น
ฉะนั้นเวลาเราฝึก เราลองดูว่า เราฝึกกันมาเนี่ย ฝึกเพื่อให้เกิดตัณหาหรือฝึกเพื่อให้เกิดอุเบกขา ลองดูนะ ถ้าเราฝึกเพื่อให้เกิดอุเบกขาเนี่ย เราจะค่อย ๆ เห็นว่า ทางธรรมให้ความสุขมากกว่าทางโลก แต่ถ้าเราฝึกแล้วเกิดตัณหา จะเห็นความสุขทางโลก มากกว่าความสุขทางธรรม ก็จะเจอความสุขบ้าง ทุกข์บ้างอยู่ร่ำไป เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวสบาย เดี๋ยวถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ก็จะถูกแรงเหวี่ยงของโลกที่ปรุงแต่งมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แล้วก็อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่รายล้อมจิตใจเราอยู่ แต่ถ้าจิตใจเรามั่นคงในการรับรู้การกระทำของมัน รับรู้ความทุกข์ของมัน รับรู้ความเปลี่ยนแปลงของมัน รับรู้ความเกิดแล้วก็ดับของมัน มันก็จะทำให้ใจเราสงบนิ่งมากขึ้น ท่ามกลางสิ่งที่มันวุ่นวาย มีความเข้าใจในปัจจัยประกอบของมันอย่างถ่องแท้ และชัดเจน
เมื่อนั้นใจเราก็จะเริ่มมีความเป็นอิสระ มีความสุขได้ง่ายขึ้น มีความสุขที่ยาวนานขึ้น มีความสุขที่มากขึ้น สบายขึ้น
เมื่อเป็นถึงตรงนี้แล้ว ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยน โลกจะเหวี่ยงอย่างไรก็ตาม แต่ใจเรามีที่พึ่งเสียแล้ว มีที่อยู่เสียแล้ว มีที่อาศัยเสียแล้ว ก็จะไม่เดือดร้อน เหมือนบุคคลบุคคลหนึ่งมีหลังคาคุ้มหัว มีบ้านคุ้มครอง ฝนจะตก แดดจะออก ลมพายุจะพัดมาทั้ง 4 ทิศ ระดมเข้ามาเท่าไหร่ บุคคลบุคคลนั้นก็ยังพักผ่อนได้สบาย ๆ ในบ้านของตนเอง
นี่คือสาระ ของการพึ่งธรรม แต่ถ้าเราพึ่งโลก เราก็เหมือนกับคนที่ไม่มีบ้านคุ้มหัว ไม่มีหลังคาคุ้มหัว มีบ้านไว้อยู่อาศัย ฝนตกมา แดดออกมา พายุมา ก็ต้องแอบหลบ แอบซ่อน ต้องเปียกปอน ต้องร้อนหนาวกับอารมณ์ของโลกอยู่ตลอดเวลา
ขอให้เราเห็นโทษ เห็นพิษ เห็นภัยของมันด้วย ทุกคนก็เห็นอยู่แล้ว แต่ทุกคนยังไม่มีทางออกเฉย ๆฉะนั้นทางออกของมันคืออุเบกขา คือรับรู้การกระทำของมันซะ ตามที่มันเป็น แล้วอย่าไปทำต่อ เพราะตัณหาจะคอยสร้างการกระทำของเราอยู่เรื่อย ๆ ต้องแบบนั้น ต้องแบบนี้ ต้องแบบโน้น แต่ถ้าเป็นอุเบกขา คือรับรู้การกระทำของมัน มันจะเป็นแบบไหนก็ได้ แต่เราไม่ได้เป็นด้วย
การฝึกตัวรับรู้หรือฝึกรู้สึกตัวทีละขณะ ทีละขณะ สั้น ๆ อย่างมั่นคงไม่หวั่นไหวกับสิ่งรอบตัว จะทำให้เราได้ฝึกยืนท่ามกลางลมพายุ ได้จุดยืน ได้หลังคาคุ้มหัวท่ามกลางฝนตกและแดดออก
ขอให้พวกเราจงพยายาม มาทางธรรมให้มาก เอาทางโลกเป็นแค่เครื่องอาศัยอยู่จนชีวิตจะดับไป เอาทางธรรมเป็นเครื่องพักผ่อน พัฒนาให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
ฉะนั้นอานิสงส์ที่พวกเราทำทุก ๆ วัน มันจะทำให้เราเกิด เดินไปด้วยกันทั้งสองข้าง อย่าให้ขาข้างโลกมันใหญ่ แต่ขาข้างธรรมมันลีบ เราจะเดินไม่สะดวก แต่ถ้าขาข้างธรรมมันใหญ่ ขาข้างทางโลกมันลีบ นั่นเป็นสิ่งที่ดี
ฉะนั้นเดินไปด้วยกัน ฝึกฝนไปด้วยกัน จนกว่าเราจะได้หลักที่มั่นคง
ฉะนั้นเช้านี้ได้ให้ข้อคิด ตัณหาพาทำ อุเบกขาพาเลิก ตัณหาจะพาไปทำโน่น ทำนี่ ทำนั่นอยู่เรื่อย ๆ โดยใช้กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อุเบกขาพาเลิก โดยใช้การมโนกรรมในการรับรู้ และกายกรรม วจีกรรมไม่ทำตามอารมณ์นั้น ๆ แต่ศึกษา ดูลักษณะความเปลี่ยนแปลงของมันไปเรื่อย ๆ
ฉะนั้นในกระบวนการในการฝึกต่าง ๆ เช่นฝึกแยกนอกแยกใน ฝึก 3 กาลบ้าง ขณะเดียวบ้าง รู้สึกตัวบ้าง อยู่กับปัจจุบันบ้าง เพื่อส่งเสริมการรับรู้ให้มันเข้มแข็งขึ้น ส่งเสริมอุเบกขาให้มากขึ้นเท่านั้นเอง เราต้องเข้าใจ หรือเราฝึกฝืนบ้าง นี่คือปัจจัยประกอบที่จะส่งเสริมให้อารมณ์อุเบกขาของเราเนี่ย ที่เลิก ๆ หยุด ไม่ทำอะไรอีกแล้วกับโลกใบนี้ แต่จะรับรู้การกระทำของมันทั้งหมด และใจเราจะเบา และใจเราจะสบาย ใจเราจะไม่วิ่งวน วุ่นวาย แล้วจะเห็น แต่กลับจะเห็นความวุ่นวาย เห็นความวิ่งวน เห็นความทุกข์ทรมานของอารมณ์โลก ๆ ที่คอยดักวนเวียนมารายงานตัวให้เราเรียนรู้
ขอให้ทุกคนจงเข้มแข็ง ไม่ว่ามันจะมีสภาวะทางโลกมายั่วยุอะไรมาก ก็ขอให้เจริญก้าวหน้าทุก ๆ คน
ในเช้านี้ก็ได้พาชี้นำบางสิ่งบางอย่าง เพื่อให้เราฝึกฝน อารมณ์ของอุเบกขา ที่มีการรู้สั้น ๆ ที่มีการรู้ในปัจจุบัน ที่มันไหลผ่าน ที่มีการรู้ 3 กาล ที่มีการกระทำแบบไม่ทำอะไร รับรู้การกระทำของมัน
ขอให้ทุกคนได้อารมณ์นี้ แล้วก็อยู่กับอารมณ์นี้ แล้วก็สัมผัสอารมณ์นี้ให้ได้บ่อย ๆ ในทุก ๆ ขณะของชีวิตด้วยเทอญ
สุดท้ายนี้ เราตั้งใจอุทิศส่วนกุศลด้วยจิตที่เมตตา ด้วยจิตที่แผ่ไปสู่เพื่อนทั้งหลาย ที่ยังอยู่ในวังวนของความทุกข์ด้วยกัน ตั้งใจว่าตาม
อิทังเม ญาติณัง โหนตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลอันนี้ ไปให้กับทุก ๆ คน ทั้งตัวข้าพเจ้าด้วย ที่ยังอยู่ในความเป็นทุกข์อยู่ ขอให้พ้นจากทุกข์ด้วยเทอญ
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย
อัพพะยา ปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาท เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัย ทั้งสิ้นเทอญ
ขอให้ทุกคนมีกำลังใจในการภาวนาต่อ ๆ ไป จนกว่าจิตใจเราจะเข้มแข็ง ด้วยเทอญ เจริญพร
สาธุ
โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ คอร์สพัฒนาตัวรู้ ภาคฝืน3
โดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
นำปฏิบัติร่วมกันวันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2563 เวลา 05:00-05:30 น. ณ ห้องกลุ่มไลน์
Sunday Aug 30, 2020
สอนผู้ปฏิบัติใหม่ พจ.กระสินธุ์ 201262
Sunday Aug 30, 2020
Sunday Aug 30, 2020
คอร์สปฏิบัติธรรมทั่วไป 20-24 ธันวาคม 2562
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 20 ธันวาคม 2562 ช่วงเช้า ณ ครุสติสถาน
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Friday Aug 28, 2020
เปลี่ยนพฤติกรรม พจ.กระสินธุ์ 160863
Friday Aug 28, 2020
Friday Aug 28, 2020
โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ คอร์สพัฒนาตัวรู้ ภาคฝืน3
โดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
นำปฏิบัติร่วมกันวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2563 เวลา 05:00-05:30 น. ณ ห้องกลุ่มไลน์
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Tuesday Aug 25, 2020
สติ สัมปชัญญะ พจ.กระสินธุ์ 080863
Tuesday Aug 25, 2020
Tuesday Aug 25, 2020
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 8 สิงหาคม 2563 ช่วงเช้า ณ วัดแพร่แสงเทียน
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Friday Aug 21, 2020
เท่าทันการกระทบ เห็นใจทำงาน พจ.กระสินธุ์ 090863
Friday Aug 21, 2020
Friday Aug 21, 2020
โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ คอร์สพัฒนาตัวรู้ ภาคฝืน3
โดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
นำปฏิบัติร่วมกันวันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม 2563 เวลา 05:00-05:30 น. ณ ห้องกลุ่มไลน์
* * * * * * * * * * * * * *
เจริญพรญาติโยมทุกคน ที่เราได้ตื่นขึ้นมา ตั้งใจทำในเรื่องเดียวกัน เพื่อให้เกิดกำลังใจ
ในการส่งกำลังใจซึ่งกันและกัน ที่จะชักนำให้จิตใจได้มีกำลังต่อสู้กับอุปสรรคของชีวิต ปัญหาของชีวิต ที่ต้องเผชิญอยู่ในทุก ๆ วัน การตื่นขึ้นมาเพื่อเตรียมตัว เตรียมจิต เตรียมใจที่จะมารับเอาบุญกุศลของการภาวนาน่ะ มันเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ทุกคนก็ขวนขวายที่จะทำให้เกิดกุศลแก่ตัวเอง เป็นอานิสงส์อันหนึ่ง ฉะนั้นอานิสงส์การภาวนาจึงเป็นอานิสงส์ที่ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ง่าย ๆ
นอกจากคนที่ตั้งใจฝักใฝ่ที่จะฝึกฝนตนเองจริง ๆ เหมือนกับพวกเรานี่แหละเมื่อตื่นขึ้นมาแล้วก็พยายามนะ พยายามสำรวจรับรู้ รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับเราในตอนนี้ นึกขึ้น ตรึก พอตื่นขึ้นมาแล้ว สัมผัสความรู้สึกตัวให้ดี ๆ ว่า อะไรกำลังเกิดขึ้นก่อนที่เราจะภาวนา ก่อนที่เราจะสร้างจังหวะ
ลองสำรวจดูซิว่า ตอนนี้เรารับรู้อะไรได้บ้างที่มันกำลังเกิดขึ้นเอง และกำลังรับรู้เอง โดยไม่มีความรู้สึกว่าเราต้องทำมัน จะเป็นการนั่ง หรือการเดิน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาปั๊บ ถ้าเราสำรวจดี ๆ เราจะมีความรู้สึก เห็นการทำงานของร่างกายอยู่ตลอดเวลา บางครั้งตื่นขึ้นมาปุ๊บก็เห็นการทำงานของจิตใจ ให้เห็นการทำงานของจิตใจที่มันกำลังรับรู้ความคิด กำลังเห็นอารมณ์ที่งัวเงีย ง่วงซึม ไม่อยากลุกจากที่นอน แต่อาศัยการฝึก ลุกขึ้นมาล้างหน้าแปรงฟัน เข้าห้องน้ำ อารมณ์ที่งัวเงียนั้นก็จะหายไป
ให้เราสังเกตว่ามันเป็นการมาแสดงลักษณะท่าทางและตัวตนของอารมณ์นั้น ๆ แต่ถ้าเราไม่ฝืนลุกขึ้นมา เราก็จะจมแช่ไปกับมัน แล้วก็หลงไปเป็นอารมณ์เดียวกับเขา แต่ถ้าเราลุกขึ้นมาปุ๊บ เราก็จะเห็นอารมณ์ของการอิดออด เหตุผลสารพัดที่มันจะสร้างเรื่องขึ้นมาให้เราไปร่วมเสพกับมันด้วย แต่พอเรากลับมี ฝึกที่จะรู้การทำงานของมันมากเข้า ๆ เราจะเห็นว่ามันทำงานกันเอง ความคิดมันทำงาน อารมณ์มันทำงาน แต่เราเป็นแต่เพียงผู้ดูการทำงานเท่านั้น นี่คือส่วนภายใน
ส่วนภายนอกก็จะมีร่างกายที่กระทบกับอาการที่เกิดขึ้น เย็นบ้าง อุ่นบ้าง นิ่มบ้าง แข็งบ้าง เคลื่อนไหวบ้าง กระพริบตาบ้าง หายใจบ้าง ที่เป็นอาการที่มากระทบกับร่างกาย ที่ร่างกายเรากำลังรับรู้อยู่ กับเรื่องเฉพาะหน้า บางครั้งเราอาจจะมีการรับรู้การทำงานของหูที่มีเสียงมากระทบ หรือถ้าเราปิดไฟ เราก็จะรับรู้การทำงานของตาที่เห็นแสงสว่างบ้าง มืดบ้าง แต่ถ้าเราเปิด เราก็จะเห็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ต่อหน้า เนี่ย
