Episodes
Tuesday Apr 09, 2019
อารมณ์ที่ควรระวัง พอจ.กระสินธุ์ 090462
Tuesday Apr 09, 2019
Tuesday Apr 09, 2019
คอร์สปฏิบัติธรรม วัดแพร่แสงเทียน 1-10 เมษายน 62
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 9 เมษายน 62 เวลา 05:00 ณ วัดแพร่แสงเทียน
Sunday Apr 07, 2019
ทางตรงกลาง พอจ.กระสินธุ์ 070462
Sunday Apr 07, 2019
Sunday Apr 07, 2019
คอร์สปฏิบัติธรรม วัดแพร่แสงเทียน 1-10 เมษายน 62
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 7 เมษายน 62 เวลา 05:00 ณ วัดแพร่แสงเทียน
Thursday Apr 04, 2019
ภายใน และภายนอก(ใจ) พอจ.กระสินธุ์ 030462
Thursday Apr 04, 2019
Thursday Apr 04, 2019
คอร์สปฏิบัติธรรม วัดแพร่แสงเทียน 1-10 เมษายน 62
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 3 เมษายน 62 เวลา 05:00 ณ วัดแพร่แสงเทียน
Thursday Apr 04, 2019
ปัจจัยเสริมการภาวนา พอจ.กระสินธุ์ 040462
Thursday Apr 04, 2019
Thursday Apr 04, 2019
คอร์สปฏิบัติธรรม วัดแพร่แสงเทียน 1-10 เมษายน 2562
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
วันที่ 4 เมษายน 62 เวลา 05:00 ณ วัดแพร่แสงเทียน
Wednesday Apr 03, 2019
ฝึกสิ่งที่ฝึกได้ พอจ.กระสินธุ์ 220362
Wednesday Apr 03, 2019
Wednesday Apr 03, 2019
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
ณ บ้านกรอด้าย วันที่ 22 มีนาคม 62
Sunday Mar 31, 2019
สติ_สัมปชัญญะ พอจ.กระสินธุ์ 220362
Sunday Mar 31, 2019
Sunday Mar 31, 2019
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
ณ บ้านกรอด้าย 22 มีนาคม 2562
Friday Mar 29, 2019
ฝึกตัวรู้จนรู้ พอจ.กระสินธุ์ 210362
Friday Mar 29, 2019
Friday Mar 29, 2019
ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท
ณ บ้านกรอด้าย 21 มีนาคม 2562
Wednesday Mar 27, 2019
ปฐมนิเทศน์รู้ขณิกะโดยใช้ตัวกด 260362
Wednesday Mar 27, 2019
Wednesday Mar 27, 2019
โครงการรู้ขณิกะโดยใช้ตัวกดออนไลน์ รุ่น1
วันที่ 26 มีนาคม 62 - 25 เมษายน 62
หลักการ
- ให้รู้จัก ตัวรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ และตัวรู้สึก ที่สร้างขึ้นมีความแตกต่างกันอย่างไร
- ตัวรู้สึกที่สามารถแยกรูปและนาม ภายนอกและภายใน ออกจากกันได้
- สามารถทำให้ ตัวรู้สึกอยู่กับอารมณ์ปัจจุบันได้ที่ละขณะๆมากขึ้น
- รู้เห็นการเกิดและดับ ของ อารมณ์รูปซึ่งเป็นภายนอก และนามซึ่งเป็นภายใน
เป้าหมาย
เพื่อให้เข้าถึง ตัวรู้สึก ที่เป็นอิสระจาก เรื่องภายนอกและภายในที่รูปและนาม ไม่เกี่ยวข้องกัน
วิธีการฝึก ใช้ตัวกด 2 ตัว โดยถือไว้ในมือข้างละตัว
ตัวที่ 1 ใช้กดกลุ่มภายนอก (รูป)
ตัวที่ 2 ใช้กดกลุ่มภายใน (นาม)
เพื่อให้เกิดการตั้งมั่นของตัวรู้
- กลุ่มภายนอก เรียกว่า รูป มี 5 ส่วน คือ
- ตา - รูป หู - เสียง 3. จมูก – กลิ่น 4. ลิ้น – รส 5. กาย – สัมผัสต่างๆ
เมื่อเกิดการรับรู้จากสิ่งที่มากระทบในปัจจุบันขณะจากรูปทั้ง 5 ทาง เมื่อรู้แต่ละครั้งให้กดตัวกดตัวที่ 1 ในขณะนั้น เกิดก่อนไม่เอา หลังเกิดไม่เอา เอาในปัจจุบัน เดี๋ยวนั้นเท่านั้น
- กลุ่มภายในเรียกว่า นาม (อารมณ์ต่างๆ ความรู้สึก ความคิด) มี 2 ส่วน
2.1 ตัวรู้สึก ที่รู้ อารมณ์ภายในต่างๆ เช่น ชอบไม่ชอบ รัก โกรธ
อยากเป็น ไม่อยากเป็น ใช้กดตัว ตัวที่ 2 ในขณะที่รู้สึก
ตัวรู้สึก ที่รู้ ความคิดที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
เมื่อรู้แต่ละครั้ง ให้กด ตัวกดตัวที่ 2
2.2 ตัวรู้สึกที่ เป็นตัวรู้ ทั้งภายนอก (รูป) และภายใน (นาม)
ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ ให้สามารถรู้เรื่องระหว่างภายนอกและภายใน
ตัวกด เป็นเครื่องมือสะท้อน ความรู้สึกตัว
ธรรมะเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 26 มีนาคม 62
ณ ศาลาธรรม โรงเรียนรุ่งอรุณ
Tuesday Mar 19, 2019
ทำตามจริง อย่าทำตามใจ พอจ.กระสินธุ์ 620120
Tuesday Mar 19, 2019
Tuesday Mar 19, 2019
ทำตามจริง อย่าทำตามใจ
บางครั้งเราภาวนาตามใจไม่ภาวนาตามจริง ถ้าภาวนาตามใจ เราจะตามหาอะไรๆที่มันชอบๆสบายๆ ก็อยากหาสิ่งที่ชอบมาเสริฟจิตเสริฟใจของตัวเองอยู่เรื่อย เช่นเสริฟกามคุณ ทางตาหารูปสิ่งที่สวยๆงามๆที่ชอบดู เสริฟทางหูก็หาเสียงเพราะๆมาฟัง
แต่ถ้าตามจริง คือเอาสิ่งที่มันเป็นอยู่ เป็นฐานมาฝึก สิ่งที่เขาเป็นอยู่นั่นแหละ ไม่มีการไปปรุงเเต่งอะไรต่อ เรียกว่าตามจริง หูได้ยินเสียง ก็ตามจริง ตาเห็นอะไรทั้งดีและไม่ดี ก็ตามจริง จมูกได้กลิ่นอะไรก็ตามจริงของกลิ่น ให้มันมาบอกเรา ไม่ใช่เราบอกมัน หูเราได้ยินอะไรรับรู้ไป ตาเห็นอะไร จมูกได้กลิ่นอะไร รับรู้ไป ลิ้นรู้รสอะไร รับรู้ไป รับรู้ทุกอย่างไปตามจริง ใจมันคิดอะไรก็ตามที่มันคิด ใจปรุงแต่งอะไร รู้ตามจริง ปรุงแต่งโกรธ ปรุงแต่งอยาก ปรุงแต่งเป็นความคิด ปรุงแต่งเป็นความกังวล เป็นความกลัว เป็นความชอบใจ ไม่ชอบใจ ปรุงแต่งในสิ่งที่มันเป็น เรารู้ตามที่มันเป็น ภาวนาตามจริงไม่ใช่ภาวนาตามใจ ถ้าจับหลักนี้ได้จะสนุก ถ้าจับหลักไม่ได้ มันก็จะเอาแต่ตามใจแต่ไม่ตามจริง