ให้สำรวจก่อนว่าตาทำงานอย่างไร หูทำงานอย่างไร กายทำงานอย่างไร แล้วก็ใจ เขาทำงานอย่างไร เพื่อถ้าเรารับรู้การทำงานของตา หู จมูก ลิ้น กายแล้วก็ใจ เยอะๆ เนี่ย อีกใจหนึ่ง มันจะมีใจสองใจ ใจที่ทำงานและใจที่รู้การทำงาน ใจที่รู้การทำงานจะไม่ทำงาน แต่จะเห็นการทำงาน เหมือนใจที่รับรู้อารมณ์
อารมณ์มันทำ แต่ใจรับรู้ไป
ให้ฝึกซ้อมตัวนี้บ่อย ๆ ถ้าเราสัมผัส บางครั้งเราทำไป เราก็จะเห็นความคิดมันทำงาน เวลามันคิดขึ้นมา อ้อ นี่คือความคิดมันทำงาน ใจก็จะเห็นว่าความคิดนี้ทำงาน บางครั้งมันไม่พอใจ อ้อ ความไม่พอใจกำลังทำงานอยู่ เวลาความพอใจเกิดขึ้น ก็เห็นความพอใจทำงานอยู่
หรือบางครั้งเราฝืนเรื่องใดเรื่องหนึ่งปุ๊บ ตั้งใจฝืนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พอเรื่องนั้นเกิดขึ้นมาปุ๊บ เราก็เห็นเห็นการทำงานของมัน มีทั้งเหตุผล มีทั้งอารมณ์ มีทั้งความอยาก มีทั้งวิธีการ มีทั้งอุบายมีทั้งเล่ห์เหลี่ยมที่จะคอยดักหลอกจิตเราไปติดกับมัน และในการฝืนของเรา ทำให้เราเข้มแข็ง รู้อุบาย รู้เล่ห์เหลี่ยม รู้วิธีการ รู้ความคิดเหตุผล ที่มันคอยดักพรั่งพรูเข้ามาให้เรา สารพัดเรื่อง แต่เราก็ยังสงบนิ่ง
เฝ้าดูการทำงานของมัน
วิธีการที่จะสังเกตการเฝ้าดูการทำงาน เราจะต้องฝึกตัวรับรู้การทำงานให้มาก รับรู้การทำงานของมัน ยิ่งรับรู้การทำงานของตา หู จมูก ลิ้นกาย แล้วก็ใจ ที่คอยดักรับรู้เรื่องราวของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและอารมณ์ได้มากเท่าไหร่ จิตเราจะหยุดการทำงานมากเท่านั้น บางครั้งน่ะ จิตเราน่ะ
แม้แต่จะทำภาวนา มันก็ยังทำงานอยู่ เพราะมันตั้งใจทำภาวนา มันไม่ได้ตั้งใจรับรู้การภาวนา หัดรับรู้การภาวนา คือตัวรับรู้การทำงานของมัน อย่างสร้างจังหวะนี่ แล้วลองฝึกการทำงานของร่างกายดูซิ
เห็นอาการลักษณะ เวลาเราจะสังเกตว่าจิตมันรับรู้การทำงานตา หู จมูก ลิ้นกาย มันรับรู้การทำงานของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสได้ชัด ๆ นะ เป็นอย่างไร ถ้าเรารับรู้ได้ชัด ๆ จะเห็นว่า เมื่อยกตัวอย่างเช่นในขณะนี้
ถ้าเรารับรู้การทำงานของร่างกาย โดยไม่จมไปกับการเคลื่อนไหว เราจะเห็นชัด ๆ เลยว่า อาการเคลื่อนไหวเป็นลักษณะหนึ่ง อาการยกขึ้นแล้วมีอาการหนักก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง อาการหยุดนิ่งก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง อาการที่เอามือมากระทบกับหน้าท้อง กับเสื้อผ้า ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง
อันนี้เขาเรียกว่าเรากำลังรับรู้การทำงานของร่างกาย เห็นอาการของเคลื่อนไหวมากกระทบกับร่างกาย อาการหนักเบามากระทบกับร่างกาย อาการหยุดมากระทบกับร่างกาย อาการที่มือมากระทบกับอวัยวะต่าง ๆ ที่มันเกิดสัมผัสมากระทบกับร่างกาย เดี๋ยวใครเดิน ก็จะต้องมีอาการ
การทำงานของร่างกายและเห็นอาการเดินเกิดขึ้นกับร่างกาย อาการยกเกิดขึ้นกับร่างกาย อาการหนักเกิดขึ้นกับร่างกาย อาการนิ่งเกิดขึ้นกับร่างกาย อาการกระทบเกิดขึ้นกับร่างกายนี่ เราจะมีอาการอีกเยอะแยะที่กำลังกระทบอยู่กับร่างกาย อาการอุ่น อาการเย็น อาการนิ่ม อาการแข็ง อาการเต้นของหัวใจ แล้วก็อาการ ในร่างกายกำลังหายใจ กำลังกระพริบตา กำลังกลืนน้ำลาย กำลังขับถ่าย
เราตื่นขึ้นมามันก็จะมีอาการของร่างกายที่รู้สึกเป็นการเจ็บท้อง ขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นี่เขาเรียกว่ารับรู้การทำงานของร่างกาย จะเห็นลักษณะของอาการแต่ละอย่างที่มากระทบของมัน จุดนี้น่ะ จะเป็นจุดยืนยันได้ว่า เรากำลังรับรู้อาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายจริง ๆ
ทีนี้ถ้าหูเหมือนกัน ถ้ามันทำงานจริง ๆ จะรับรู้ลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้น ตาก็จะรับรู้รูปภาพที่ปรากฏต่อหน้า จะเป็นสีสัน รูปลักษณ์ ขนาด ความใหญ่ ความเล็กที่กำลัง ปรากฏขึ้นอยู่
ส่วนถ้าเราไปรับรู้ใจ ใจที่รับรู้ใจที่รับรู้การทำงานของอารมณ์ก็จะเห็นลักษณะของอารมณ์
อารมณ์อยากเป็นอย่างนี้ อารมณ์ฟุ้งซ่านเป็นอย่างนี้ อารมณ์เบื่อเป็นอย่างนี้ อารมณ์หดหู่เป็นอย่างนี้
อารมณ์อึดอัดขัดเคืองเป็นอย่างนี้ อารมณ์ขี้เกียจเป็นอย่างนี้ อารมณ์ง่วงซึมเป็นอย่างนี้ ลักษณะของความง่วง การซึม หรือบางครั้งจะมีอารมณ์ตื่นขึ้นมา จะเป็นอารมณ์สงบ อารมณ์เบาสบาย อารมณ์ที่นิ่ง
อารมณ์ที่ทำให้จิตใจสบาย เห็นลักษณะของอารมณ์ที่มันเข้ามา
อันนี้ เขาเรียกว่าใจไม่ทำงาน แต่ใจเห็นลักษณะที่มันทำงาน มันจะต่างกับใจที่เข้าไปร่วมกับอารมณ์ ถ้าใจที่เข้าไปร่วมกับอารมณ์แล้วไซร้ มันจะไม่เห็นลักษณะของอารมณ์ มันจะเข้าไปร่วม
ฉะนั้นทำให้เราฝึกฝืน ฝึกฝืนอุปนิสัยอันหนึ่ง คืออุปนิสัยที่เข้าไปทำงาน เข้าไปร่วมกับอารมณ์
เข้าไปทำงานตามอารมณ์ ที่เราเป็น ที่เราเคยติดกันเป็นนิสัยจนเป็นร่องลึก เวลามีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นมา ก็ตอบโต้ ต่อต้าน หรือไม่ก็ไหลตาม ไม่เคยหยุดนิ่ง ที่จะดูมันทำงานกัน เรากำลังจะดูธรรมชาติเขาทำงานกัน และทุกเรื่องก็จะมีการถูกกำจัดเรื่องราวในตัวเองเสร็จ กฎของธรรมชาติเขาก็จะทำงาน
กฎของความทุกข์ในเรื่องนั้น ๆ เขาก็ทำงาน คือความบีบคั้น อึดอัดขัดเคือง
กฎของความเปลี่ยนแปลงไม่คงตัวอยู่ได้เสมอ ๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เขาก็จะทำงาน
กฎของอนัตตาคือเดี๋ยวเขาก็หายไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เรื่องดี เรื่องไม่ดี หยาบ กลาง ละเอียด
อดีต อนาคต เลว ประณีต ใกล้ไกล ผลสุดท้ายดับสลายหมด นี่เขาเรียกกฎของไตรลักษณ์เขาก็ทำงานของเขา ถ้าเรารู้เขาอย่างลึกซึ้งแล้ว จิตของเราจะหยุดนิ่ง เหมือนบุคคลหนึ่งที่มีลูกน้องทำงานแทน ตัวเขาเองก็เลยไม่ต้องทำอะไร เห็นลูกน้องมันทำงานกัน เห็นลูกมือมันทำงานกัน แต่ละเรื่องแต่ละราว
ฉะนั้นการจะฝึกภาวะของตัวรู้ให้มันอยู่ในปัจจุบันเนี่ย ให้มันระลึกถึงเรื่องเฉพาะหน้า เฉพาะหน้า
คำว่าอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันมันไม่มี มีแต่ปัจจุบันคือสิ่งที่กำลังเกิดการไหลผ่าน อนาคตกำลังผ่านไปเป็นอดีต นั่นแหละเขาเรียกปัจจุบัน ปัจจุบันคือภาวะของอารมณ์ที่ไหลผ่าน
ฉะนั้นเวลาเราฝึกให้มันเท่าทันการกระทบ ก็เห็นการไหลผ่านของมันไปเรื่อย ๆ คนไหนที่เห็นการไหลผ่านของอารมณ์ไปเรื่อย ๆ คนนั้นแหละเกาะติดกระแสอารมณ์ปัจจุบันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ที่มันกำลังไหลผ่าน เสียงผ่านหู รูปผ่านตา กลิ่นผ่านจมูก รสผ่านลิ้น
กายกำลังผ่านการเคลื่อนไหวที่ว่า ไหวบ้างผ่านไป หยุดบ้างผ่านไป หนักบ้างผ่านไป เบาบ้างผ่านไป กระทบบ้างผ่านไป แล้วใจกำลังเห็นความคิดผ่านไปเรื่อย ๆ ถ้าเราฝึกแล้วเราจะเห็นได้ชัดว่า ข้างในน่ะ จะเป็นเรื่องอดีตกับอนาคตที่มันกำลังเกิดขึ้นมาเพื่อไหลผ่าน แต่ภายนอกทั้งหมดน่ะ เป็นเรื่องเฉพาะหน้าในเรื่องของปัจจุบัน
ฉะนั้นเรากำลังพยายามฝึกภาวะของการตื่นรู้ขึ้นมาเพื่อรับรู้การทำงานของมัน จำหัวใจอันนี้ดี ๆ
ฝึกให้มันตื่นรู้ขึ้นมาเพื่อรับรู้การทำงานของมัน ทุก ๆ วัน ทุก ๆ ขณะ ยิ่งรับรู้มากเท่าไหร่ รับรู้การทำงานของมันได้มากเท่าไหร่ แล้วใจเข้าไปไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่เข้าไปประคอง ไม่เข้าไปจัดการมากขึ้น นั่นแหละ จะเป็นภาวะของความสงบ สงบที่รู้เห็นตามความเป็นจริง
มันจะเป็นความสงบที่ท่ามกลางสิ่งที่เคลื่อนไหวรอบ ๆ ตัวมัน และจะเป็นความสงบแท้ ที่สามารถสงบได้ทุก ๆ เหตุการณ์ เพราะใจไม่ได้ทำงานอะไร
ฉะนั้นขอให้ทุกคนพยายามฝึกฝืน ศึกษา เรียนรู้จุดนี้ให้ดี ๆ คือการฝึกหัดรับรู้การทำงานของอายตนะ รับรู้การทำงานของสิ่งที่มากระทบกับอายตนะ ไปสังเกตให้ดี ๆ ว่าถ้ามัน
ตามันรับรู้จริง ๆ เนี่ย มันรับรู้แค่ รูป รูปนั้นก็รับรู้แค่ สีสัน ลักษณะ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง
หูเหมือนกัน ก็รับรู้เสียง ที่เป็นลักษณะของเสียงที่มากระทบ เสียงต่ำบ้างแหลมบ้าง จมูกก็เหมือนกัน มันก็จะรับรู้ลักษณะของกลิ่นที่มากระทบ ลิ้นก็จะรับรู้ลักษณะของรสที่มากระทบ มันทำงานแค่นี้ กายก็รับรู้ลักษณะของสิ่งที่มากระทบกับมัน เย็นบ้าง ร้อนบ้าง อุ่นบ้าง นิ่มบ้าง แข็งบ้าง
อาการยืน เดิน นั่ง นอนบ้าง ลักษณะของมัน ไหวบ้าง เคร่งบ้าง การเคลื่อนไหวนานาชนิดก็เป็นลักษณะหนึ่ง ที่มันมากระทบร่างกาย ก็รับรู้ไป
ส่วนจิตใจก็เหมือนกัน ก็รับรู้ความคิดนึก รับรู้อารมณ์ ลักษณะของอารมณ์ โกรธเป็นอย่างนี้
เหมือนจิตมีราคะ ก็รู้ว่ามีราคะ จิตไม่มีราคะ ก็รู้ว่าไม่มีราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่ามีโทสะ จิตไม่มีโทสะ ก็รู้ว่าไม่มีโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่ามีโมหะ จิตไม่มีโมหะ ก็รู้ว่าไม่มีโมหะ รับรู้ลักษณะของโทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน สงบนิ่ง นี่เป็นลักษณะของอารมณ์ที่มากระทบกับจิตอยู่ตลอดเวลา ที่เป็นความคิด ที่เป็นอดีตอนาคต แล้วเราก็จะเห็นการทำงานของไตรลักษณ์ ที่เขาทำงานของเขาอยู่เรียบร้อยแล้ว โดยเราไม่ต้องไปทำอะไรเลย เพียงแต่เราทำหน้าที่ของเราให้ถูกต้อง คือการรับรู้และไม่รีบทำอะไร และดูเขาทำงานไป เปิดใจกว้าง ๆ ยอมรับเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ แต่อย่าเข้าไปร่วมในเหตุการณ์นั้น แต่เป็นคนที่จะดูเหตุการณ์นั้น
ที่ครูบาอาจารย์บอกอยู่เสมอ ๆ ว่า เป็นผู้รู้ ผู้ดู เหมือนเราไปดูเขาเล่นกีฬา ดูเขาต่อยมวย คนต่อยมันก็เจ็บ แต่เราไม่ได้เจ็บ ดูเขาเล่นบอล คนเล่นก็เหนื่อย แต่เราไม่ได้เหนื่อย เราก็เชียร์อยู่ข้างนอก
เหมือนเรานี่แหละ เราใช้ลูกน้องทำงาน เราก็แค่ตรวจสอบดูการทำงานของมัน นี่แหละ เราจะได้ความสงบนิ่ง มาแบบสบาย ๆ ท่ามกลางปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับอารมณ์ต่าง ๆ เพราะว่า เราจะเห็นว่าอารมณ์มันทำงานของมันทั้งหมดเลย ทุกอย่างมันจะปรุงแต่งกันขึ้นมา
ผลสุดท้ายแล้วมันจะมีเหลือแค่ธาตุ 4 กับขันธ์ 5 มันปรุงแต่งกัน มันปรุงแต่งเป็นอารมณ์แบบนั้น แบบนี้
แบบโน้น แต่ใจเราน่ะ แค่ตื่นขึ้นมา รับรู้ การปรุงแต่งของมัน การรับรู้การปรุงแต่งของมัน ได้เต็มที่ จิตจะไม่ปรุงแต่ง แต่จิตที่เราปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา คือจิตเรายังไม่รับรู้การปรุงแต่งของมัน เราพยายามปรุงแต่ง สร้างสรรค์สิ่งที่ตัวเองชอบ พอใจ รังเกียจสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบไม่พอใจ
ก็ขอให้พวกเราฝึกตัวนี้ให้ชำนาญ ให้เท่าทันการกระทบ ให้เท่าทันเรื่องเฉพาะหน้าให้เท่าทันการไหลผ่าน ให้เท่าทันในการเห็นการทำงานของสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา แล้วจิตเราจะสงบนิ่งไม่ทำอะไรเลย แต่มีความรู้มากมายปรากฏเกิดขึ้น จากจุดนี้ มีความรู้ มีความเข้าใจ มีการยอมรับ แล้วก็มีการเป็นอยู่อย่างอิสระได้มากขึ้น
ขอให้พวกเราพยายามที่จะสร้างกุศลให้ตัวเอง โดยการลุกขึ้นมาภาวนา กุศลในการให้ทาน ก็เป็นกุศลอันหนึ่งที่เราขวนขวายทำอยู่ กุศลในการรักษาศีลที่เราพยายามควบคุมกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็เป็นกุศลอันหนึ่ง และกุศลอีกอันหนึ่งคือกุศลภาวนา พาใจออกจากทุกข์ พาใจออกจากทุกข์ พาใจพ้นทุกข์ พาใจให้เป็นอิสระจากทุกข์ได้ นี่ก็เป็นกุศลอีกอันหนึ่ง ที่เป็นกุศลมหาศาล ที่เราทุก ๆ คนกำลังทำกันอยู่
ขอให้ทำไปเรื่อย ๆ จนมันได้อุปนิสัย ถ้ามันได้อุปนิสัยแล้ว มันจะเป็นเรื่องสบาย แต่ถ้ายังไม่ได้อุปนิสัย จะเป็นเรื่องลำบาก ก็ขอให้ตั้งใจที่จะสะสมกุศลให้ตัวเอง อย่างน้อยก็เอาเป็นเสบียงเลี้ยงเราไปแต่ละวัน ๆ แต่มันก็มีผลไปสู่ภพภูมิเบื้องหน้าอยู่เรื่อย ๆ ถ้าภพภูมิเบื้องหน้าคือวันข้างหน้า เราจะเห็นได้ว่าบุคคลที่ได้ภาวนานี่ มันมี ได้ทำทุก ๆ วันเนี่ย วันข้างหน้าเขาก็จะเข้าใจเรื่องราวของชีวิตของตัวเอง และอยู่กับความทุกข์ได้อย่าง อยู่อารมณ์ได้อย่างที่ไม่ตกเป็นทาสของมัน ถึงแม้มันตกเป็นทาสของมัน แต่ก็มีวิธีการที่จะจัดการ ที่จะออกจากมัน
แต่ถ้าบุคคลหนึ่งไม่เคยฝึกฝนเลยในวันนี้ อนาคตเบื้องหน้าหรือวันหน้า เขาก็จะตกไปสู่อบาย คือความทุกข์ยากลำบากของชีวิตในแต่ละวัน มีความสุข แต่ความสุขนั้นเจือด้วยความทุกข์มากมายมหาศาล เหมือนตกนรกทั้งเป็น ฉะนั้นเราน่ะ มีจังหวะดี มีโอกาสดีกว่าพวกที่เขาไม่ได้ทำกัน
เราได้เตรียมจิตเตรียมใจได้ฝึกจิตฝึกใจในแต่ละวัน ๆ ฉะนั้นอย่าไปหาความสุขกับการตกไปในอารมณ์ หาความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ กับเหยื่อล่อของอารมณ์ หลอกให้เราหลง และสำคัญมั่นหมายว่านั่นคือความสุขที่เราต้องการ เมื่อเราได้มันมาแล้ว แล้วอย่างไรล่ะ มันก็หายไปเหมือนเดิม เราก็ต้องตะเกียกตะกายสร้างขึ้นมาใหม่ แต่แล้วอย่างไรอีก มันก็จบไปเหมือนเดิม ไม่เหมือนกับเราว่า ไม่ต้องไปทุรนทุรายอยากได้ความสุขนั้น เป็นอิสระจากความสุขนั้น และก็มีความสุขมากกว่า มีความสุขถาวรกว่า เพราะว่าเราอยู่เหนือความสุขแล้ว มันเป็นความสุขที่เป็นอิสระ พยายามสะสมทุก ๆ วันให้เหมือนกับว่าเราเตรียมวันนี้ เพื่อไปเกิดวันพรุ่งนี้ หลังจากตายเมื่อกายแตกแล้ว มันก็จะมีที่ไปที่ดีขึ้น ภพภูมิที่ดีขึ้น
ฉะนั้นการทำวันนี้ มันเหมือนกับการทำทิ้งทำขว้าง แต่มันจะฝังไปในอุปนิสัยของจิตอยู่เรื่อย ๆ ขอให้ทุกคนมีความเข้มแข็ง ที่จะต่อสู้กับชีวิต ที่จะมีการทำงานของอายตนะ มีการทำงานของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและอารมณ์อยู่ตลอดเวลา เขาทำไปกันอย่างนี้จนวันตาย มีแต่เราดูเขาทำงานให้ได้ แล้วเราจะสบายจากวันนี้จนวันตาย
ขอให้ทุกคนจงประสบกับสิ่งนี้ ทุก ๆ คน
ขออนุโมทนาในการตั้งใจภาวนา ตื่นขึ้นมาทำร่วมกัน ก็ขอส่งกำลังใจด้วยจิตที่มุ่งมั่นในเรื่องเดียวกัน แบ่งปันให้ทุกคนได้รับกำลังใจอันนี้ด้วย ทุก ๆ คน
ถอดเสียง : จันทร์จิรา ทองไหลรวม
Tuesday Aug 18, 2020
อาการของอารมณ์ พจ.กระสินธุ์ 070863
Tuesday Aug 18, 2020
Tuesday Aug 18, 2020
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 7 สิงหาคม 2563 ช่วงเช้า ณ วัดแพร่แสงเทียน
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Saturday Aug 15, 2020
หัดรู้การทำงานของรูป_นาม พจ.กระสินธุ์ 050863
Saturday Aug 15, 2020
Saturday Aug 15, 2020
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 ช่วงเช้า ณ วัดแพร่แสงเทียน
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Wednesday Aug 12, 2020
ดู รูป ทำ นาม ทำ พจ.กระสินธุ์ 050863
Wednesday Aug 12, 2020
Wednesday Aug 12, 2020
เมื่อวานเราพูดถึงเรื่องของการที่ว่า ให้เขาหัดว่ามันมีอารมณ์หนึ่งที่เรากำลังฝึกอยู่ ที่ว่าเขาเรียกว่าอารมณ์รูปธรรม นามธรรม ที่เรากำลังฝึกอยู่เนี่ย ความหมายของคำว่าอารมณ์รูปทำ นามทำ นี่ก็คือ ความหมายของมันคือเราเห็นพฤติกรรมของรูปที่มันทำและพฤติกรรมของนามที่มันทำ โดยที่ตัวเราเองน่ะไม่ได้ทำ ตัวเราเองเป็นคนรับรู้การกระทำของอันของมัน เป็นการฝืนนิสัยในการรับรู้การกระทำของมัน มันจะเป็นอารมณ์หนึ่งที่หลวงพ่อเทียน หรือครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า มันเป็นพฤติกรรมของอารมณ์รูปทำ นามทำ เมื่อก่อนอาตมาจะเข้าใจรูปทำนามทำหมายความว่า กายมันทำอะไร ใจก็ทำด้วย อันนี้ เป็นความเข้าใจพื้นฐาน แรก ๆ ว่า เออ เวลารูปทำนามทำนะ ถ้าใครที่ผ่านขั้นตอนในรูปนามแล้ว แยกรูปแยกนามได้ชัดแล้วเนี่ย เหมือนกับเราเริ่มฝึกแยกเรื่องภายนอกภายในได้ชัดแล้วเนี่ย มันจะเห็น มันจะขับขยับมาสู่อารมณ์ที่ 2 คือเห็นรูปมันทำและนามมันทำ เห็นพฤติกรรมของรูปที่มันทำ เห็นพฤติกรรมของมมันทำกัน โดยที่จิตเราไม่ได้ทำอะไร จิตเราทำหน้าที่รับรู้ รับรู้ดูการกระทำของมัน เหมือนกับเจ้านายสั่งให้ลูกน้องทำงาน แต่เจ้านายไม่ได้ทำงาน เจ้านายก็จะดูลูกน้องเนี่ยทำงานไป แต่ตนเองดูแค่ผลงานว่าลูกน้องมันทำงานมาเป็นแบบไหน เท่านั้นเอง แล้วก็ไปตรวจสอบเอา
อันนี้อารมณ์นี้เหมือนกัน ให้หัด คือ เราต้องหัดว่า ให้เห็นพฤติกรรมของรูปทำและนามทำเช่นพฤติกรรมของรูปก็จะมีอยู่ 5 ส่วน ที่เราคุยไป ที่ย้ำอารมณ์ตัวนี้บ่อย ๆ เพื่อจะทำให้จิตน่ะ มันรับรู้แล้วไม่ทำอะไร คือ
พฤติกรรมทางภายนอกก็จะมี
ตาที่มันทำหน้าที่เห็นรูปของมัน เวลาเราดูอะไรปุ๊บเนี่ย ลองฝึกสังเกตดูดี ๆ ว่า ถ้าเราจะตระหนักถึงการจะรู้รูปทำนามทำเออ เราอาจจะตระหนักว่า เออ เนี่ย เห็นตามันทำงาน ถ้าตาทำงานมันจริง ๆ โดยที่ไม่มีความคิดเข้าไปแทรกแซงนะ มันจะมองรูปเฉพาะหน้าได้ละเอียดขึ้น
หู ก็เหมือนกัน สังเกตดู เวลามันรับรู้ทำการทำงานของหูจริงๆ น่ะ มันจะฟังเสียง บางคนภาวนาแล้วจะสังเกตเห็นไหมว่า บางช่วงที่มันสงบนิ่ง จิตมันสงบนิ่งเมื่อไหร่ มันจะได้ยินเสียงทั้งไกล ทั้งใก้ล ทั้งเล็ก ทั้งใหญ่ ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด มันจะฟังเสียงได้เยอะขึ้น อันนี้เขาเรียกว่า รู้จัก หูมันทำงาน ใจรุบรู้มันทำงานของหูมันอย่างเต็มที่เลย ถ้าหูมันทำงานของมันอย่างเต็มที่ มันสามารถรับรู้คลื่นเสียงทุกชนิดเข้ามา แล้วก็จะเห็นลักษณะของเสียงแต่ละอย่าง เหมือนตาที่เห็นลักษณะของรูปแต่ละอย่างของมันได้ชัดเจน รายละเอียด
เหมือนเรา บางครั้งที่ว่าความรู้สึกตัวของเราดี ๆ และสงบนิ่งเวลาตาทำงานปุ๊บ มันจะไม่มองใบไม้แค่ใบไม้ มันจะมองทั้งสีสันของใบไม้ ลวดลายของใบไม้ รูปลักษณ์ของใบไม้ ขนาดของใบไม้ ลักษณะของใบไม้ อันนี้เขาเรียกว่า ตามันทำงานเห็นรูปจริง ๆ โดยไม่มีการปรุงแต่งของความคิด
อันนี้เหมือนกัน กลิ่นเหมือนกัน ถ้ามันได้กลิ่นแบบ มันไม่มีการปรุงแต่งของความคิดนะ มันจะได้กลิ่นของสิ่งนั้นได้อย่างละเอียดและลึกซึ้ง
ลิ้นที่หลายคนที่เป็นนักชิมน่ะ จะใช้แบบนี้เหมือนกัน ใช้ความรู้สึกกับรสที่มันมากระทบกับลิ้น จะเห็นอาการของรสแต่ละอย่าง แต่ละอย่าง ๆ ที่มันจะรู้สึกถึงความแตกต่าง เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด มัน อะไรต่าง ๆ เมื่อผสมกันแล้ว มันอร่อยอย่างไร ไม่อร่อยอย่างไร มันก็จะเห็นชัด อันนี้นะ ส่วนไปดูลิ้นมันทำงาน แล้วใจก็รับรู้การทำงานลิ้นไป
ทีนี้กายก็เหมือนกัน กายที่มันทำงาน คือสิ่งที่มากกระทบกับกาย กับตัวกาย มีอยู่ตลอดเวลา เช่น เวลาเรานอน เราก็จะสัมผัสทุกส่วนของร่างกาย ที่บางส่วนแข็ง บางส่วนอ่อน บางส่วนนิ่ม บางส่วนอุ่น บางส่วนเย็น หรือแม้แต่การกระพริบตา การหายใจ หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่มันมากระทบกับร่างกาย มีตัวร่างกาย แล้วมีตัวกระทบกับร่างกาย เมื่อจิตมันนิ่งต่อการรับรู้ไป โดยไม่ได้ไปใส่ความคิดหรืออะไรในโซนของรูปนะ มันก็จะเห็นอาการของร่างกายนี้ ละเอียดจนกระทั่งบางคนเห็นถึงชีพจรมันเต้น เลือดมันวิ่ง หรือตรงโน้นอุ่น ตรงนี้ร้อน ตรงนั้นเย็น ตรงนี้ปวด ตรงนี้ไม่ปวด อะไรต่าง ๆ ตรงนู้นเคลื่อนไหว ตรงนี้ไม่เคลื่อนไหว มันจะสัมผัส ร่างกายกำลังสัมผัสกับอะไร
นี่เขาเรียกว่า เป็นการฝึก รู้ว่าร่างกายมันทำงาน โดยมีอาการของผัสสะ ที่มันมาทำงาน พอเราดูไปแล้วเนี่ย มันจะเห็นว่า
ระหว่างตากับรูป มันทำหน้าที่ทำงานกัน รูปทำหน้าที่ปรุงแต่ง ตาทำหน้าที่รับรู้
หูกับเสียง เสียงทำหน้าที่ปรุงแต่งโดยธรรมชาติ หูทำหน้าที่รับรู้