ภาวนาตามจริง เพื่อเรียนรู้ตามความเป็นจริง ทุกสิ่งเป็นทุกข์ คุณจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม ความจริงทุกสิ่งมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว คือทุกข์ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ มันบีบคั้นตัวมันเองตลอดเวลา ร่างกายเราเป็นทุกข์ไหม เรานั่งอยู่เนี่ยเดี๋ยวก็มีการบีบคั้นให้เราขยับเปลี่ยนท่า ทุกข์คือสภาพที่บีบคั้นตลอดเวลา ความจริงอีกอันหนึ่งคือทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นี่คือความเป็นจริงว่า อนิจจัง ความจริงอีกประการหนึ่งคือ ทุกสิ่งเกิดขึ้นมาแล้วแตกสลายตัวเองอยู่ตลอด ไม่มีตัวตนอยู่จริง บังคับบัญชาไม่ได้ ทุกเรื่องทุกราวจะเป็นอย่างนี้
เอาจิตไปเรียนรู้ตามความเป็นจริง ต่อไปจิตจะเข้าใจความจริง เข้าใจความจริงแล้วจิตจะหยุดพฤติกรรมในการหลง ที่หลงไปกับมัน แต่จะเรียนรู้และศึกษามัน แล้วเปลี่ยนพฤติกรรมจากหลงเป็นรู้ รู้แล้วก็ศึกษาความจริงไป เมื่อศึกษาความจริงมากเข้าๆ ก็เริ่มปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ เรานั่งดูอยู่เฉยๆ ปัญญายิ่งเกิดเยอะ ต่อไปก็จะได้ความเป็นอิสระจากทุกสิ่ง วางทุกสิ่ง และจิตก็จะวางทุกสิ่ง แต่ก็มีทุกสิ่ง
ลองมาฝึกดูความรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้ว แต่เราไม่ค่อยรู้ เป้าหมายของการฝึกปฏิบัติทั้งหมดนะ คือ ปล่อยทุกอย่างให้มันเป็นไปตามที่มันเป็น เพื่อหลุดพ้นจากทุกสิ่ง ให้ย้อนหาว่าจะประกอบเหตุให้ไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างไร เหตุคืออะไร?
...บทสรุปคือต้องฝึกตามจริง อย่าฝึกตามใจ
ธรรมะเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 20 มกราคม 2562 ณ AGLC เขาใหญ่
Sunday Mar 17, 2019
รู้ตรงๆ พอจ.กระสินธุ์ 620119
Sunday Mar 17, 2019
Sunday Mar 17, 2019
รู้ตรงๆ