แล้วก็จมูกกับกลิ่น กลิ่นทำหน้าที่ปรุงแต่ง จมูกทำหน้าที่รับรู้
ลิ้นกับรส รสทำหน้าที่ปรุงแต่ง ลิ้นทำหน้าที่รับรู้
กายกับสัมผัส สิ่งที่มาถูกต้องกายทำหน้าที่ปรุงแต่ง แล้วกายก็มีหน้าที่รับรู้การสัมผัสที่มันมากระทบกัน
ส่วนใจเหมือนกัน เวลาทั้งหมดน่ะ เวลามีอารมณ์เกิดขึ้นมาปั๊บ ใจก็ทำหน้าที่รับรู้ รับรู้การทำงานของมัน แม้อารมณ์มันปรุงแต่งขึ้นมาปุ๊บ แล้วใจมันกระทบกับใจ ใจก็ทำหน้าที่รับรู้มัน
ฉะนั้น อายตนะทั้งห้า ทั้งหกส่วน ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันทำงาน ทำหน้าที่รับรู้เรื่องราวของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและอารมณ์ทั้งนั้นเลย เราจะเห็นว่า เราไม่ได้ทำอะไร เราเมื่อเราฝึกตัวรู้ที่ไม่ทำอะไรบ่อยเข้า ๆ จะเห็นว่า เราจะมีลูกน้องทั้ง 6 คน พยายามทำงานของมันอยู่ตลอด โดยเราแบ่ง เราแบ่งให้ได้ชัดว่า จะเห็นได้ชัดว่า การทำงานของมัน ถ้าเป็นเรื่องรูป จะทำงานอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันเป็นหลัก มีการกระทบ แล้วก็เกิดขึ้นมารับรู้เป็นหลัก ส่วนนามเนี่ย มันจะมีอารมณ์ของการปรุงแต่งที่เป็นอดีตอนาคต หลังจากผ่านการกระทบแล้ว มันก็จะทะลุไปสู่เป็นอารมณ์ที่เป็นอดีตอนาคตที่จะมากระทบกับใจเป็นหลัก
ถ้าเราเห็น เรายืนหลักในการรับรู้การทำงานของมัน มากเข้า ๆ ปุ๊บ จิตจะเริ่มละเอียดขึ้น เนี่ยให้ไปฝึกซ้อม ไปฝึกซ้อมจิตตรงนี้ จิตตรงรับรู้การทำงานแล้วไม่ทำงานเนี่ย รับรู้การทำงานของมัน โดยที่รับรู้แล้วไม่รีบทำอะไรเลย มันจะเริ่ม ถ้ามันอยู่ ถ้ามันเริ่มชำนาญขึ้น หรือมั่นคงขึ้น เราจะเห็นได้ว่า เวลามันมั่นคงนะ เมื่อรับรู้เรื่องราวแล้ว มันจะไม่ไปทำอะไรกับเรื่องราวเหล่านั้น นี่เขาเรียกว่าความมั่นคงของการรับรู้ แต่เมื่อรับรู้แล้วเราเข้าไปแทรกแซง เราเข้าไปจัดการ เราเข้าไปทำนู่นทำนี่ อันนี้มันก็จะทำให้ตัวรับรู้ของเราเนี่ย อ่อนแอลง แต่บางเรื่องเมื่อเรารับรู้แล้ว รับรู้เรียบร้อยแล้ว แล้วเราต้องทำ แต่เบื้องหลังเนี่ย เราก็รู้จักว่า เออ เรื่องนี้จำเป็นต้องทำนะ เราก็เข้าไปทำ เมื่อเข้าไปทำเสร็จแล้ว เราก็กลับมาสู่ฐานของการรับรู้ แล้วไม่ทำอะไรต่อ อันนี้ มันจะเสริมสร้างกำลังของตัวพื้นฐานของตัวรับรู้ที่ ที่มีอุเบกขา ที่ไม่ทำอะไรเนี่ย ให้เข้มแข็งขึ้น แล้วมันจะส่งเสริมกำลังของศีล สมาธิ และปัญญา ในตัวเองมากขึ้น แล้วเราก็จะ เมื่อทำมากเข้า ๆ ปุ๊บ กำลังจิตมันจะเริ่มเห็นว่า มันจะเริ่มสบายขึ้นว่า เอ๊ย เราไม่ได้ทำอะไรเลยนะ มีแต่การทำงานของอายตนะทั้งหมดเลย เพียงแต่เราทำหน้าที่รับรู้การทำงานของมัน เท่านั้นเอง และสิ่งที่มันจะทำงานนะ มันจะทำตามแบบฉบับของมัน มันจะปรุงแต่งตามเหตุปัจจัยของมัน เราไม่มีสิทธิเลือก ไม่มีสิทธิ์เลือกสภาวะ ไม่มีสิทธิ์เลือกอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่จะมากระทบกับเรา
เราไม่มีสิทธิ์เลือกสิ่งที่มากระทบกับเรา แต่เรามีสิทธิ์เลือกที่ว่า เมื่อมันมากระทบแล้ว เราจะวางท่าทีกับมันอย่างไร วางท่าทีแบบรับรู้มัน หรือวางท่าทีแบบเข้าไปทำงานแทนมัน
ฉะนั้นโดยพื้นฐานตามปกติ เราชอบเข้าไปทำงานแทนมัน อันนี้มันเลยจึงทำให้ตัวรับรู้เราไม่ค่อยเติบโต และไม่ค่อยเข้มแข็ง และไม่ค่อยมีอุเบกขา มีแต่ตัณหาและทิฏฐิเข้าไปแทรกแซงอยู่ตลอด แต่ถ้าเราฝึกแบบนี้บ่อย ๆ ตัวความรู้สึกตัวที่รับรู้แล้วไม่ทำอะไร มันจะค่อย ๆ มีตัวสติ สมาธิและอุเบกขา เขาเรียกว่าปัญญาเนี่ย มันจะเริ่มมีกำลังในการที่ว่า เห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องของเราเลยนะแต่เป็นเรื่องของธรรมชาติที่มันทำกัน ฉะนั้น ทำให้ตัวนี้มันดีขึ้นนะ ตื่นขึ้นมารับรู้การทำงานของมัน ไม่ห้าม ไม่ตาม ไม่ต้าน แล้วไม่ทำงาน แทรกแซงอะไร นอกจากว่าเรื่องไหนจำเป็นจริง ๆ เราก็ต้องรู้จักว่า เราจะทำเรื่องนี้นะ แค่นี้นะ จบแล้วเลิก ให้รู้จักปริมาณว่า ทำเรื่องนี้แค่นี้ ระยะแค่นี้ เมื่อมันจบแล้ว เราก็จะเลิกขึ้นมา บ่อย ๆ แล้วในช่วงทำเราก็ต้องคอยดักดูด้วย ว่ามันมีตัวอื่น ที่จะทำงานอยู่เรื่อย ๆ เข้ามา
ตัวอย่างเช่นบางครั้งเราสวดมนต์อยู่เนี่ย เรากำลังสวดมนต์อยู่ ตาก็เห็นอยู่ ปากก็พูดอยู่ กายก็พนมมืออยู่ แต่บางครั้งใจน่ะ มันก็ร่วมมาสวดมนต์ด้วย แต่บางครั้งมันก็จะมีตัวที่มากระทบที่เป็นความคิด เรื่องอื่น ๆ คอยดักกระทบอยู่เรื่อย ๆ แต่ถ้าเราชัดเจนตัวหลักแล้ว เราก็จะอยู่กับเรื่องที่เราทำ ก็จะมีสมาธิกับการทำงานเรื่องนั้น โดยไม่สนใจเรื่องอื่น เมื่อเรื่องนั้นจบแล้ว ก็ค่อย ๆ สนใจมาทีละเรื่อง ไม่ใช่เอาหลาย ๆ เรื่องมาผสมกันจนมั่วหมด ไม่รู้เรื่องไหนเป็นเรื่องไหน มันจะได้ชัดเจนขึ้น
แล้วก็ ให้หัด การจะรู้รูปทำนามทำน่ะ อารมณ์รูปทำนามทำ ก็ให้ทันการกระทบของมันนั่นแหละ จังหวะที่สำคัญที่สุดคือจังหวะเมื่อมันกระทบแล้วน่ะ จิตรับรู้เรียบร้อยแล้ว แล้วดูลักษณะของมันไป ดูการทำงานของมันไป ไม่ต้องไปยุ่ง เพียงแต่สิ่งที่มากระทบนั้น มันจะแสดงลักษณะ แสดงตัวตนของมันให้เสร็จ เราก็แค่รับรู้มันให้ละเอียดขึ้น เพียงแต่เป็นผู้รู้ผู้ดู มันก็จะเริ่มเด่นชัดขึ้น
อยากให้เราหัดตรงนี้ให้มาก ให้เข้าใจอารมณ์รูปทำนามทำ เพราะมันจะไล่ไปสู่ว่ารูปโรคนามโรคเพราะว่าอาการต่าง ๆ ที่มากระทบกับอายตนะเรา มันคือโลกทั้งนั้นแหละ โลกก็คือโลกที่เป็นโลก เรื่องของโลก ๆ อารมณ์ของโลก ๆ หรือแม้แตกครั้ง มีเป็นโรคภัยไข้เจ็บก็มี ที่มันจะเกิดขึ้นมาเนี่ย แล้วเราก็จะเห็นรูปโลกนามโลกคืออารมณ์ของมัน อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง มันจะแฝงไว้ด้วยโลกของมัน ที่เห็นชัด ๆ คือโลกของความทุกข์ทั้งหมดเลย โลกทุกเรื่องทุกราวเป็นโลกของความทุกข์ แล้วมันก็จะเริ่มเห็นเรื่องของความไม่เที่ยง ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วมันก็จะเริ่มเห็นวิบาก เมื่อเราเข้าไปแทรกแซง เข้าไปทำปุ๊บ มันจะสร้างวิบากอะไรในใจให้เรา วิบากกรรมอะไรในใจให้เรา ที่ เมื่อเราหยุดแล้ว มันก็จะมีผลของอารมณ์นั้นขึ้นมาอีก เหมือนอย่างตัวอย่างเช่นว่า เราอาจจะ ที่เราต้องฝืนเนี่ย เราฝืนกับสัญชาตญาณในการที่จะตอบโต้ ฝืนสัญชาตญาณในการที่จะสนองตอบมัน พอเราไม่ทำตามปุ๊บ เราจะเห็นว่า ที่เหลืออยู่ทั้งหมดคือวิบาก ที่มันส่งคลื่นมาเป็นชุด ๆ วิบากของความคิดบ้าง วิบากของการมองโลกในความที่เราเคยมองผิด ๆ ไปบ้าง มันจะคอยมาหลอกล่อเรา ให้หลงไปทำตามมัน แต่เราก็ไม่หลงไปทำตามมัน เราเพียงแต่จะรับรู้ตามที่มันเป็นให้ได้มาก
ลองหัดดูนะ เดี๋ยวอาจจะส่งอันนี้ไปลอง ๆ ไปฟังดูก็ได้ ประมาณสัก 30 กว่านาที
ที่เกริ่น ๆ ไว้ก็คือ อยากให้เรามีอันนี้เป็นหลัก ฝึกหัดดูรูปทำนามทำ เมื่อแยกรูปแยกนามได้เสร็จแล้ว การดูรูปทำนามทำ ก็จะมีการฝืนไปเสร็จ ที่จะไม่ทำอะไรกับสิ่งที่มันทำ ทำตัวเหมือนเราเป็นหัวหน้างาน สั่งลูกน้องให้ทำงาน แล้วเราก็คอยไปตรวจสอบดูเฉย ๆ ว่า มันทำงานตามนั้นไหม ไปดูลักษณะของงาน รูปลักษณ์ของงาน ปัจจัยประกอบของงานเฉย ๆ เมื่อเราเห็นอย่างนี้ปุ๊บ เราก็จะเห็นได้ชัดว่า เหมือนเราอยู่ที่สูง แล้วก็เห็นพฤติกรรมของมันทั้งหมด ลักษณะของงาน ลักษณะของแต่ละอารมณ์เป็นอย่างไร ปัจจัยประกอบของแต่ละอารมณ์เป็นอย่างไร เมื่อถึงที่สุดแล้ว มันก็จะเป็นทุกข์ ไม่เที่ยงและสลายตัวไปอย่างไร ประมาณนี้
คือความรู้สึกตัว ที่ไม่ได้ทำ ซื่อ ๆ ที่ไม่ได้รีบทำอะไร ให้มากขึ้น เพื่อจะฝึกอารมณ์รูปทำนามทำ จนเห็น รูปโลกนามโลก จนเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนเห็นกรรมและวิบากของมัน ที่มันจะมาเรื่อย ๆ
การโค้ชพี่เลี้ยง ภาคฝืน3 โครงการรู้ขณิกะออนไลน์
โดยพระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 ณ ห้องกลุ่มไลน์
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Saturday Aug 08, 2020
ตั้งมั่นกับการรับรู้ พจ.กระสินธุ์ 020863
Saturday Aug 08, 2020
Saturday Aug 08, 2020
โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ คอร์สพัฒนาตัวรู้ ภาคฝืน3
โดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
นำปฏิบัติร่วมกันวันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม 2563 เวลา 05:00-05:30 น. ณ ห้องกลุ่มไลน์
🕊ทักทาย🕊
เจริญพรโยมทุกๆคน ที่ตั้งใจลุกขึ้นมาสร้างบารมีร่วมกัน สร้างพลังภาวนาร่วมกันในเช้านี้ ภาวนาไปด้วยนะ แล้วก็ฟังไปด้วย
🕊การภาวนา 1 เดือนต่อจากนี้🕊
👉เช้านี้จะได้ให้กำลังใจเพื่อให้พวกเราได้ตั้งใจภาวนาต่อในภาคฝึกฝืนในช่วงเวลาที่เหลืออีก 1 เดือน ถือโอกาสในช่วงนี้ได้ชี้แนะแนวทางที่เราจะทำต่อไป
👉การที่เราเริ่มฝึกกันมาได้กันถึง1เดือนและได้อ่านรายงานของแต่ละคนเขียนมา รู้สึกแต่ละคนมีความก้าวหน้า มีการภาวนาของเราอยู่ หลายท่านก็ยังสับสนอยู่บ้างเกี่ยวกับการภาวนาในช่วง1 เดือนต่อไปนี้
👉ในช่วงแรกเป็นช่วงที่เราได้เรียนทั้งภาคทฤษฎีควบคู่กับภาคปฎิบัติ มีทั้งการอ่าน มีทั้งการฟัง มีทั้งการทำเป็นตัวอย่างให้เราได้ฝึกปฎิบัติ
👉แต่ในช่วงเดือนสุดท้ายนี้เป็นช่วงที่เราจะต้องฝึกลงมือปฏิบัติ เพราะว่าได้แต่📌รู้จำ รู้จัก รู้เห็น เป็น มี📌
👉ภาวะของ”การรู้ “”การเห็น “มาจากการฟังบ้าง การอ่านบ้าง จากการลงมือปฎิบัติบ้าง ได้เห็นบางส่วน
👉แต่ทำ “ให้มันเป็น” “ให้มันมี”เราต้องพยายามทำ ให้ทำซ้ำๆ
👉คำว่า”มี”ให้มันมีจิตมีใจ
👉และคำว่า”เป็น”ให้มันเป็นนิสัย
👉เราต้องฝึกให้เกิดขึ้นโดยใช้สิ่งที่เราทำอยู่นั่นแหละ 📌แต่ว่าลงรายละเอียดกับมันให้มากขึ้น 📌ที่เราฝึกกันมา ในภาคฝึกฝืน ที่เราได้ฝึกมา หลายคนฝืนนอก ฝืนใน ก็จะเห็นพฤติกรรม เห็นลักษณะของอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่คอยดัก ที่เข้ามากระทบ ให้เราคอยสะเทือนอยู่เรื่อยๆ
🕊การภาวนาที่บ้าน🕊
การฝึกภาวนาอยู่ที่บ้านเป็นการฝึกภาวนาที่ต้องใช้กำลังมาก ใช้ความสามารถมาก ความเพียรมาก เพราะว่าต้องเจอกับอารมณ์ที่มากระทบ ที่มันหลากหลาย ไม่สามารถที่จะควบคุมมันได้ ไม่สามารถที่จะจัดสรรมันได้ มันมีความหลากหลายไม่เหมือนกับเรามาเข้าวัดปฏิบัติ เพราะว่าส่วนหนึ่ง จะมีการจัดสรรด้วยกฎระเบียบต่างๆ แต่การที่จะฝึกอยู่ที่บ้าน ฝึกไปกับการทำงานด้วย ฝึกไปกับโลกของปัจจุบันด้วย ในโลกปัจจุบันเป็นโลกที่เราทำอะไรไม่ได้เลย มีแต่เราจะต้องรับรู้เรื่องราวของมัน ที่มันจะเข้ามาใส่เราอยู่ตลอดเวลาถ้าเราไม่ตั้งมั่นให้ดี เราก็จะหลงไป หลงไปกับคลื่นที่มันมากระทบ ถาโถมมาใส่เราทั้งหมด
🕊ฝึกรับรู้การทำงานของอายตนะทั้ง 6 👀🦻🏿👃👅🧘❤️🕊
👉ในช่วง 1 เดือนนี้ พยายามฝึกรับรู้การทำงานของอายตนะทั้งหมด ฝึกรับรู้การทำงานของมันให้ได้ เพราะถ้าเราไม่ฝึกการรับรู้การทำงานของอายตนะแล้ว ใจเราจะเข้าไปทำงานแทนอารมณ์ แทนที่จะรับรู้อารมณ์ 📌🚩อันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องฝึก เพราะเราจะต้องฝึกให้จิตใจเรา ตัวรู้ของเรา
🔺ทำหน้าที่เป็นผู้รู้ ผู้ดูให้ได้
🔺เป็นผู้รู้ ผู้ดูให้ชำนาญ
🚩เป็นผู้รู้ผู้ดูให้เข้มแข็ง
👉ไม่เช่นนั้น อุปนิสัยเก่า อารมณ์เก่า ที่เป็นผู้หลง ผู้ลืม ผู้ไหล ผู้ตามกับอารมณ์ต่างๆ ก็จะเข้ามาทำงานแทนที่ ชิงเก้าอี้ ชิงที่นั่งของเรา 📌 👉เราต้องส่งเสริม เราต้องพยายามส่งเสริมกำลังของตัวรู้ ให้มากขึ้น ให้ติดเป็นนิสัย หัดเป็นผู้รู้ ผู้ดู เป็นผู้สังเกต เหตุการณ์อยู่เรื่อยๆ
👉ไม่เข้าไปร่วมในการแสดงของอารมณ์ต่างๆ ไม่เข้าไปร่วมไปมีส่วนได้ส่วนเสียให้ได้
👉แต่ไม่ปฎิเสธอะไร เพราะเวลาเราปฎิบัติจริงๆแล้ว เราไม่สามารถที่จะปฏิเสธอารมณ์ใดๆ ที่จะเกิดขึ้นมาได้เลย แล้วเขาจะดับไป
👉ทุกครั้งที่เขาเกิดแล้ว เราได้ทำตามเขา จะกลายเป็นร่องลึกในใจเรา🚩
👉ถ้าเราไม่ถมเราก็จะตกอยู่ในร่องนี้ตลอด มันก็เลยสร้างเป็นทิฐิ เป็นความคิดเห็นขึ้นมา 📌
👉เวลาตา👀กระทบรูป🦻🏿 หูได้ยินเสียง 👃จมูกได้กลิ่น 👅ลิ้นรู้รส 🧘กายสัมผัส ❤️ความคิดนึกในใจที่เกิดขึ้นมา เราจะมีร่องในใจของเราทุกคน ต้องคิดแบบนี้ ต้องรู้สึกแบบนี้ ที่คอยดักทำตามอุปนิสัยของเราแบบนั้นบ่อยๆ 👉แต่ตอนนี้ที่เรามาฝืน ต้องมาฝืนอุปนิสัยเดิมๆ ที่ทุกท่านทำอยู่ ที่ทุกท่านรู้สึกว่า เราติดอยู่ 📌
👉ช่วงต่อไปนี้พยายามตั้งโจทย์ เราจะฝึกสังเกตกับมันให้มาก สังเกต ปล่อยให้มันทำงานเอง คอยดักฝึกเห็นการทำงานอายตนะ
👀ตากับรูปที่กระทบกัน รูปที่มากระทบกับตา แล้วก่อเกิดการรับรู้ขึ้นมา
🦻🏿หูกับเสียง เวลาเราได้ยินเสียงอะไรต่างๆ ให้รู้สึกได้เลยว่า หูกำลังทำงาน ไม่ใช่เราทำงาน เสียงต่างๆเขากำลังทำงาน มีการทำงาน มีเสียงต่างๆมากระทบแล้วก็ดับไป กรหูเขาก็ทำหน้าที่รับรู้ไป รับรู้ไป ไม่ทำอะไรกับอารมณ์เหล่านั้น ไม่ทำอะไรกับเสียงเหล่านั้น แม้เสียงจะเป็นเสียงที่พึงพอใจ หรือเป็นเสียงที่ไม่พึงพอใจ ไม่พึงปรามรถนาที่มากระทบ ก็ให้รู้สึกว่า นั่นคือการทำงานของหู ที่กำลังรับรู้เสียงตรงๆตามที่มันเป็น มันไม่ได้มีอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจใดเกิดขึ้น
👃จมูกกับกลิ่น เวลาได้กลิ่น ก็ให้รู้สึกถึงการทำงานของจมูก อ้อนี่มันได้กลิ่น จมูกกำลังทำงานอยู่ รู้ว่ากลิ่นมาแล้ว ให้เห็นการทำงานของจมูก เห็นการทำงานของกลิ่นที่มากระทบกับจมูกบ่อยๆ ซ้อมไปให้เห็นเขาทำงาน ให้กลิ่นเขาทำงานมา ให้จมูกเขาทำงานมา กลิ่นเขาทำงานมาคือมากระทบกับจมูก จมูกทำหน้าที่รับรู้ไป
😛ลิ้นกับรส เวลาทานอาหารแต่ละครั้ง เราใช้อายตนะทั้งหมดเลย เวลาลิ้นมากระทบกับเรา รสมากระทบกับลิ้น ได้เห็นการทำงานของรส ได้เห็นการทำงานของลิ้น ที่มันกำลังรับรู้อยู่ ก็ได้รู้สึกว่า นี่ลิ้นเขาทำงาน ไม่ใช่เราทำงาน เราเพียงแต่รับรู้การทำงานของเขา พอฝึกบ่อยๆเข้า เราจะเห็นว่า เวลากินข้าว มันจะใช้การทำงานทั้งหมด เช่น ตาเห็นรูปอาหาร หูได้ยินเสียงจากการตัก การเคี้ยว จมูกก็ได้กลิ่นของอาหาร ลิ้นก็รู้รสของอาหาร กายก็สัมผัสความรู้สึกอาหารนั้น
หยาบ แข็ง อุ่น เย็น ร้อน อันนี้การทำงานของกาย และใจไปรับรู้เรื่องอารมณ์
🧘กายกับการกระทบ ก็เหมือนกัน ให้เห็น พยายามฝึก ให้รู้สึกถึงการทำงานของมันบ่อยๆ เพราะการทำงานทางร่างกาย มันจะมารับรู้สิ่งที่มากระทบ ดีบ้างไม่ดีบ้าง เย็น
ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ปวด เมื่อย เพลีย พวกนี้เป็นอารมณ์ที่ดักมากระทบกับกาย กายก็ทำงานรับรู้ไป หรือบางครั้ง บางคนมีโรคภัยไข้เจ็บ นั่นก็เป็นอารมณ์ที่มากระทบกับกาย กายก็ทำหน้าที่รับรู้ไป รับรู้ความทุกข์ของมัน รับรู้ความบีบคั้นของมัน รับรู้เวทนาของมัน ที่มันกำลังกระทำกับกายอยู่ มันกำลังกระทบกับกายอยู่ ทำหน้าที่รับรู้ไปตรงๆ ซื่อๆ ฝึกตรงนี้ จะได้เห็นว่า เวลามันร้อนหรือมันเย็น มันเป็นของมันเอง กายทำหน้าที่รับรู้ เวลามันกระพริบตา เวลามันหายใจ มันเป็นของมันเอง แม้แต่เวลายืน เดิน
นั่ง นอน เหยียด เคลื่อนไหว มันเป็นของมันเอง ให้เห็นจังหวะที่มันมากระทบบ่อยๆ ให้ชำนาญการเห็นการทำงานของมัน
❤️ส่วนใจของเราเองก็เห็นการทำงานเวลามีอารมณ์มากระทบใจ
ที่ทุกคนเห็นอยู่ประจำๆนั่นแหละ เช่น เดี๋ยวมีความโกรธมากระทบใจ ใจก็รับรู้การทำงานของมัน 👉ใจจะรับรู้การทำงานของมันทั้งหมดเลย 👉รับรู้การทำงานของตา หู จมูก ลิ้น กาย ด้วย 👉รับรู้การทำงานของภายในที่มันปรุงแต่งอีกด้วย👉ตัวใจจึงป็นตัวทำหน้าที่รับรู้ด้วยและทำหน้าที่หลงด้วย ในตัวของมันทั้งสองอย่าง👉มีสติเกิดขึ้นมามันก็จะทำหน้าที่รับรู้👉แต่ถ้าไม่มีสติขึ้นมา มันก็จะทำหน้าที่หลง รู้กับหลงอยู่ในใจนั่นแหละ👉ถ้าเรารู้อาการหลงเมื่อไหร่ ใจเราก็จะตื่นออกมา ตื่นออกมาเห็นลักษณะของอารมณ์ที่มันมากระทบกับใจที่มันดักคอยปรุงแต่งอยู่เรื่อยๆ ปรุงแต่งอยู่บ่อยๆ 📌เพื่อจะทำให้ใจเราเริ่มหยุดพฤติกรรมต่อต้านหรือต่อสู้ ไหลตาม เพลิดเพลิน อันนี้เป็นอารมณ์ทั้งหมดเลยที่มากระทบกับใจเรา แต่ตัวใจเราจริงๆ ทำหน้าที่รับรู้เฉยๆ รับรู้สิ่งที่มากระทบ เราต้องพยายามทำใจกว้างๆ เปิดใจยอมรับทุกเรื่องที่มันจะมากระทบกับเรา🚩
📌พยายามตั้งหลักว่า 👉รับรู้การทำงานของมันให้ได้บ่อยๆ หรือบางครั้งเราเสียศูนย์ไปจากการรับรู้ตรงนี้ เวลาเราเสียศูนย์จะรู้สึกว่า เราไม่ทันการกระทบ📌 ตรงจุดนี้เป็นจุดที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง ทำอย่างไรจะสร้างอุปนิสัยให้รู้เท่าทันการกระทบ ให้รู้เท่าทันการทำงานของมัน ❕แล้วเราไม่ทำงาน ❗️เราจะนั่งดูมันทำงาน นั่งดูพฤติกรรมของอายตนะต่างๆเขาทำหน้าที่กันอยู่ตลอดเวลา 📌ถ้าเราไม่ฝึกตรงนี้ ฝึกตัวรู้ให้เท่าทันการกระทบบ่อยๆ มันจะทำให้เราไม่ทันอารมณ์เราเอง เวลาไม่ทันการฝืนเราก็จะไม่มี การฝืนไม่มี 👉มันก็จะตกเป็นทาสของอารมณ์ ❗️❤️ใจตกเป็นทาสของอารมณ์แล้ว ก็จะนำไปสู่พฤติกรรมทาง😡กายกรรม และ🗣วจีกรรมก็จะตามมา แต่ถ้าเราฝึกบ่อยๆ และทันการกระทบปุ๊บ ถึงแม้มันจะมีอารมณ์เกิดขึ้นมาก็ตาม เราก็เห็นการทำงานของมันบ่อยๆ แล้วพอเรามีกำลังมากเข้าๆ 👉เราก็จะมีกำลังในการรู้ซื่อๆ 👉แล้วเลือกทำ อันไหนที่ควรทำ อันไหนที่จำเป็นเราก็ทำ อันไหนไม่จำเป็นเราก็ปล่อยไป👉การจะปล่อยได้มันต้องฝึกตัวรับรู้การทำงาน รับรู้การกระทบให้เป็นนิสัยให้ได้ก่อน อันนี้ที่เราฝึกกันมาทั้งหมด👉 เพื่อให้มันเกิดอุปนิสัยในการที่จะเท่าทันการกระทบให้ได้ 👉การกระทบมีอยู่แล้ว 👉การรับรู้มีอยู่แล้ว 🔺แต่การระลึกถึงภาวะนี้ได้บ่อยๆ มันเป็นเรื่องที่จำเป็น 📌
🕊 ให้ไปย่อยบทเรียนให้ชำนาญ🕊
ตั้งแต่นี้ต่อไป อาจจะไม่มีบทเรียนอะไรพิเศษให้ 👉แต่ให้ไปย่อยบทเรียนตรงนั้นให้ดี 📌ไปฝึกให้มันชำนาญให้ได้ ไปฝึกให้มันเท่าทันให้ได้ เพื่อจะได้ทำให้เราทันตัวเอง ทันกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ทันอารมณ์ที่มากระทบ เห็นมัน รู้มัน เข้าใจลักษณะของมัน และดูมันทำงานกัน 📌ถ้าเราไม่ทำตรงนี้ จิตเราจะไม่ได้พักผ่อน ให้ทำจิตเหมือนนั่งดูคนทำงาน เวลาเรานั่งดูคนทำงาน อาจจะนั่งอยู่ในที่ร่มๆ สบายๆ และเห็นคนทั้ง6นี้ทำงานกันอยู่ตลอดเวลา ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ที่มันคอยดักมา กระทบกับเราอยู่ตลอดเวลา เราเพียงแต่ตั้งหลักให้มั่น เรียกว่าภาวะของสมาธินั่นเเหละ เวลาที่จะสร้างภาวะของสมาธิให้มั่นคง บางครั้งเราก็ต้องใช้ความคิดเข้าช่วยบ้าง ใช้เจตนาเข้าช่วยบ้าง เพื่อให้มันจับหลักได้ เพื่อให้เกิดความชำนาญขึ้น พอเราสังเกตตรงจุดนี้
สังเกต2จุดนี้ดีๆ1.จุดกระทบ จุดของการเกิดกระทบ และ2.จุดของการรับรู้การทำงานของอายตนะ ฝึกบ่อยๆให้มันทำงานขึ้นให้ได้ ให้เท่าทันสองเรื่องนี้ ถ้าเราเท่าทันการกระทบ เราก็อยู่กับอารมณ์ปัจจุบันได้
ถ้าเราเท่าทันการทำงานของมัน📌 ปัญญาที่เราเห็นการทำงานของมัน ก็จะเกิดขึ้นและจิตก็จะได้รับการพักผ่อน ❗️ภาวะของการอยู่ในปัจจุบัน การเท่าทันการทำงาน การเท่าทันการกระทบ การรู้ทีละขณะ ขณะหนึ่งๆ อันนี้เป็นภาวะเดียวกันทั้งหมดเลย ให้ทันขณะหนึ่ง ให้ทันการกระทบ อยู่กับปัจจุบันสั้นๆ นี่เป็นคำพูดเดียวกัน เป็นอาการเดียวกัน ใครจะเอาไปใช้แบบไหนก็ได้
❗️ ฝึกให้เท่าทันการทำงานของมัน รับรู้การทำงานของมันและใจเราจะไม่ค่อยทำงาน นี่ก็สร้างอุปนิสัยในใจ อุปนิสัยในใจคือ การให้มันหลุด ให้มันพ้น เวลาติดเข้าไปในอารมณ์ใดปุ๊บก็ให้มันกลับมา ให้มันหลุดออกมาและก้าวพ้นมันออกไป การสร้างอุปนิสัยในการหลุดพ้นบ่อยๆ จะทำให้มันเริ่มคุ้นชินกับอารมณ์นี้บ่อยๆ❗️อารมณ์นี้เป็นอารมณ์ของการหลุดพ้น เป็นอารมณ์ของมรรคผลนิพพาน ❗️ที่มันมีอยู่ แต่เราต้องซ้อมมันบ่อยๆ เพื่อที่เวลามีอะไรปุ๊บ จะได้หลุดจากอารมณ์นั้น และก็พ้นจากอารมณ์นั้นไป