ทุกวันนี้เรามักจะคุ้นชินกับการคิด ไม่ได้คุ้นชินกับการรู้ เรากำลังจะมาฝึกใหม่ให้คุ้นชินกับการรู้,ไม่ใช่คุ้นชินกับการคิด เราต้องทำการฝึกให้มันคุ้นชินโดยพยายาม รู้สั้นๆ ให้มันได้ รู้ ได้บ่อยๆ จนเป็นความคุ้นชิน ได้คิดอุบายอันหนึ่งให้แต่เป้าหมายอันเดียวกัน คือใช้ตัวกด เพราะบางคนจะจมอยู่กับมือกับเท้าเกินไป ไม่หัดรู้มือรู้เท้า หรือบางทีจมกับความคิดเกินไปไม่หัดรู้ความคิด
วิธีการใช้ก็คือ ตอนนี้พอได้ยิน ได้เห็น ได้กลิ่น ได้สัมผัส ได้รู้อะไรก็ตามที่มาเกิดกับตัวเรา กดมัน กดมันอย่างเดียว ไม่ต้องใช้อะไรเลย แค่กดเฉยๆแล้วปล่อยก็พอแล้ว กดสัมผัสความเป็นขณะหนึ่ง ขณะหนึ่ง ถ้าได้ยินอะไร ให้ กด ทีนี้เมื่อได้ยินเสียงอะไรก็กดมัน เป็นแนวใหม่แต่เป้าหมายเดิม เช่น มีแมลงหวี่บินผ่านตามาก็กด กลืนน้ำลายก็กด การกลืนน้ำลายนี้เป็นทางกาย ร้อน เย็น เจ็บๆปวดๆเมื่อยๆ การหันซ้ายหันขวา กระพริบตานี้เป็นทางกายก็กด ทางหู; เสียงดังก็กด_กดเล่นๆ กดแล้วปล่อย รู้แล้วปล่อย เดี๋ยวเราก็จะเข้าใจเอง รู้แล้วปล่อย ทางจมูก; ได้กลิ่น ก็เหมือนกันกดแล้วก็ปล่อย ถ้าด้านในมันคิดขึ้นมาก็กดแล้วก็ปล่อยทิ้งๆ
เอา 2 อันเลย อันหนึ่งแทนด้านนอกคือทางกาย อีกอันหนึ่งแทนด้านในคือทางใจ เพราะอันเดียวไม่พอ ไม่ทันกัน เราจะฝึกให้จิตมันแยกส่วนในส่วนนอก แล้วเราก็กดเล่นๆไปให้มันแยกข้างใน ข้างนอก เปิดโอกาสเนื้อที่ของตัวรู้ได้เกิดถี่ขึ้น แล้วหัดแยกเมื่อก่อนนี้ผสมกันไม่รู้อะไรเป็นอะไร จิตจะแยกได้ เรื่องข้างในนะ เรื่องข้างนอกนะ ฝึกบ่อยเข้าๆ เดี๋ยวมันจะรู้จักเห็นว่าข้างนอกเนี่ยมันคิดไม่เป็น มันจะเป็นไปตามที่มันเป็น ให้รู้เอาไม่ใช่คิด
กดทุกครั้งเพื่อดูจำนวนว่า ได้รู้เท่าไหร่ ต้องซื่อกับตัวเราเอง เอา 2 ตัวบวกกันเป็นจำนวนรู้ หัดแยกรูปแยกนาม ภายนอกเป็นรูปมี5ส่วน เอาปัจจุบันเป็นหลักให้ชินกับความรู้สึกปัจจุบันจริงๆ ต้องให้จิตมันจำปัจจุบันให้ได้
ขณะนั่งอยู่ยังไม่ใช่ปัจจุบัน แต่มีอาการเกิดขึ้นเช่น กลืนน้ำลาย, ผงกศรีษะ, ร้อนหรือเย็น..อันนี้เรียกขณะหนึ่งจริงๆ ไม่ใช่ขณะนั่ง มันมีอะไรเกิดขึ้นเรียกว่าขณะหนึ่ง ขณะหนึ่งของหูคืออะไร มันมีเสียงมา ให้จิตมันสัมผัสปัจจุบันจริงๆ ถ้าปัจจุบันจริงๆคิดไม่ทัน ตัวรู้มันเร็วแต่การคิดทำให้ตัวรู้มันช้า รู้สั้นๆ รู้แล้วปล่อยทิ้งเลย รู้แล้วก็จบเลย ไม่ได้แช่ ไม่ได้ยืดเยื้อนานๆ
ธรรมะเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 19 มกราคม 2562 ณ AGLC เขาใหญ่
Wednesday Mar 06, 2019
นิมิต : คน