🕊วิธีการฝึก 1:1🆚1:6🕊
👉วิธีการฝึกให้ตัวรับรู้มันเข้มแข็งขึ้น ต้องตั้งหลักดีๆว่า ตัวรับรู้ของเรา รับรู้ซื่อๆ รับรู้แล้วไม่รีบทำอะไร ❤️อันนี้เป็นหัวใจในการที่จะทำให้ตัวรู้ซื่อๆของเราเข้มแข็งขึ้น❤️👉รับรู้แล้วไม่รีบทำอะไรกับมัน รับรู้การทำงานของมัน เห็นการทำงานของมัน เห็นการกระทบของมันทั้ง2ส่วน แต่ว่าจิตใจเรายังคงทำหน้าที่รับรู้ซื่อๆ แล้วไม่ทำอะไร แล้วคอยดูความจำเป็นจริงๆ ถ้ามันจำเป็นจริงๆที่จะต้องทำ มันจะมาเตือนบ่อย อันนั้นเราก็ค่อยพิจารณาเอา
👉ในการทำให้ภาวะของการรับรู้ซื่อๆ ไม่รีบทำอะไร ให้มันเข้มแข็ง มันจะต้องมีการตรึกตรอง 📌🦻🏿ตรึกตรองอยู่ในจุดยืน แต่ไม่ใช่ยึดจุดยืน ฟังคำนี้ให้ชัด 📌🦻🏿
👉ภาวะของการมีสมาธิ ตัวเบื้องต้นคือมีวิตกวิจารณ์ คำว่าวิตกวิจารณ์ ถ้าเราใช้คำพูดนี้ เราจะรู้สึกเป็นอกุศล แต่ในความหมาย ตรึกอยู่ในเรื่องนั้นและตรองอยู่ในเรื่องนั้นบ่อยๆ เหมือนเราตั้งใจตรึกตรองในจุดนี้ ตรึกตรองอยู่ในการที่ว่า จะฝึกตัวรู้ที่เราไม่ได้ทำอะไร อันนี้เรียกว่า เป็นการตรึกตรองภายใน เวลามีอะไรมากระทบปุ๊บ เราก็แค่รับรู้มัน ไม่รีบทำตามมัน ไม่รีบปฎิเสธ มัน รับรู้แล้วไม่รีบทำอะไร ทำตรงนี้ให้มันมั่นคง ให้จิตมันคุ้นชินกับตัวนี้บ่อยๆ การรู้อะไรแล้ว ไม่รีบทำอะไร ทำบ่อยๆ
👉เราอาจจะฝึกสมาธิแบบหนึ่งต่อหนึ่ง(1:1)ก็ได้ เช่น เราฝึกรับรู้กับการทำงานของร่างกายไปก่อน ดูซิว่าอะไรมากระทบกับร่างกาย มีร่างกาย มีสิ่งที่มากระทบกับร่างกาย และก็มีการระลึกรับรู้ไป รู้หนึ่งร่างกายหนึ่ง สิ่งที่มากระทบในขณะหนึ่ง ถ้าเราทำได้บ่อยๆทำได้ถี่ๆ ทำได้มากๆ มันจะเริ่มทำให้เกิดการสงบ เรื่องอื่นๆก็เช่นกัน รับรู้ทางอายตนะเดียว หัดเรื่องเดียว ในการที่จะรับรู้การทำงานของร่างกาย ฝึกตัวรับรู้กับการทำงานของร่างกาย เอาตัวร่างกายเป็นตัวตั้งหนึ่ง ตัวกระทบสิ่งที่มากระทบกับร่างกายในขณะหนึ่งเป็นตัวตั้ง และเอาตัวรับรู้เฉพาะหน้า และไม่ทำอะไรเป็นตัวฝึกฝน เวลามีอะไรกระทบ มีอาการที่มากระทบกับร่างกาย ตัวร่างกาย แล้วดูว่ารับรู้แล้วเราสะเทือนไหม ถ้าสะเทือนก็รับรู้ว่าสะเทือน เวลาสะเทือนเป็นยังไง เวลามันไม่ตั้งมั่นจะเห็นว่า เมื่อรับรู้การทำงานของร่างกายแล้ว มันจะเกิดการคิดนึกขึ้นมา ไปเกิดการกระทบเป็นอารมณ์ทางใจต่อไปอีก เราก็เห็นมัน ถ้าเรารับรู้แล้วยังไม่มั่นคง รับรู้แล้วทะลุไปถึงการเกิดขึ้นภายในใจเรา แล้วก็ไปรับรู้ทั้งสองส่วน ทั้งภายนอกและภายใน เราจะซ้อมภาวะของการรับรู้นี้ ให้มันเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆนี่เรียกหนึ่งต่อหนึ่ง คือการรับรู้ที่จะฝึกในการตรึกในชีวิตประจำวันแต่ละวัน เราจะตรึกตรองอยู่ตรงนี้บ่อยๆไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ตรึกตรองกับการรับรู้แบบนี้ การทำงานภายนอกจะมีสิ่งที่มากระทบเยอะมาก แต่ในสิ่งที่มากระทบ ถ้าเราชำนาญในการที่จะรับรู้หนึ่งต่อหนึ่งบ่อยๆ เราจะได้หลัก เวลาอยู่กับอะไรก็ตาม สิ่งที่มากระทบต่างๆ มันก็จะทำให้เราได้หลักในการรับรู้แล้วผ่าน รับรู้แล้วผ่าน เห็นลักษณะของมัน เห็นอาการของมัน แล้วก็ปล่อยผ่านไปได้
👉เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น บางครั้งเราอยู่ในเหตการณ์ปัจจุบันจริงๆ ก็อาจจะใช้การรับรู้ ทำสมาธิแบบหนึ่งต่อหก(1:6)ก็ได้ เอาตัวรับรู้ซื่อๆเป็นหลัก แล้วเอาอารมณ์ทั้ง 6 ที่มันเกิดขึ้นมาเป็นตัวฝึก ตัวทดสอบ เช่นเวลาตา👀เห็นรูปก็รับรู้มัน 🦻🏿หูได้ยินเสียงก็รับรู้มัน 👃จมูกได้กลิ่นก็รับรู้มัน 😛ลิ้นรู้รส 🧘กายสัมผัส ก็รับรู้มัน ตามที่มันเป็น หรือแม้แต่❤️ใจมันคิด ก็รับรู้ มันนึกขึ้นมา มันมีอารมณ์ชอบไม่ชอบขึ้นมา หรือเผลอเพลินอะไรขึ้นมาปุ๊บก็รับรู้มัน
👉การรับรู้แบบ1:1 จะทำให้เกิดความสงบบ้าง สบายบ้าง เวลาเราทำไปบ่อยๆ แต่อย่าไปติดมัน
👉แต่การรับรู้แบบ1:6 จะทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงเยอะขึ้น เดี๋ยวมีตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แต่เป้าหมายเราคือ มีการรับรู้ซื่อๆ ตามที่มันเป็น รับรู้ซื่อๆ
👉ตอนนี้เราลองมี📌หมุดหมายในใจ ❤️มีเจตนาที่จะฝึกตรงนี้กันบ่อยๆ ว่าเราจะมีสมาธิกับการรับรู้การทำงานของอายตนะกับรู้ซื่อๆ แล้วเราจะไม่ทำงานลองไปฝึกให้ชำนาญนะ
🕊 ถูกบ้าง ผิดบ้าง ไม่ต้องกังวล ตั้งมั่นอยู่กับการรับรู้ 🕊
👉การฝึกบางครั้งจะรู้สึกมันถูกบ้างผิดบ้าง ใช่บ้างไม่ใช่บ้าง ไม่ต้องไปกังวล ให้ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำไปแล้วเป็นยังไง ก็ได้เรียนรู้บ่อยๆมันจะทำให้จิตเปิดกว้างขึ้น และยอมรับอารมณ์ได้มากขึ้น ฝึกฝนตัวเองได้ถี่ขึ้น
👉ในเบื้องต้น ลองหัดตัวรู้สึกที่มันไม่วิ่งไปหน้ามาหลัง แต่ตั้งมั่น ตั้งมั่นอยู่กับที่ และให้ทุกอย่างเข้ามาหาใจ เมื่อก่อนใจเราอาจจะวิ่งออกไปหามัน วิ่งออกไปหารูป หาเสียง หากลิ่น หารส หาสัมผัส และหาอารมณ์ เรียกจิตที่มันติดกาม ติดกามคุณทั้ง5ติดรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ ที่เราชอบใจและไม่ชอบใจ แต่ต่อไปนี้ เราจะเอาจิตตั้งมั่นอยู่กับตรงนี้ ตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบัน ตั้งมั่นอยู่กับการรับรู้ ตั้งมั่นอยู่กับการเห็นการทำงานของมัน ตั้งมั่นอยู่กับมันขณะเดียว ตั้งมั่นอยู่กับการเรียนรู้ ไม่เอาผิดเอาถูกกับอะไรไว้บ่อยๆ แล้วมีการตรึกตรอง ตรึกตรองว่า เราอยู่ในจุดนี้ไหม เหมือนบางคนกำลังตรึกตรองว่า จุดปัจจุบันอย่างนี้นะ เวลาหลุดจากปัจจุบันแล้วก็กลับมา กลับมาตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบันบ่อยๆ อันนี้ก็จะทำให้เกิดสมาธิได้เหมือนกัน
🕊 เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่🕊
👉 เหตุเกิดของสมาธิเบื้องต้นคือ การตรึกตรอง ปักจุดยืนของตัวเองให้มั่นคงก่อน ตรึกตรองอยู่กับตรงนี้ อยู่กับการรับรู้ ตรึกตรองกับการเห็นการทำงานของมันบ่อยๆ มันก็จะทำให้จิตเริ่มไม่ทำงาน แต่เปลี่ยนตัวเองมาเห็น👀การทำงาน ❗️ต้องเปลี่ยนเส้นทางนี้ให้ได้ ❗️เพราะถ้าไม่เปลี่ยนเส้นทางนี้ ตัณหาจะทำงานไม่เลิก 📌อุเบกขาจะทำงานไม่ได้ 📌แต่ถ้าจิตมันเปลี่ยนตัวนี้ได้ปุ๊บ เปลี่ยนพฤติกรรมจากการที่มันไปทำงาน เป็นมันเห็นการทำงาน จะเกิดการพักผ่อนในตัวมันเอง🚩แต่บางเรื่องบางราวมันต้องทำงาน มันก็เข้าไปทำ ทำเสร็จปุ๊บ มันก็รีบกลับมาอยู่กับภาวะนี้ได้บ่อยๆเข้า ภาวะนี้ได้เรื่อยๆเข้า มันจะยิ่งชำนาญขึ้น ชีวิตจะเริ่มรู้สึกเบาสบายมากขึ้น เพราะใจไม่ทำงาน แต่เห็นการทำงานของมัน อันนี้อยากให้ไปฝึกให้ชำนาญ
👉เช้านี้ที่ให้ข้อคิดไป เพื่อเราจะได้ไปทำต่อ ไปย่อยสิ่งที่เกิด สิ่งที่อยู่เฉพาะหน้าให้มันละเอียดขึ้น ตั้งมั่นกับการรับรู้ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดเกิดขึ้นมาปุ๊บ ที่เราหัดรับรู้ภายนอก ภายใน แล้วเราฝึกฝืน นั่นแหละ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายในฝืนให้มากที่สุดคือ ฝืนที่จะไม่ทำงานแต่เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ มารับรู้การทำงานของอารมณ์ต่างๆ มันเกิดอยู่บนโลกใบนี้อยู่แล้ว มันเป็นอยู่แล้ว เพียงแต่ทำให้จิตมันตื่นขึ้นมา ที่มันเคยหลงไปทำโน่นทำนี่ ตามตัณหา ตื่นขึ้นมาเพื่อรับรู้ และเห็นการทำงานของมัน บางครั้งเราอ่อนแอ ก็กลับมารู้กาย ตัวรู้ ตัวรับรู้หนึ่งและกายหนึ่ง และสิ่งที่มากระทบกับกายหนึ่ง เป็นหลักยืนเอาไว้ เพื่อจะทำให้เราได้มั่นคงต่อการที่จะไปเผชิญกับอารมณ์เป็นจริง
🕊หลุดพ้นบ่อยๆ พระนิพพานคือการหลุดพ้น🕊
👉ท้ายที่สุดนี้ขอให้พวกเราได้ตั้งใจภาวนากันต่อ ไม่ว่าจะมีอุปสรรคอะไรก็ตาม นั่นเป็นเรื่องธรรมดาของมัน อุปสรรคไม่มี การพัฒนาก็ไม่เกิด เพียงแต่เราจะหลุดจากมัน พ้นจากมันได้เท่าไหร่
👉หัดหลุดพ้นบ่อยๆ ไม่ต้องไปสนใจว่าเป็นอะไร เพียงแต่หัดอารมณ์ หัดนิสัยในการหลุดพ้น หลุดพ้นบ่อยๆ
👉พระนิพพานคือการหลุดพ้น อย่างน้อยเราหัดหลุด หัดพ้นจากอดีต พ้นจากอนาคต พ้นจากการเข้าไปทำงาน แต่มารับรู้การทำงานของมันเรื่อยๆ แล้วจิตจะค่อยหลุดค่อยพ้นออกมาเรื่อยๆ
👉ขอให้ทุกคนมีกำลัง มีอินทรีย์ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ที่เข้มแข็งขึ้นและมากขึ้นทุกคนนะ
🕊ถอดเสียง : คุณจี๊ด
🕊เรียบเรียง : คุณอ้อม คุณน้อง
Saturday Aug 01, 2020
ชีวิตเพื่อออกจากทุกข์ พจ.กระสินธุ์
Saturday Aug 01, 2020
Saturday Aug 01, 2020
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Wednesday Jul 29, 2020
เรื่องธรรมดาที่วิเศษ พจ.กระสินธุ์ 240763
Wednesday Jul 29, 2020
Wednesday Jul 29, 2020
เทศนาธรรม เรื่องธรรมดาที่วิเศษ
42:00 ถาม_ตอบ ช่วงท้าย
54:30 พอจ.สวดให้พร
โดยพระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องไลน์ฟังธรรม
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Sunday Jul 26, 2020
ตั้งประเด็นฝึกฝืนนอก-ฝืนใน พจ.กระสินธุ์ 080763
Sunday Jul 26, 2020
Sunday Jul 26, 2020
การโค้ชพี่เลี้ยง ภาคฝืน3 โครงการรู้ขณิกะออนไลน์
โดยพระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องกลุ่มไลน์
🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔸️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️ ❤ ❤ ถามตอบ ฝึกฝืนแยกนอก-ใน.( รูป-นาม)❤ ❤ 🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔸️🔹️🔸️🔹️ 1 ถามตอบการฝึกฝืน นอก-ใน (รูป-นาม ) กับ พอจ กระสินธุ. อนุภ้ทโท
🙋♀️นักปฎิบัติ: พอจค่ะ โยมขออนุญาติค่ะ โยมเป็นคนที่ชอบกินทุเรียนมาก. เห็นแล้วอดใจไม่ได้คือ อยากเลย แต่ว่าเราเห็นความอยาก. เราฝืนไม่ไปทำอะไรกับความอยาก คือไม่เดินไปหา ไม่อะไรกับมัน อันนี้คือฝืน 'ใน'ถูกตัองมั้ยค่ะ?
😇พอจ.กระสินธุ์: ถ้าท้ังเห็นและอยากด้วยอันนี้จะเป็นทั้งนอกและในเลย. แต่ไม่เห็นทุเรียนคิดอยากจะกินทุเรียน. อันนี้จะเรียกว่าข้างใน ข้างในล้วนๆเลยหล่ะ
🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️ 2 ถามตอบการฝึกฝืน นอก-ใน (รูป-นาม ) กับ พอจ กระสินธุ. อนุภ้ทโท
🙋♀️นักปฎิบัติ: อยากก่แฟแต่ไม่ไปดีกว่า ไม่เห็นกาแฟเลยอยากกินร้านกาแฟร้านอเมซอน อยากกินมากแต่ไม่ไป
😇พอจ.กระสินธ์ุ: นี่แหละฝืนใน
จำง่ายๆ เมื่อมีวัตถุสิ่งนั้นด้วยแล้วต้องฝืนด้วยนี่คือ ท้ังนอกและใน.
แต่เมื่อวัตถุสิ่งนั้นไม่มี แต่เรานึกคิดถึงมันอันน้นฝืนในล้วนๆ ไม่มีข้างนอกโยม
ดีมาก ตรงจุดนี้จะจำได้ชัดเจนว่า อ้อ วิธีการฝืนนอก ฝืนในเป็นแบบนี้
บางครั้งต้องฝืนพร้อมๆกันไปเลย เมื่อมันมีวัตถุสิ่งนั้นด้วย และมีความอยากด้วย. อันนี้เค้าเรียกทั้งนอกท้ังใน แต่บางครั้งวัตถุอันนั้นไม่มีแต่มีความอยากข้างใน นี่คือฝืนข้างในล้วนๆเลย
🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️ 3 ถามตอบการฝึกฝืน นอก-ใน (รูป-นาม ) กับ พอจ กระสินธุ. อนุภ้ทโท
🙋♀️นักปฎิบัติ: สมมุติว่าเราไม่ชอบใครบางคน ไม่ชอบมากๆเลย. แต่เราเจอเค้าทุกวัน เราก็ตั้งข้อฝืนว่าเราจะไม่พูดถึงเค้า. เราจะไม่ผสมโรง เราจะไม่อะไรกับเค้าเลย อันนี้ก็เป็นในมั้ยค่ะ
😇 พอจ.กระสินธ์ุ: ถ้าเราเจอกับเขาในปัจจุบันปั้บ นี่เป็นทั้งนอก/ทั้งในเลย
🙋♀️ นักปฎิบัติ: ก็เหมือนวัตถุ
😇พอจ.กระสินธ์ุ: ถ้าบางครั้งไม่เจอหน้าเขาแต่คิด ไม่เจอแต่เห็นของของเขาบ้าง เห็นรถของเขาบ้าง แล้วมันคิดขึ้นมาปุ้ป คือฝืนในเลย
แต่ให้จำไว้เลยว่า ข้างในหลักของมันคือ ฝืนที่จะไม่ทำอะไรกับมัน. ให้มันไม่ชอบแต่ฉันไม่ได้ต่อ เพื่อจะจำลักษณะที่ไม่ชอบได้ชัดเจน จำลักษณะของอารมณ์ได้ชัดเจน. จำความทุกข์ของมันได้ชัดเจนมันจะได้เข็ด. ถึงจะเรียนรู้ได้เต็มที่
🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️
4 ถามตอบการฝึกฝืน นอก-ใน (รูป-นาม ) กับ พอจ กระสินธุ. อนุภ้ทโท
🙋♀️นักปฎิบัติ: สมมุติตั้งข้อฝืนว่าเราจะไม่ทำสื่งที่เราชอบ อันนี้ก้อเป็นในใช่มั้ยค่ะ?
คือไม่ว่าอะไร. พอเราเจอปุ้ป คือมันออกจะเป็นท้ังนอกและใน. แต่ว่าโยมคิดว่ามันอาจจะเป็นนอก. และในคือเห็นปุ้ป จะเป็นทั้งนอกและใน แต้ถ้าเราไม่เห็นก็เป็นในอย่างเดียว
พอจ.กระสินธ์ุ: ถูกต้อง
🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️
5 ถามตอบการฝึกฝืน นอก-ใน (รูป-นาม ) กับ พอจ กระสินธุ. อนุภ้ทโท
นักปฎิบัติ: ถ้าสมมุติว่าเป็นอย่างอื่นเช่นมันเป็นอากาศ เสียง กลิ่น รส ที่เข้ามาปุ๊บ แล้วเรา พอใจหรือไม่พอใจและเราก็ฝืนที่จะไม่เวอร์. ฉันไม่แสดงออกไป ไม่โวยวาย ไม่แสดงวจีกรรม กายกรรม อันนี้คือจริงๆแล้วเป็นฝืนใน ใช่มั้ยค่ะ
พอจ.กระสินธุ์: ใช่ แต่ว่าในเวลาเดียวกัน อย่างเช่น อากาศมันเย็นๆพอมีความเย็นเกิดข้ึนมาปั้ป นี่คือข้างนอกแล้วน๊ะ แล้วเกิดความพอใจข้างในปุ้ป อ้อนี่พอใจนะ
ก็จะฝืนความพอใจอันนี้ จังหวะนี้คือเรื่องข้างนอกด้วยข้างในด้วยเพราะมันเป็นจังหวะปัจจุบัน ที่ความเย็นมากระทบกับเราพอดี และความชอบเกิดขึ้นพอดี และเราตั้งเจตนาที่จะฝืนเมื่อชอบแล้วเราจะไม่ทำตาม และจะไม่เว่อร์มัน ไม่ทำตามมันดูมันเฉยๆ
🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️
6 ถามตอบการฝึกฝืน นอก-ใน (รูป-นาม ) กับ พอจ กระสินธุ. อนุภ้ทโท
🙋♀️นักปฎิบัติ: เช่นสมมุติว่าเราเดินไป แล้วเรามีพัดลมส่ายมา แล้วเรากำลังร้อนอย่างนี้ การฝืนไม่ทำสิ่งที่เราชอบ
ก็อย่างเช่นเราจะไม่เดินไปจ่อเดินตรงอยู่หน้าพัดลมเลย อย่างนี้ใช่ เราจะไม่ทำในสิ่งที่เราชอบก็ประมาณนี้
พอจ.กระสินธ์ุ: ถูกต้องจริงๆไม่น่ายากเลย
นักปฎิบัติ: มันยากตรงนี้ค่ะ มันยากตรงที่ทุกเรื่องมันจะมีท้ังการกระทำ และมีทั้งข้างนอกและ ข้างใน อันนี้มันก้อเป็นนอกน๊ะ อันนี้ก็เป็นในได้น๊ะ เหมือนที่โยมฝืนจะไม่ทานข้าวเย็น. โอ้โหเราเคยทานมาทั้งชีวิต และเราก้อฝืนจริงๆ เราฝืนใจเรามากเลย แล้วทำไมไมเรียกว่าเป็นฝืนใน ทำไมจึงเป็นการฝืนนอก คือจริงๆมันมีฝืนข้างนอกที่จะไม่กิน และ ฝืนใจข้างในที่จะไม่ทำตามมันก็เลยเกิดความสับสนค่ะ โยมเข้าใจ
โยมอีกท่านนึง น๊ะค๊ะ เพราะโยมเคยเป็น ว่าของบางอย่าง มันเป็นได้ทั้งสองอย่าง
😇พอจ.กระสินธ์ุ: ของบางอย่างมันเป็นได้อย่างเดียว
🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️
7 ถามตอบการฝึกฝืน นอก-ใน (รูป-นาม ) กับ พอจ กระสินธุ. อนุภ้ทโท
🙋♀️นักปฎิบัติ: สมมุติบางคนบอกเค้าจะฝืนให้ตื่นเช้าๆตี5ทุกวัน อันนี้จะวัดเป็นฝืนอะไร
😇พอจ.กระสินธุ์: อันนี้ได้ทั้งนอกและในเลยแหละ เค้าตั้งใจฝืนตื่นตี5ทุกวัน อันนี้ฝืนนอกเพราะว่า ประเด็นเค้าคือตี5
เมื่อถึงตี5แล้วโอ้ย มันขี้เกียจมันอึดอัดเค้าก้อฝืนข้างในหล๊ะ. ต้องลุกขึ้นมา นี่คือเค้าตั้งโจทย์ข้างนอก ตี5เค้าต้องตื่นขึ้นมาทุกวัน พอถึงเวลาตี5 ปุ้ป โอ้ยขี้เกียจไม่อยากลุกเลย. ต้องลุกมายืนผลักดันตัวข้างในเค้าหล๊ะ ให้มันลุกออกมาตามข้างนอก บางคนตั้งโจทย์ฝืนข้างนอก แต่ก้อมีผลข้างในด้วย
🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️
8 ถามตอบการฝึกฝืน นอก-ใน (รูป-นาม ) กับ พอจ กระสินธุ. อนุภ้ทโท
🙋♀️นักปฎิบัติ: ขอถามอีกประเด็นค่ะว่าเค้าตั้งประเด็นจะไม่ขับรถเร็ว และจะไม่แซงชาวบ้าน พยายามไม่ขับรถเร็ว อันนี้เป็นนอกใช่มั้ยค๊ะ
😇พอจ.กระสินธุ์: ใช่ ให้นึกถึงว่าคนถ้าใช้กับวัตถุ เช่นไม่ขับรถเร็วบ้าง ฉันจะไม่ฟังเพลง อันนี้คือนอก ฉันจะไม่เอากลิ่นที่ฉันชอบหรือจะไม่ไปกิน อาหารรสที่ฉันชอบ หรือจะไม่เอาผัสสะทางกายที่ดีอันนี้นอกทั้งหมด
นอกมีอยู่ 5 เรื่องนี่เเหละได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันนี้คือนอก ตีไปเลย ในคือ พอใจ ไม่พอใจ ความโกรธ ความเกลียด ความรัก ความชัง คือข้างใน แยกไปอย่างนี้เลย. จะขับรถเร็ว ไม่แซงใคร นี่คือข้างนอก แต่จะมีผลสู่ข้างในของมันเองเสร็จเเหละ
😇 โจทย์ไม่ กินทุเรียน โจทย์ไม่กินข้าวเย็น ตั้งโจทย์ที่จะอะไรพวกนี้นี่คือตั้งโจทย์ข้างนอก แต่ข้างในก็จะฝืนไปด้วย
🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔹️🔸️🔹️ 9 ถามตอบการฝึกฝืน นอก-ใน (รูป-นาม ) กับ พอจ กระสินธุ. อนุภ้ทโท
🙋♀️นักปฎิบัติ: ขอทำความเข้าใจอีกนิดนึงค่ะ คือการที่จะให้เขากำหนดฝืนหลักหรือฝืนรอง
เค้าอาจจะมีนอกหรือในก็ได้ แต่ทุกเรื่องที่ฝืนมันไม่พ้นเรื่องข้างใน มันอาจไม่มีนอกแต่ทุกเรื่องจะต้องฝืนในทุกเรื่องเลยใช่มั้ยค๊ะ
😇พอจ.กระสินธ์ุ : ใช่ เป้าหมายคือบางคนจะฝึกแบบนี้ ตั้งใจประเด็นใน เวลาฉันชอบอะไร ฉันโกรธอะไรฉันจะไม่พูด ตั้งประเด็นข้างในไง เวลาฉันโกรธฉันจะไม่พูด. ฉันจะไม่ทำนี่คือการตั้งประเด็นข้างใน
แต่บางคนเค้าตั้งประเด็นข้างนอก เช่น ฉันชอบกินกาแฟ ต่อไปฉันจะไม่กินกาแฟ อันนี้ตั้งประเด็นฝืนข้างนอก. แต่จะมีผลข้างในด้วย อยู่ที่เขาตั้งประเด็นตะหาก 🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️ 10 ถามตอบการฝึกฝืน นอก-ใน (รูป-นาม ) กับ พอจ กระสินธุ. อนุภ้ทโท
10🙋♀️นักปฏิบัติ: โกรธมันไม่มีวัตถุ ไม่มีตัวให้เราเห็นแต่มันอยู่ในใจเรา แล้วเราโกรธ แต่ตัวกาแฟเราเห็นเป็นตัวนอกคือเราไม่กิน
😇พอจ.กระสินธ์ุ: คือมันเป็นรูป นี่แยกให้ชัดอันไหนรูปอันไหนนาม เพราะจะต้องฝึกให้เห็นทั้งรูปและ นาม เพราะมันมีเรื่อง2เรื่องนี้เท่านั้น ที่จะทำให้จิตมันออกมาให้ได้ ให้จิตเป็นอิสระ ของเรื่อง2เรื่องนี้ให้ได้ ไม่งั้น2เรื่องนี้จะปั่นให้จิตของเราปั่นป่วน เข้าใจน๊ะ ทุกคน พอเข้าใจน๊ะ
🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔸️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️ ❤ อยากให้ตั้งประเด็นฝืนข้างใน ❤ 🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔹️🔸️🔸️🔹️🔸️🔹️