Wednesday Mar 06, 2019
Wednesday Mar 06, 2019
นิมิตมี 2 แบบ คือ มโนภาพ และ เครื่องหมาย นิมิตที่เป็นอันตรายต่อการภาวนา คือ..คน การรู้สึกตัวที่ยากที่สุดคือ การรู้สึกตัวที่จะอยู่กับคน นิมิตของคน: รูปของคน, เสียง, การกระทำของคน, พฤติกรรมของคน ... ทำให้รู้สึกตัวได้ยากที่สุด สร้างให้หลงได้ง่าย ปรุงแต่งได้ง่ายที่สุด แต่ถ้ามีสติดีๆก็จะรู้เห็นได้ง่ายที่สุดเช่นเดียวกัน จิตเรามันปรุงแต่งเรื่องของคนได้ง่าย เพราะเราปรุงแต่งเรื่องของเราได้ง่าย นี่คือนิสัยเดิมของจิต คือเราชอบปรุงแต่งอยู่กับอารมณ์ของตัวเราเอง มันเป็นความคุ้นชิน พอเราเห็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสจากคน มันก็เลยกระตุ้นอาสวะ กระตุ้นกิเลส ให้เห็นเยอะเลย ให้ไปหัดอยู่กับปัจจุบัน ให้อยู่กับรู้ ให้เยอะขึ้น เรามีองค์ประกอบในการรู้ครบอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้าง คือมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มาส่งเสริมการรู้ของเราแล้ว เพียงแต่จะทำอย่างไรให้เป็นผู้ตื่น ผู้รู้ ผู้ดู ให้ขยัน รู้ บ่อยๆ รู้ เห็นแล้วปล่อยผ่านอยู่กับปัจจุบัน ไม่ต้องเอาอารมณ์ใดๆเลย เพราะมันเอาไม่ได้ ให้คุ้นชินในการรู้ เป็นผู้รู้ ผู้ดู เรามักคุ้นชินในการคิด เป็นการฝึกแบบเจโตวิมุตติ ใช้ญาณตัวรู้ เป็นเครื่องมือ แล้วให้อารมณ์ต่างๆปรากฏขึ้นมา แค่ รู้ แล้วปล่อยผ่านเฉยๆ ถ้าปัญญาวิมุตติ จะใช้คิดให้เกิดปัญญาจนจิตยอมรับ เพียงแต่ยืนหยัดในศีล ในทาน ศีล ; ระวังดีๆ เวลาอะไรมากระทบปุ๊บมักจะออกทางปาก กับทางมือ ทาน ; หัดจาคะ 2 อย่างนี้ถ้าทำได้จะเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิได้ง่าย ให้เห็นบ่อยๆว่า อยาก...แล้วนะ แล้วก็ปล่อยผ่าน แต่ถ้าอยาก แล้วทำตามอยากจนจบ อย่างนี้ไม่ได้เรื่องนะ จะทำศีลขาด แล้วตัวผู้รู้ก็จะอ่อนแอทันทีเลย แต่ถ้ารู้จักเบรกบ่อยๆ ตัวผู้รู้จะเริ่มเติบโตขึ้น ให้หัดรู้บ่อยๆ ตัวผู้รู้จะได้แข็งแรง ให้ระวังนิมิตของคน รูป เสียง พฤติกรรม.. มันกระตุ้นให้เราได้สังเกตุตัวเองได้เยอะเลย เวลาเห็นคนปั๊บ อย่าไปสังเกตเขา แต่ให้สังเกตเราเอง ว่ามีอะไรเกิดขึ้นมาตอบโต้กับเขา ..เห็นคน, อารมณ์ที่เกิดขึ้น, ตัวรู้ ถ้าเมื่อก่อนเราไม่รู้ ; ตัวรู้ไม่มีกำลัง เราจะเข้าไปร่วมกับอารมณ์ ถ้าตัวรู้เราดีขึ้น เราจะถอนมาเห็นพฤติกรรมที่มันตอบโต้กัน แล้วก็สลายตัวไป เป็นอย่างนี้ตลอด จาคะ (ในใจ); ทานทางใจมีให้มากๆ ให้ทานทางใจให้เยอะ ไม่ต้องเสียสตางค์ จะดีก็จาคะไป ไม่ดีก็จาคะไป ปล่อยผ่านๆ นั่นแหละคือการฝึกนิสัย การให้ทาน การให้ทานกับคนไหนที่เราโกรธ เราเกลียดเราไปให้เขาได้นั่นแหละแจ๋วที่สุด ถ้าเราไปให้คนรัก..มันจะเป็นการเอาเข้า แต่คนไหนที่เราโกรธ เกลียดแล้วเราไปให้..ให้อภัยได้นั่นแหละคือ เราละตัวตนได้ แต่ถ้าเรารัก แล้วเราให้ มันเป็นการสร้างตัวตนขึ้นมา เหมือนเราให้เขาเพื่อให้เขามารักเรา ถ้าเราให้คนที่โกรธเกลียดมันจะเป็นการฝืนสุดๆ ถ้าเราให้ได้มันจะโล่งสุดๆ เป็นการให้พยาปาทะ ให้โทสะออกไป แต่ถ้าให้ด้วยความชอบเนี่ย มันให้กำลังราคะเพิ่มขึ้น ให้ควบคุมเรื่องศีล กายกับวาจา ขยันรู้บ่อยๆ จนรู้มันถี่เข้าจนเป็นสมาธิ พอเป็นสมาธิเกิดขึ้น ก็จะเริ่มเห็นความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงรอบๆตัว ก็ต้องกำหนดรู้ตัวเคลื่อนไหวตลอดชีวิตเพราะชีวิตคือ การเคลื่อนไหว โลกคือ การเคลื่อนไหว เราต้องรู้มัน ถ้าเราไม่รู้ เราจะเข้าไปในวงจรของมัน เราจะถูกมันปั่น ให้ไปซ้อมกับ คน เอาประสบการณ์ มีบาดแผลบ้าง แพ้บ้าง ชนะบ้าง ให้เป็นเรื่องสนุก อย่าไปเอาถูกเอาผิด ไปดูว่าเราจะมีปัญญาในการแก้เหตุการณ์นี้อย่างไร... ฝึกซ้อมไปเรื่อยๆ ทีละขณะตลอดชีวิต ธรรมะบรรยายโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 7 ธันวาคม 2561 ณ เบิกฟ้าธรรมาศรม
Saturday Mar 02, 2019
01 โอวาทเปิดการอบรม พอจ.กระสินธุ์ 020262
Saturday Mar 02, 2019
Saturday Mar 02, 2019
ธรรมะบรรยายโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 2 ก.พ. 62
คอร์สธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ(ศูนย์4)
Friday Mar 01, 2019
14 ข้อวัตรหลังปิดคอร์ส พอจ.กระสินธุ์ 090262
Friday Mar 01, 2019
Friday Mar 01, 2019
🌿ข้อวัตรสำหรับการฝึกฝนตนเอง🌿
1. ตื่นนอน และก่อนนอนทุกวันต้องปฏิบัติในรูปแบบอย่างน้อย 15 นาที.
2. เปิดพื้นที่ให้ความรู้สึกตัวตามธรรมชาติให้เกิดขึ้นให้มากขึ้น (สัมปชัญญะ)
3. ลดการจัดการ, เพิ่มการเรียนรู้, เติมการยอมรับทุกอย่างที่เกิดขึ้น ทั้งของดี-ไม่ดี & รู้ปล่อยผ่านมันไป.
4. ฝึกฝืน สัญชาตญาณตัวเอง ความคุ้นชิน เคยชินที่ทำตามอารมณ์, แต่ไม่สมยอม และไม่ต่อต้าน เพื่อพลังของสติ สมาธิ จะเข้มแข็งขึ้นทุกครั้งที่เราฝืนได้.