❤อาตมาอยากให้ทุกคนตั้งประเด็น ฝืนข้างในที่จะไม่ทำอะไรกับทุกสภาวะ
ตั้งใจจะไม่ทำอะไรกับทุกเรื่องของมันเลย แต่จะเรียนรู้การกระทำของมัน อันนี้อยากให้ฝืนตรงจุดนี้ เพราะทุกคนจะมีประเด็น อยู่ด้านนึง เวลามีอะไรปุ้ปข้างในเราชอบทำงาน. ไม่ชอบดูการทำงานของมัน เราชอบไปทำงานแทนมัน ตัวนี้เราหัดฝืนให้ดีๆ เพราะมันจะเป็นอุปนิสัยต่อไปภายหน้า. ทำให้เราพ้นจากอารมณ์ได้ เพราะอารมณ์มันทำงานกันอยู่แล้ว แต่เราดันเข้าไปทำงานแทนมันกันเอง
❤อีกอันนึงน๊ะทุกคน ถ้าเราฝึกข้างนอกมากๆเข้า มันจะได้แค่ขั้นศีล ฟังดีๆน๊ะ เพราะมันจะควบคุมแค่... กายกรรม กับวจีกรรม เท่านั้นเอง
แต่ถ้าเราฝืนข้างใน จะเป็นขั้นของปรมัตถ์ ขั้นของจิตที่มันกำลังเผชิญอารมณ์ตรงๆ เช่นมีความโกรธแล้วฉันจะไม่พูดไม่ทำ
นี่ เค้าเรียกฝืนข้างใน จะเป็นขั้นของปรมัตถ์ ฝึกจิตไห้ฝึกรู้กับภาวะ นั้นตรงๆเลยไม่ทำตาม แต่ข้างนอกถ้าเราไม่ทำตามปุ๊ป กายกรรมวจีกรรมไม่ทำตาม มันจะได้แค่ขั้นศีลเข้าใจมั้ย❤
เครดิตถอดคำบรรยาย. คุณจี๊ด เครดิตเรียบเรียง คุณตอ
เสียงนี้เป็นส่วนหนึ่งมาจากการสอนธรรมทางไลน์ โครงการรู้ขณิกะออนไลน์ หลักสูตรพัฒนาตัวรู้ ภาคฝืน3
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Friday Jul 24, 2020
รู้จักการทำงานของสังขาร จะรู้จักธาตุรู้ พม.ราเชน 180563
Friday Jul 24, 2020
Friday Jul 24, 2020
ธรรมเทศนาโดย พระมหาราเชน สุทธจิตโต
วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ณ สวนธรรมวังน้ำเขียว
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ
Tuesday Jul 21, 2020
หัวใจของการฝึกฝืน พจ.กระสินธุ์ 120763
Tuesday Jul 21, 2020
Tuesday Jul 21, 2020
เทศน์ปิด และนำแผ่เมตตา หลังการปฏิบัติร่วมกัน
โดยพระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 12 กรกฎาคม 2563
ความรู้สึกตัวแบบธรรมชาติ ที่มันมีอยู่ในปัจจุบัน มีอาการต่าง ๆ มากระทบสัมผัสอยู่เรื่อย ๆ เขาจะเกิดแบบนี้ มีการกระทบก่อนแล้วก็รู้ กระทบก่อนแล้วก็รู้ เอาแค่รู้พอ รู้แล้วก็สั้น ๆ ทิ้งไป ตั้งใจรู้ตัวใหม่มาเรื่อย โดยอาศัยความรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติ ที่เขาจะเกิดหลังการกระทบแล้ว ไม่ว่าจะมีอะไรมากระทบกับเรา พอกระทบแล้วปุ๊บ ความรู้สึกตัวเขาก็จะเกิดขึ้นในจังหวะนี้ แล้วก็จะเลยไปเป็นความคิด ความคิดก็เป็นอารมณ์หนึ่งที่มากระทบกับจิต
เพราะฉะนั้นทุกอย่างเขาจะมีสภาวะหรือมีอารมณ์เกิดก่อน อารมณ์ต่าง ๆ จะเกิดก่อนแล้วมากระทบกับเรา พอกระทบกับเราปุ๊บเราก็หัด เอาแค่รู้ก็พอ รู้ว่าอาการนี้กำลังเกิดขึ้นกับเรา เอาใจที่เป็นหน้าที่รู้เนี่ย ไปทำหน้าที่รู้ตรง ๆ กับอาการนั้น ๆ หัดให้จิตเขาสัมผัส ฝึกรู้อาการนั้นตรง ๆ เพราะเขาจะได้ไม่ไปหลงสำคัญมั่นหมายว่าอาการเหล่านั้นเป็นเขา
ตัวอย่างเช่นถ้ามันร้อน เราก็หัดรู้ร้อนตรง ๆ หรือตอนนี้มันเคลื่อนไหว เราก็หัดรู้อาการเคลื่อนไหวที่มันเคลื่อนไหวจบไป เคลื่อนไหววูบหนึ่งแล้วก็จบไป ตรง ๆ ตามลักษณะของอาการที่มันปรากฏกับเราตลอดเวลา แต่ละอาการก็จะมีลักษณะเฉพาะตัวเขา ภาษาบาลีเขาเรียกว่าวิเสสลักษณะ คือลักษณะที่เป็นพิเศษของแต่ละสิ่ง ที่เขามีรูปลักษณ์ไม่เหมือนกัน เสียงแต่ละเสียงก็ยังไม่เหมือนกัน กลิ่นแต่ละกลิ่นก็ยังไม่เหมือนกัน ก็จะเป็นลักษณะของเขา เอาใจไปสัมผัสตรงนี้บ่อย ๆ คือประเด็นแรก เพื่อจะทำให้เราเนี่ย มีโอกาสน้อมนำเอาตัวรู้สึกตัวที่เราฝึกในภาครูปแบบเนี่ย มาใช้กับภาคชีวิตจริงให้ได้ แม้บางครั้งมันมีอาการเผลอเราก็รู้อาการเผลอนั้น นั่นแหละภาวะของรู้สึกตัวธรรมชาติเกิดขึ้นแล้ว
ประเด็นที่สองคือเราต้องรู้จักว่า เวลาเราฝึกฝืนเนี่ย ฝืนอะไร เป้าหมายของการฝึกฝืนคือ หลักของมัน ฝืนเพื่อให้จิตมันสู่อุเบกขาให้ได้ การที่จะให้จิตสู่อุเบกขาคืออะไร ฝืนที่จะไม่รีบทำอะไรกับทุกอาการ ทุกอาการที่มากระทบกับเรา จะไม่รีบทำอะไร เพราะตัวรู้สึกตัวจริง ๆ คือเขาไม่ได้ทำอะไร ให้เข้าใจเลยว่าความรู้สึกตัวที่แท้จริงน่ะ เขาไม่ได้ทำอะไรสักเรื่อง แต่ทำไมมีการกระทำขึ้นมา ที่การกระทำขึ้น อันนั้นไม่ใช่ตัวรู้สึกตัว แต่เป็นตัวของอาการของธรรมชาติ ถ้ารูปเขาจะเรียกว่าเป็นธาตุ 4 นามเขาจะเรียกว่าเป็นขันธ์ 5 ภาษาที่เราใช้ คือว่า นอกกับในนั่นแหละ นอกเขาก็ปรุงแต่งอาการขึ้นมา เขากำลังกระทำขึ้นมา ในก็ปรุงแต่งเป็นความคิดและอารมณ์ที่เขาทำขึ้นมา แต่ภาวะของรู้สึกตัวจริง ๆ นี่มันแปลก มันแปลกตรงว่า มันไม่ได้รีบ ไม่ได้ทำอะไร ตัวเขาไม่ได้ทำอะไร เขาจะทำหน้าที่อย่างเดียวของเขา หน้าที่ที่เขาทำคือหน้าที่รู้การกระทำของอารมณ์นั้น ๆ
ทีนี้เวลาเราฝืนปุ๊บเนี่ย ถ้าเราฝืนแล้วเรารีบ... การฝืนเนี่ย เป็นการฝืนที่ถูกต้อง คือฝืนที่จะไม่ทำอะไรกับอารมณ์ทั้ง 2 อย่าง อารมณ์ทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอารมณ์ภายใน ให้ฝืนให้มาก ฝืนที่จะไม่ทำอะไร ดูมันเฉย ๆ ดูมันซื่อ ๆ แต่ภายนอกน่ะ เบื้องต้นน่ะ ให้เรารู้มันก่อน ให้ฝืนมันก่อนที่จะไม่รีบทำอะไร แล้วดูว่ามันมีอะไร มีคำสั่งอะไรเกิดขึ้นมาให้เราทำโน่นทำนี่บ้าง พอเราเห็นเรียบร้อยแล้ว เราก็ดูความเหมาะสม ว่าสมควรทำหรือไม่สมควรทำอะไร อันนี้ฝืนให้มันเห็นชัดว่า ตัวรู้สึกตัวจริง ๆ คือรู้ ทำหน้าที่รับรู้ ไม่ใช่ทำหน้าที่ทำอะไรทั้งสิ้น มันจะเห็นตรงนี้บ่อย ๆ ฉะนั้นเวลาเราไปทำภาวนาปุ๊บน่ะ เราก็หัดทำภาวนาให้มันหัดฝืนทั้งสองฟาก ทั้งสองส่วน ส่วนภายนอกก็จะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เลือกเอา ส่วนภายในก็จะเป็นแค่อารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง บางคนจะใช้การฝืนว่า เช่นเวลาโกรธขึ้นมาปุ๊บ ฉันจะไม่รีบทำอะไรกับความโกรธนั้น จนกว่ามันจะหายไปเอง ถ้าเป็นภายนอก มันอาจจะเป็นอุปนิสัยที่เราเคยชิน เคยชินอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นเคยชินกับการกินกาแฟ เราก็อาจจะฝืนที่จะไม่กินมันใน จังหวะที่เราฝืนที่จะไม่กิน ข้างนอกคือกาแฟ แต่เราจะเห็นข้างใน ที่มันมีชุดคิด ชุดคำสั่งที่คอยดักหาเหตุหาผลเกิดขึ้นมาให้เราไปทำตาม เราก็จะระวังกายกรรมกับวจีกรรมเอาไว้ที่จะไม่ทำตามนั้น ลองตั้งใจฝึก ตั้งโจทย์กับตัวเอง แล้วก็ลองฝืนแบบนี้ จนกระทั่ง ฝืนจนกระทั่งรู้สึกว่า แรก ๆ มันจะฝืนแล้วฝืด ต่อไปแล้วฝืนมันไม่ฝืด คือไม่รู้สึก ไม่รู้สึกว่าเรื่องนั้นมีปัญหากับเรา ฝืนเพื่อให้จิตมันค่อย ๆ คลายความหมายของมันมากขึ้น ๆ เพราะฉะนั้นอยาก
ฝากประเด็นไว้ 3 ประเด็นนะ 1 ประเด็นฝึกหัดรู้สึกตัวกับธรรมชาติในชีวิตจริงให้มากขึ้น กับในรูปแบบที่ทำขึ้น ก็เป็นบางช่วงบางเวลา 2 ให้รู้จักตัวรู้สึกตัวที่เขาไม่ได้ทำอะไรเลย เขาไม่ได้ทำอะไร สิ่งที่ทำไม่ใช่ตัวรู้สึกตัว แต่เป็นตัวอารมณ์ ให้รู้จักเลยว่า รู้สึกตัวจริง ๆ น่ะ เขารู้สึกซื่อ ๆ แล้วไม่ได้รีบทำอะไร อันที่ 2 3 ให้ไปหัดฝึกฝืนเอากับ 2 เรื่อง เรื่องภายนอก เรื่องหนึ่งเรื่องภายในเรื่องหนึ่ง แล้ววิธีการฝืนคือฝึกฝืนแบบเดียวกันคือฝืนที่จะไม่รีบทำอะไร หัวใจสำคัญของการฝืนมันอยู่ที่ตรงนี้ ขอให้พวกเราลองไปฝึกฝนนะ แล้วปล่อยใจกว้าง ๆ เปิดใจกว้าง ๆ ยอมรับทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นกับเรา จะดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้ แต่เราก็จะไม่ไปทำตาม
ช่องทางอื่นๆในการรับสื่อธรรมะ
YouTube, FaceBook พระอาจารย์กระสินธุ์
Podcast : รู้ขณะเดียว
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ติดตามรับฟัง..สาธุ