5. สุดท้ายจะไม่ได้อะไรเลย นอกจาก ความเป็นอิสระจากทุกสิ่งที่เกิดขึ้น. 🌿ขอให้ทุกท่านเจริญธรรมยิ่งๆขึ้น🌿
ธรรมะเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 9 ก.พ. 62
คอร์สธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ(ศูนย์4)
Friday Mar 01, 2019
13 สอบอารมณ์ พอจ.กระสินธุ์ 080262C
Friday Mar 01, 2019
Friday Mar 01, 2019
ธรรมะเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 8 ก.พ. 62
คอร์สธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ(ศูนย์4)
Friday Mar 01, 2019
12 แนะนำการปฎิบัติ พอจ.กระสินธุ์ 080262B
Friday Mar 01, 2019
Friday Mar 01, 2019
ธรรมะเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 8 ก.พ. 62
คอร์สธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ(ศูนย์4)
Friday Mar 01, 2019
11สอนผู้ใหม่ พอจ.กระสินธุ์ (ค่ำ) 040262D
Friday Mar 01, 2019
Friday Mar 01, 2019
ธรรมะเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 4 ก.พ. 62
คอร์สธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ(ศูนย์4)
Friday Mar 01, 2019
10 สอนผู้ใหม่ พอจ.กระสินธุ์ (บ่าย) 040262C
Friday Mar 01, 2019
Friday Mar 01, 2019
ธรรมะเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 4 ก.พ. 62
คอร์สธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ(ศูนย์4)
Wednesday Feb 27, 2019
09 สอนผู้ใหม่ พอจ.กระสินธุ์ (สาย) 040262B
Wednesday Feb 27, 2019
Wednesday Feb 27, 2019
ได้หาวิธีทำยังไง คนคิดเยอะ ทำยังไงจะรู้จักรู้
การกดเป็นการปลุก กระตุ้นธาตุรู้ง่ายๆเหตุผลของมันคือ
1 ทำให้เกิดการอยู่กับปัจจุบันได้
2 ไม่ให้ทำอะไรมากกว่านี้ เพราะถ้าทำมากกว่านี้เราจะทำเกิน
แค่รู้ความคิดพอแล้ว กดแล้วปล่อยผ่าน
ใจเราทุกคนติดการทำ
ไม่ใช่ติดการรู้ ให้มันทำนิดนึงพอ
อย่าไปทำมาก ทำแค่รู้แล้วทิ้งๆ
มันติดการทำจริงไหม?
เวลาอะไรเกิดขึ้นมามันพยายามจะทำอะไรสักอย่าง
ไม่ติดการรู้ ไม่ติดการเรียน
...คราวนี้ให้เรียนรู้มัน แล้วมันจะบอก
บอกตัวเองว่ามันเหมือนฟองน้ำเดี๋ยวมันก็แตกตัว
มันเกิดขึ้นแล้วมันก็แตกตัว เกิดขึ้นแล้วมันก็แตกตัว
ยิ่งไม่ทำอะไรก็ยิ่งแตกตัวเร็ว
แต่ใหม่ๆนะ คนที่ยังไม่ชำนาญในการกระตุ้น
มันจะมีการคิดชักนำไปก่อน
อันนี้รูปหรือนาม นี้นอกหรือใน..ไม่เป็นไร
อย่างน้อยมันชักนำด้วยความคิด มันให้เกิดการสังเกต
แต่พอมันทำบ่อยเข้าๆปุ๊บ มันไม่ต้องคิดหรอก
มันรู้ไป รู้ปล่อย รู้ทิ้งๆ เวลาเราฟังปั๊บ
เราสัมผัสความเป็นขณะหนึ่งของเสียงที่กระทบหายๆ
สังเกตง่ายๆจะรู้ว่ารูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสนะ
ที่เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่มันคิดไม่เป็น
แล้วไอ้ที่คิด เป็นเรื่องนี้ทั้งนั้นเลย นามทั้งนั้นเลย
เป็นเรื่องโซนของนามทั้งนั้นเลย ที่คิด ที่ชอบ ที่ชัง
ที่อยาก ที่ยึด ที่เบื่อ ที่เซ็ง ที่หน่าย ที่สงบ
ที่มีความสุขเป็นเรื่องของนามทั้งนั้นเลย
ให้ทำสั้นๆกดตึ๊กรู้ กดตึ๊กรู้ ปล่อยผ่าน
กดแล้วไม่ต้องเอาอะไร กระตุ้นให้มันตื่นก่อน
ได้ยินกดเฉยๆ ได้เห็นกดเฉยๆ ได้กลิ่นกดเฉยๆ
กะพริบตา กลืนน้ำลาย กดเฉยๆ มันจะตื่นออกมา
เพราะว่าทุกคนมันเข้าไปในอารมณ์มาก
แล้วหมกมุ่นครุ่นคิด แล้วก็โทษตัวเองว่านั่นว่านี่
เป็นโน่นเป็นนี่ นั่นคือความคิดทั้งนั้น ความคิดทั้งนั้นแหละ
ที่ใส่ร้ายตัวเองว่าตัวเองไม่ไหว อ่อนแอ ไม่เอาไหน
แล้วก็สร้างอารมณ์ท้อแท้ ท้อถอยเบื่อหน่าย
จิตคนนี่ ติดไปแบบนี้
แต่ถ้าเขาฝึกรู้ผ่านๆ ใจก็จะตื่นออกมา มาฝั่งนี้
ลองหัดดูกะพริบตาซิ เราจะเริ่มทำอะไรบางอย่างมั้ย
มันกะพริบรึยังนะ ใหม่ๆมันจะเป็นอย่างนี้ก่อน
กะพริบรึยังนะ หลักการของมันคืออะไร
ใหม่ๆเราจะแสวงหา หูได้ยินรึยัง ตาเห็นรึยัง
กายอะไรกำลังเกิด อันนี้จะเป็นการรู้ที่เกินไป
หลักการนี้ง่ายๆ คุณไม่ต้องไปสนใจมัน
ให้มันเกิดก่อน ง่ายนิดเดียวคุณลองดูสิ
ดูรู้กะพริบตาเกิดเมื่อไหร่ก็รู้ กับเราไปจ้องกะพริบหรือยัง
มันจะลำบากกว่ากันไหม ถ้าจ้องมันต้องลำบากนะ
แต่ถ้ากะพริบแล้วรู้ เรื่องง่ายๆแค่นี้เอง
ให้เขาเกิดปุ๊บแล้วรู้ เกิดปุ๊บแล้วรู้
เกิดปุ๊บแล้วรู้แค่นี้ เป็นหลักการง่ายๆ
คุณไม่ต้องไปทำอะไรเลย แค่ให้เขาเกิดก่อนแล้วก็รู้
แล้วก็ปล่อยผ่าน เกิดก่อนแล้วรู้ แล้วก็ปล่อยผ่าน
ผลสุดท้ายคุณจะลดการกระทำลง
แต่เพิ่มการรับรู้เพิ่มขึ้น
ต่อไปทำการทำงานเวลากระทบร้อนมันจะวูบขึ้นมาเลย
ได้กลิ่นมันจะวูบขึ้นมาเลย เวลาอะไรผ่านตามันจะวูบขึ้นมาเลย
ตัวรู้มันจะวูบขึ้นมาให้เห็นบ่อยๆ
ผลสุดท้ายทำเหมือนไม่ทำเลย
เพราะตัวนี้มันมีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว แต่มันมีแบบอ่อนแอ
เราไปกระตุ้นมันให้จิตมันคุ้นชินกับการรู้ตัวนี้ให้มากขึ้นๆ
จิตมันเริ่มกระตุ้นให้มีกำลังขึ้น
ตัวรู้เรามีทุกคนนะ แต่มีในรูปของดินเหนียว
ที่พร้อมที่จะแปะติดทุกเรื่อง
ไม่มีตัวรู้เหมือนก้อนหิน ก้อนหินเนี่ยอะไรมา
มันจะไม่ติดกันแต่มันกระทบกันอยู่ มันไม่ติดกัน
เราต้องพยายามสร้างตัวนี้มันขึ้นมาเฉยๆ
เรามีอยู่แล้วแต่พัฒนาเขาให้เติบโต
ให้เข้มแข็งเท่านั้นเอง
แล้วเรื่องต่างๆก็จะอยู่กันอย่างสันติ
ไม่ได้มีการทำอะไรเลยนะ
ธรรมะเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 4 ก.พ. 62
คอร์สธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ(ศูนย์4)
Wednesday Feb 27, 2019
08 แนะนำการปฏิบัติ พอจ.กระสินธุ์ (เช้า) 040262A
Wednesday Feb 27, 2019
Wednesday Feb 27, 2019
ธรรมะเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 4 ก.พ. 62
คอร์สธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ(ศูนย์4)
Wednesday Feb 27, 2019
07 แนะนำการปฏิบัติ พอจ.กระสินธุ์ (ค่ำ) 030262D
Wednesday Feb 27, 2019
Wednesday Feb 27, 2019
ธรรมะเทศนาโดย พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท 3 ก.พ. 62
คอร์สธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ(ศูนย์4)